Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาบูรพาตามกรอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร พ.ศ. 2557 ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และตามรูปแบบซิปป์ 4 ด้าน ได้แก่ การประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านการผลิต ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวน 190 คน ประกอบด้วย ผู้เชียวชาญ อาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตร นิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูพี่เลี้ยงในสถานศึกษาที่นิสิตสาขาการศึกษาปฐมวัยปฏิบัติการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบข้อมูลและการจัดกลุ่มข้อมูล ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. ผลการประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5) สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกรอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร พ.ศ. 2557 พบว่า โดยภาพรวมทั้ง 6 องค์ประกอบอยู่ในระดับดี จำแนกตามองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต อยู่ในระดับดีมาก องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ อยู่ในระดับดี องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษาและ องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน อยู่ในระดับปานกลาง
2. ผลการประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการปฐมวัย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 พบว่า มีผลการดำเนินงานผ่านเกณฑ์ของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร พ.ศ. 2557 ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 จำนวน 11 ตัวบ่งชี้ จากจำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการทั้งในปี พ.ศ. 2557 จำนวนทั้งหมด 11 ตัวบ่งชี้ คิดเป็นร้อยละ 100 โดยจำนวนตัวบ่งชี้ดำเนินการผ่านเฉพาะตัวบ่งชี้ที่ 1-5 ดำเนินการผ่าน จำนวน 5 ตัวบ่งชี้
3. ผลการประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ตามรูปแบบซิปป์ พบว่า 3.1) ผลการประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งในส่วนที่เหมาะสมและข้อเสนอแนะที่ควรปรับปรุง 3.2) ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจด้านบริบทโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านปัจจัยนำเข้าและด้านกระบวนการของหกลักสูตรโดยภาพรวมอยุ่ในระดับมาก 3.3) ผลการประเมินหลักสูตรด้านผลผลิต จำแนกเป็น 3.3.1) ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจด้านคุณลักษณะพึงประสงค์ของนิสิตจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3.3.2) ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจด้านผลการเรียนรู้สำคัญของหลักสูตรจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก