DSpace Repository

ผลของการใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการดูแลตนเองที่เน้นการสร้างสุขในผู้เป็นความดันโลหิตสูงและกลุ่มเสี่ยง

Show simple item record

dc.contributor.author วริยา วชิราวัธน์ th
dc.contributor.author ศิริวัลห์ วัฒนสินธุ์ th
dc.contributor.author ทัศนีย์ วรภัทรากุล th
dc.contributor.author อังคนา ศิลปรัตนาภรณ์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:09:54Z
dc.date.available 2019-03-25T09:09:54Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1874
dc.description.abstract การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการดูแลตนเองที่เน้นการสร้างสุขในผู้เป็นความดันโลหิตสูงและกลุ่มเสี่ยงที่มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี โดยใช้แนวคิดการดูแลตนเองของโอเร็ม เป็นแนวทางในการจัดดำเนินการ กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตและกลุ่มอาชีพรับจ้างในมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 72 คน ผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี 2 ส่วน คือ ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยและเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมสุขภาพในการจัดการดูแลตนเอง และเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ในผู้เป็นความดันโลหิตสูงและกลุ่มเสี่ยงโดยโดยใช้เทคนิคการสร้างสุขที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นใช้ระยะเวลาดำเนินการทดลอง 4 สัปดาห์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติค่าที ผลการวิจัยพบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลอง กลุ่มศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมสุขภาพในการจัดการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนการทดลอง (t = 11.14, p = < .001 และ t = 4.28, p = < .001 ตามลำดับ) ในขณะที่ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายหลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลอง (t = 2.21, p = ns) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นประโยชน์ของการใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการดูแลตนเองในผู้เป็นความดันโลหิตสูงและกลุ่มเสี่ยงที่ให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ มีพฤติกรรมสุขภาพและทักษะในการจัดการดูแลตนเองเหมาะสมกับภาวะโรคและความเสี่ยงของการเกิดโรค โดยโปรแกรมสามารถเพิ่มความรู้และพฤติกรรมสุขภาพในการจัดการดูแลตนเองได้ อย่างไรก็ตามค่า การเปลี่ยนแปลงของค่าดัชนีมวลกายยังไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ th_TH
dc.description.sponsorship สนับสนุนงบประมาณวิจัยโดย เงินรายได้มหาวิทยาลัยบูรพา (เงินอุดหนุนรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ 2556 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การดูแลตนเอง th_TH
dc.subject ความดันโลหิตสูง th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title ผลของการใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการดูแลตนเองที่เน้นการสร้างสุขในผู้เป็นความดันโลหิตสูงและกลุ่มเสี่ยง th_TH
dc.title.alternative Effects of the creating happiness self-care model for hypertensive persons and risk group en
dc.type Research
dc.year 2559
dc.description.abstractalternative The purpose of this intervention research was to evaluate the effects of the creating happiness self-care model for hypertensive persons and risk group in Chonburi. Orem's Self-care theory was used as a conceptual framework to develop the program. Subjects were hypertensive clients and risk group (n = 72) purposively selected at Burapha University. Data were collected during March-September 2013. The research instruments were a) a Demographic Recording From, b) the Hypertensive Education Questionnaire, c) the Hypertensive Self-care Behavior Questionnaire and d) The nurse-led intervention included education and support using the creating happiness technique for a period of 4 weeks after per-test. Data were analyzed by descriptive statistics, and Paired t-test. The significant findings revealed that the mean scores of hypertensive education and the Hypertensive Self-care Behavior pre-test increased more than post-test (t = 11.14, p = < .001 และ t = 4.28, p = < .001 respectively). Whilst, the mean scores of Body Mass Index was lower non-significantlt ( t= 2.21, p = ns) The finding suggested that this nurse led intervention program had an effect on knowledge and self-care behavior. Where as there was little change in Body Mass Index of the clients. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account