Abstract:
ปัญหาภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของผู้เป็นเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนของผู้เป็นเบาหวานทั่วโลก และในประเทศไทย ซึ่งภาระในการดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศชาติอย่างมาก การวิจัยเชิงบรรยายแบบหาความสัมพันธ์ (Descriptive correlation research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราชุกของภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังทั้งหลอดเลือดแดงขนาดเล็กและขนาดใหญ่และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงและขนาดเล็กและขนาดใหญ่ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอกในเขตภาคตะวันออก ของประเทศไทย ได้แก่ โรงพยาบาลระยอง โรงพยาบาลชลบุรี โรงพยาบาลพุทธโสธร โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว โรงพยาบาลบางละมุง โรงพยาบาลบ้านบึง โรงพยาบาลเขาสมิง โรงพยาบาลบ่อไร่ โรงพยาบาลสอยดาว โรงพยาบาลเขาคิชกูฏ และโรงพยาบาลแปลงยาว จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินระบบประสาทรับความรู้สึกที่เท้า ตรวจระบบไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงเท้า และแบบบันทึกผลตรวจตา แบบบันทึกเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปและข้อมูลการเจ็บป่วย แบบวัดความรู้เรื่องโรคเบาหวาน แบบวัดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน แบบสอบถามการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมแบบพหุมิติ แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลเท้าและแบบสอบถามการจัดการตนเองสำหรับผู้เป้นเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมุลโดยหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบลอจิสติคทีละตัวแปรและหลายตัวแปร 9binary Logistic Regression Univariable and multivariable) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% Cl
ผลการศึกษาพบว่า อัตราชุกของ (Prevalence) ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก 236 ราย คิดเป็นร้อยละ 67.43 (95%Cl: 62.9% ถึง 72.36%) และอัตราชุกของภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ 168 ราย คิดเป็นร้อยละ 48.00% (95%Cl: 42.74% to 53.26%)
ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบลอจิสติคทีละตัวแปร พบว่า อายุ ระยะเวลาการเป้นเบาหวาน ระดับน้ำตาลสะสม ระดับไขมันคลอเรสเตอรอล ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ ความดันโลหิต และดัชนีมวลกาย มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดอดงขนาดเล็กมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<. 05) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบลอจิสติคหลายตัวแปร พบว่า อายุ ระยะเวลาการเป้นเบาหวาน ระดับน้ำตาลสะสม ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ และความดันโลหิต มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ ถารวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบลอจิสติคทีละตัวแปร พบว่า อายุ เพศ ระยะเวลาการเป้นเบาหวาน สูบบุหรี่ อัตราการกรองของไต ระดับน้ำตาลสะสมไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ ระดับ HDL และดัชนีมวลกาย มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบลอจิสติคหลายตัวแปร พบว่าอายุ ระยะเวลาการเป็นเบาหวาน อัตราการกรองของไต (Glomerular filtration rate) ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ และดัชนีมวลกาย มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
จากผลการวิจัย จะเห็นว่าปัจจัยด้านสรีวิทยา และด้านสุขภาพมีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของหลอดเลือดแดงขนาดเล็กและหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ ของผู้เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การศึกษานี้สนับสนุนนโยบายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้มีการตรวจประเมินภาวะแทรกซ้อนได้แก่ตรวจ ตา ไตหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงเท้า ตรวจประสาทระบความรู้สึกที่เท้า ให้กับผู้เป้นเบาหวานอย่างต่อเนื่อง และทีมสุขภาพควรให้ความสำคัญในการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป้นเบาหวานมากกว่า 5 ปี ผู้สูงอายุคนอ้วน เสนอแนะให้ทีมบุคลากรทางการแพทย์ ให้การดูแลผู้เป็นเบาหวานกลุ่มนี้อย่างเข้มงวด เพื่อชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดง