DSpace Repository

แนวทางคัดกรองภาวะผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบในผู้ประกอบอาชีพโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้เอ็มดีเอฟแห่งหนึ่ง ในเขตภาคตะวันออก: ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

Show simple item record

dc.contributor.author อนามัย เทศกะทึก th
dc.contributor.author ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข th
dc.contributor.author วัลลภ ใจดี th
dc.contributor.author วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:09:51Z
dc.date.available 2019-03-25T09:09:51Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1816
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางคัดกรองภาวะผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อภาวะผื่นแพ้ที่ผิวหนังในผู้ประกอบอาชีพโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้เอ็มดีเอฟ แห่งหนึ่งในเขตภาคตะวันออก เก็บข้อมูลในผู้ประกอบอาชีพที่รับสัมผัสสารฟอร์มัลดีไฮด์จากฝุ่นไม้เอ็มดีเอฟ จำนวน 323 คน และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 116 คน โดยใช้แบบสอบถาม เครื่องเก็บตัวอย่างอากาศแบบติดตัวบุคคล (Personal IOM samplers) เพื่อหาระดับความเข้มข้นของสารฟอร์มัลดีไฮด์ในบรรยากาศการทำงาน การทดสอบภาวะแพ้ที่ผิวหนัง (Patch test) ผลการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่เป็นหญิง ร้อยละ 66.6 อายุเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) เท่ากับ 39.86 ((+/-9.83) ปี ส่วนใหญ่ศึกษาในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 35.9 มีระยะเวลาในการทำงาน มากกว่า 10 ปีขึ้นไป ร้อยละ 42.4 โดยมีระยะเวลาทำงานเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) เท่ากับ 10.51((+/-7.97) ปี ประวัติการเกิดภาวะแพ้ที่ผิวหนัง พบว่ามีผื่นบริเวณแขนมากที่สุด ร้อยละ 17.3 ช่วงเวลาที่เป็นผื่นผิวหนังอักเสบมากที่สุด คือช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ร้อยละ 13.6 จากการวิเคราะห์ความเข้มข้นของสารฟอร์มัลดีไฮด์จากฝุ่นไม้เอ็มดีเอฟในกลุ่มรับสัมผัส พบว่าค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) เท่ากับ 2.78 (3.85) ส่วนในล้านส่วน ส่วนกลุ่มไม่รับสัมผัส เท่ากับ 1.52 (1.48) ส่วนในล้านส่วน ส่วนความเข้มข้นฝุ่นแบบเข้าทางเดินหายใจ (Inhalable dust) ในกลุ่มรับสัมผัส เท่ากับ 8.3 ((+/-3.2) มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และในกลุ่มไม่รับสัมผัส เท่ากับ 1.7 (+/-0.98) มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ผลการตรวจผิวหนังโดยแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ พบว่า ส่วนใหญ่มีผื่น (Rash) ร้อยละ 40.5 รอยเกา (Excorianation/ scale) ร้อยละ 18.9 จุดแดงนูน (Papule) ร้อยละ 16.2 ตามลำดับ จากการทดสอบ Patch Test ในผู้ประกอบอาชีพที่รับสัมผัสฝุ่นไม้เอ็มดีเอฟ พบว่า ผู้ประกอบอาชีพมีอาการแพ้สารเคมีชนิดต่าง ๆ เช่น Cl+ Me-Isothiazolinone, p-phenylenediamine, Nickel sulphate, Epoxy resin, Formaldehyde Carba mix, cobalt chloride เป็นต้น จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออาการผื่นทางผิวหนัง พบว่า ผู้ประกอบอาชีพที่เคยมีอาการผื่นแพ้โลหะ มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 3.6 (1.7, 7.3) ผู้ที่รับสัมผัสฝุ่นจากการตัด ขัด เจาะ ขึ้นรูปไม้ 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 4.9 (1.3, 18.6) ผู้ที่ล้างห้องน้ำด้วยตนเองมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 4.9 (1.4, 18.0) ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคผื่นแพ้ผิวหนัง มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 13.2 (3.2, 53.8) ตามลำดับ ข้อเสนอแนะควรมีการคัดกรองสุขภาพผิวหนังผู้ประกอบอาชีพกลุ่มเสี่ยงเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้ประกอบอาชีพที่มีประวัติครอบครัวมีภาวะแพ้ที่ผิวหนัง สูบบุหรี่ รับสัมผัสฝุ่น ใช้น้ายาล้างห้องน้ำมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อผื่นแพ้ที่ผิวหนังมากขึ้น th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ผลกระทบสุขภาพ th_TH
dc.subject ผิวหนังอักเสบ th_TH
dc.subject ผู้ประกอบอาชีพโรงงาน th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title แนวทางคัดกรองภาวะผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบในผู้ประกอบอาชีพโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้เอ็มดีเอฟแห่งหนึ่ง ในเขตภาคตะวันออก: ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ th_TH
dc.title.alternative Occupational health screening guideline on allergic contact dermatitis among workers in a MDF furniture manufacturing in Eastern Region: Factors affecting health en
dc.type Research
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative The aim of the study was to explore occupational health-screening guidelines for allergic contact dermatitis resulting from formaldehyde and wood dust exposure among workers in a MDF furniture manufacturing factory in Eastern Thailand. The study’s subjects were 323 workers; whereas, 116 office employees served as the controls. Besides inhalable dust-monitoring, the following were conducted: questionnaires, skin examinations, and patch tests. The study results revealed that from the total of 323 subjects, 215 (66.6%) were female. The mean age of the workers was 39.86 (+/ - 9.83) years old, and 35.9% finished primary education. The mean duration of working experience was 10.51 (+/ - 7.97) years. The history of allergic contact dermatitis obtained from the questionnaires showed that rashes on the arms were found among 17.3% of the workers, and that 13.6% complained of having contact dermatitis, which was mostly inflicted during the months of April to June. The result showed that the average concentration of formaldehyde exposure among the exposed group was 2.78 (+/-3.85) ppm, and the average concentration of MDF wood dust concentration in the working environment was 1.7 (+/-0.98) mg/m3. Skin examinations conducted by occupational physicians showed that rashes were mostly found (40.5%), followed by excoriation/ scale (18.9%), and papule (16.2%), respectively. The result of the patch tests showed that the workers had allergies to chemicals such as Cl + Me-Isothiazolinone, p-phenylenediamine, nickel sulphate, epoxy resin, formaldehyde carba mix, cobalt chloride, and so on. Factors affecting contact dermatitis included the following: a history of allergies to metal [aOR (95% CI) of 3.6 (1.7, 7.3)]; exposure to MDF dust during cutting, grinding, drilling, and forming operations [aOR (95% CI) of 4.9 (1.3, 18.6)]; the use of bathroom cleaners more than two hours per day [aOR (95% CI) of 4.9 (1.4, 18.0)]; and a family history of allergic contact dermatitis [aOR (95% CI) 0f 13.2 (3.2, 53.8)], respectively. The authors suggest that screening for skin disease among the workers who are at risk should be conducted on a regular basis. In particular, the authors suggest that workers who have an increased risk of allergic contact dermatitis include the following: those who have a family history of skin allergic conditions; those exposed to MDF wood dust; those who smoke; and those who use bathroom cleaners more than two hours per day. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account