Abstract:
ตัวแปรที่มีผลต่อค่าความเข้มข้นของ PM10 นั้นมีอยู่มากมายในบรรยากาศซึ่งตัวแปรเหล่านี้อาจมี ความสัมพันธ์กันเอง การดึงปัจจัยด้วยวิธีส่วนประกอบหลักของการวิเคราะห์ปัจจัยจึงเป็นวิธีที่ช่วยกําจัดปัญหา การมีพหุสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระได้ ทําให้สามารถทํานายค่าความเข้มข้นของ PM10 ด้วยการวิเคราะห์การ ถดถอยได้ ดังนั้นวิธีการถดถอยส่วนประกอบหลักจึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทํานายค่าความเข้มข้นของ PM10 ในเขต อุตสาหกรรม ภาคตะวันออกของประเทศไทย สําหรับการวัดดัชนีสมรรถนะของตัวแบบการถดถอยส่วนประกอบ หลักเพื่อทํานายค่าความเข้มขน้ของ PM10 จะประเมินค่าได้ด้วยรากที่สองของค่าคลาดเคลื่อนกําลังสองเฉลี่ย ผล การศึกษาพบว่ามีตัวแปรใหม่ซึ่งได้จากการวิเคราะห์ปัจจัยจํานวน 5 ตัว (ออกไซด์ของก๊าซไนโตรเจน ก๊าซ คาร์บอนมอนอกไซด์และก๊าซโอโซน ก๊าซไฮโดรคาร์บอนและก๊าซมีเทน ความดัน และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และ ความเร็วลม) ที่มีอิทธิพลและถูกเลือกมาเป็นตัวแปรอิสระเพื่อใช้ทํานายค่าความเข้มข้นของ PM10 โดยมีสมการ ประมาณค่าการถดถอยพหุคูณดังนี้
Y = 1.27+0.0405NOx +0.129CO & o3+ 0.0590 HC & CH4
+ 0.0585Pressure + 0.0114SO2 & WS
เมื่อ Y = log (PM10) สมการดังกล่าวนี้เป็นสมการที่มีการปรับแก้เพื่อให้เป็นไปตามข้อสมมุติของการวิเคราะห์ การถดถอยโดยให้ค่าคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการประมาณค่าเท่ากับ 0.213454 ส่วนค่าดัชนีสมรรถนะของตัว แบบพบว่าให้ค่ารากที่สองของค่าคลาดเคลื่อนกําลังสองเฉลี่ยเท่ากับ 0.157776 และ 8.77367 สําหรับชุดข้อมูล ในการสร้างตัวแบบและชุดข้อมูลในการตรวจสอบความถูกต้องของตัวแบบ ตามลําดับ