dc.contributor.author | เพชรรัตน์ วิริยะสืบพงศ์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:09:52Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:09:52Z | |
dc.date.issued | 2559 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1850 | |
dc.description.abstract | วิจัยการศึกษาความเป็นไปได้ การจัดการเชิงกลยุทธ์ตลาดแบบดั้งเดิมของไทย หนองมนโมเดล จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ ได้แก่ วัตถุประสงค์แรก คือ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ด้วยการวิเคราะห์การบริหารจัดการของผู้ประกอบการ 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มข้าวหลาม กลุ่มอาหารทะเลตากแห้ง กลุ่มสับปะรด และกลุ่มจักสาน โดยการวิเคราะห์การจัดการ 6 ด้าน ประกอบด้วย การวิเคราะห์ตลาด การวิเคราะห์การผลิต การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน การวิเคราะห์กำไร การวิเคราะห์ความเสี่ยง และการวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาธุรกิจ วัตถุประสงค์ต่อมา คือ เพื่อวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค (SWOT) สินค้าทั้ง 4 ประเภท และวัตถุประสงค์สุดท้าย คือ เพื่อพัฒนาการจัดการเชิงกลยุทธ์ตลาดแบบดั้งเดิมของไทย หนองมนโมเดล การวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และการวิจัยเอกสาร (Documentary research) โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus group) กับกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ประกอบการชุมชนจังหวัดชลบุรี แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มข้าวหลาม ตลาดหนองมนแบ่งเป็น (1) ผลิตและขายเอง (2) รับมาขายต่อ 2) กลุ่มอาหารทะเลตากแห้ง ตลาดหนองมน 3) กลุ่มสับปะรด ตลาดศรีราชา 4) กลุ่มเครื่องจักรสาน ตลาดพนัสนิคม และนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลโดยวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า โดยการวิเคราะห์การจัดการทั้ง 6 ด้าน พบว่า มีปัญหาในทุกด้าน ได้แก่ ด้านตลาด มีปัญหาในเรื่องนโยบายภาครัฐ ด้านผลิต มีปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ ด้านจุดคุ้มทุน มีปัญหาในการบันทึกข้อมูลต้นทุนสินค้า ด้านความเสี่ยง มีปัญหาในการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอก และสุดท้ายด้านพัฒนาธุรกิจ มีปัญหาการขาดความรู้ของผู้ประกอบการที่จะพัฒนาสินค้า ส่วนจุดแข็งของตลาดหนองมนคือ มีชื่อเสียง จุดอ่อน คือตราสินค้า ไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควร โอกาส คือ นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรี และอุปสรรค คือ การท่องเที่ยวที่ซบเซา ด้วยปัญหาและสถานการณ์เหล่านี้ทำให้เกิดเป็นหนองมนโมเดล โดยการจัดทำโครงการส่งเสริมศักยภาพด้านต่าง ๆ ของตลาดหนองมนให้เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม รวมถึงการนำเอาการจัดการตลาดเก่าของญี่ปุ่นมาเป็นต้นแบบเพื่อปรับใช้ด้วย | th_TH |
dc.description.sponsorship | ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยงบประมาณเงินรายได้ คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | กลยุทธ์การตลาด | th_TH |
dc.subject | หนองมนโมเดล | th_TH |
dc.title | การศึกษาความเป็นไปได้การจัดการเชิงกลยุทธ์ตลาดแบบดั้งเดิมของไทย หนองมนโมเดล | th_TH |
dc.title.alternative | Feasibility study on strategic management of traditional Thai marketing practices, Nong Non model | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2559 | |
dc.description.abstractalternative | A research of Feasibility study on strategic management of traditional Thai marketing practices, Nong Mon model is conducted for three main objectives including (1) to conduct feasibility study by analyzing four business groups including khao lam (glutinous rice cooked in bamboo), dried seafood, pineapple, and bamboo products by analyzing six different departments, namely marketing, production, investment, profit, risk management, and business development, (2) to analyze strengths, weaknesses, opportunities, and threats (SWOT) for four different products, and (3) to develop competitive advantage for traditional Thai marketing practices, Nong Mon Model. This research questions is initiated by using a focus group, a quality research with Nong Mon market's relevant groups of Saen Suk municipality, mayor, and market management committee including market owner, community and businessmen, and faculty of management and tourism, Burapha university. This research is attempted to analyze the traditional Thai document with traditional Japanese document and combine them to conduct feasibility study by applying quantitative research with target groups of community business in Chon Buri which is divided in four groups, (1) khao Lam (glutinous rice cooked in bamboo) in Nong Mong market, which included (1) own production and sellers, (2) retailer, (2) dried seafood sellers in Nong Mon market, (3) pineapple sellers in Siracha, and (4) bamboo products in Phanat Nikhom market. The data is collected and analyzed to confirm by qualitative approach. The result of six different departments reveals that every department has a problem. Marketing department has a problem with state policy, a problem of shortage of raw materials in production department, capital information entry of goods in investment department. changes of extemal factors in risk management department, and finally the business development department, and finally the business development department, lacking knowledge among business owners in product development. Nong Mon's main strength is well-known; its weakness includes poor recognition of product's brand name; opportunity includes the tourism promotion policy of Chon Buri; and its threat is derived from stagnant tourism and problem. These issues result in Nong Mon model by planning on capacity building to improve business activities in Nong Mon including applying and modifying traditional Japanese marketing practices. | en |