DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบการยกระดับคุณภาพชีวิตการทำงานสำหรับครูผู้ช่วยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1

Show simple item record

dc.contributor.author สฎายุ ธีระวณิชตระกูล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:09:52Z
dc.date.available 2019-03-25T09:09:52Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1851
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลการใช้รูปแบบการยกระดับคุณภาพชีวิตการทำงานสำหรับครูผู้ช่วยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 กลุ่มนำร่องของการใช้รูปแบบมี 3 โรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลวัดอู่ตะเภา โรงเรียนหนองน้ำเขียว และโรงเรียนบ้านคลองตะเคียน รวมจำนวนทั้งสิ้น 27 คน ประกอบด้วยผู้บริหาร 12 คน และครูผู้ช่วย 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบประเมินคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูผู้ช่วยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าความถี่ (f) และ t-test (Dependent-t) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ของครูผู้ช่วยในสังกัด จำนวน 112 คน พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสุงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการเสริมสรา้งจิตวิญญาณความเป็นครู ด้านสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมงานและด้านการเสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ตามลำดับ 2. รูปแบบการยกระดับคุณภาพชีวิตการทำงานสำหรับครูผู้ช่วยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชลบุรี เขต 1 ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้ช่วยประกอบด้วย กิจกรรมการพัฒนา 10 โมเดล ได้แก่ 1) การส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีในที่ทำงาน 2) การส่งเสริมขวัญและกำลังใจ 3) การส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีกับผู้บังคับบัญชา 4) การส่งเสริมทักษะการมอบหมายงาน 5) การส่งเสริมทักษะการให้ข้อมูลป้อนกลับ 6) การสร้างเสริมความสมดุลของชีวิต 7) การสร้างเสริมแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 8) การสร้างเสริมจิตวิญญาณความเป็นครู 9) การสร้างเสริมการจัดการความเครียดในตนเอง และ 10) การสร้างเสริมสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน 3. ผลการใช้รูปแบบ พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูผู้ช่วย 15 คน จาก โรงเรียนนำร่องของสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 หลังการใช้รูปแบบเป็นเวลา 7 เดือน พบว่า มีระดับคุณภาพชีวิตสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) โดยกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมาก th_TH
dc.description.sponsorship การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุน จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2558
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ข้าราชการครู th_TH
dc.subject คุณภาพชีวิตการทำงาน th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.title การพัฒนารูปแบบการยกระดับคุณภาพชีวิตการทำงานสำหรับครูผู้ช่วยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 th_TH
dc.title.alternative Development of a model for quality of work life improvement of assistant teachers in primary schools under jurisdiction of the office of Chonburi primary educational service area 1 en
dc.type งานวิจัย
dc.year 2559
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to develop and evaluate a model for quality of work life improvement of assistant teachers in primary schools under jurisdiction of the office of Chonburi primary educational service area 1. The pilot study was conducted with 3 schools: 1) Anuban-Wat utapao school, 2) Nongnamkeaw school, and 3) Ban Klongtakian school. The pilot sample included 27 persons consisting of 12 administrators and 15 assistant teachers, Research instruments for the data collection were: 1) a five-level rating scale questionnaire for quality of work life assessment, and 2) a semi-structure interview. Percentage, mean (X), standard deviation (SD), frequency (f) and dependent t-test were statistical devices for the data analysis. The findings revealed as follows: 1. The overall level of quality of work life of 112 assistant teachers in primary schools under jurisdiction of the office of Chonburi Primary educational service area 1 was rated at a high level with the highest average score of the three aspects as the following : teacher spirituality, good relationship with colleague and motivation enhancement, respectively. 2. The model for quality of work life improvement covered 2 target groups: administrators and teacher assistants. Ten modules of development activities consisted of: 1) Promotion of good workplace environment, 2) Promotion of work morale 3) Promotion of good relationship with supervisors, 4) Promotion of assignment skills, 5) Promotion of feedback skills, 6) Enhancement of total life space, 7) Motivation enhancement, 8) Enhancement of teacher spirituality, 9) Enhancement of self-stress management, and 10) Enhancement of good relationship with colleagues. 3. The overall of quality of work life for 15 assistant teachers of 3 schools in pilot study after using model for 7 mothers were found significantly higher than before using at .05 level. (p <.05) and highly satisfied on the model of quality of work life improvement. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account