DSpace Repository

พฤติกรรมการซื้อ และความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อส่วนประสมทางการตลาดข้าวหลาม จากตลาดหนองมน บางแสน จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author วุฒิชาติ สุนทรสมัย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:08:42Z
dc.date.available 2019-03-25T09:08:42Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1798
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อข้าวหลาม และความพึงพอใจต่อส่วนประสมการตลาด ตลอดจนเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดของผู้บริโภคที่ซื้อข้าวหลามจากตลาดหนองมนโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการซื้อ ใช้การวิจัยเชิงพรรณา โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้บริโภคชาวไทยที่มาท่องเที่ยวในตลาดหนองมน เลือกตัวอย่างด้วยวิธีตามสะดวก จำนวน 422 คน ใช้แบบสอบถามที่ความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่น และใช้การวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณา และสถิติเชิงอ้างอิงเพื่อทดสอบสมมติฐานด้วยระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 การศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ซื้อข้าวหลามประเภทข้าวเหนียวขาว ไส้ถั่วดำกระบอกใหญ่ จำนวน 3 กระบอก กระบอกกลาง จำนวน 6 กระบอก กระบอกเล็ก จำนวน 8 กระบอก แบบช้อต จำนวน 4 กระบอก เป็นเงิน 101-200/ ครั้ง ซื้อก่อนเดินทางกลับบ้านเพื่อทานเองและเป็นของฝากพี่น้องและญาติ ซื้อจากร้านขายของฝาก ผู้บริโภคมีความพึงพอใจในด้านการจัดจำหน่ายข้าวหลามจากตลาดหนองมนระดับมาก ในขณะที่ด้านผู้ให้บริการระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน สรุปได้ว่า ผู้บริโภคเพศชาย มีความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดของข้าวหลามด้านราคามากว่าเพศหญิง พนักงานบริษัทมีความพึงพอใจส่วนประสมการตลาดที่มีต่อข้าวหลามด้านผลิตภัณฑ์มากกว่าอาชีพอื่น ๆ ผู้บริโภคที่มีวัตถุประสงค์ในการซื้อคือฝากซื้อ มีความพึงพอใจส่วนประสมการตลาดด้านการส่งเสริมการตลาดมากที่สุด และผู้บริโภคที่ซื้อข้าวหลามจากร้านขายของฝากที่ไม่ได้ตั้งในและรอบตลาด มีความพึงพอใจส่วนประกอบการตลาดด้านราคามากที่สุด การวิจัยในอนาคต ควรมีการติดตามผลของผู้เยี่ยมเยือนภายหลังการซื้อ สัมภาษณ์เจาะลึก และศึกษากับร้านค้าปลีกอื่น ๆ ในละแวกใกล้เคียง th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนงบประมาณเงินรายได้ประจำปี 2557 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ข้าวหลาม th_TH
dc.subject ความพึงพอใจ th_TH
dc.subject พฤติกรรมการซื้อ th_TH
dc.subject ส่วนประสมทางการตลาด th_TH
dc.title พฤติกรรมการซื้อ และความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อส่วนประสมทางการตลาดข้าวหลาม จากตลาดหนองมน บางแสน จังหวัดชลบุรี th_TH
dc.title.alternative Purchasing behavior and consumer satisfaction on marketing mix and intention to repurchase "Kow Lam" at Nongmon marketplace in Bangsean, ChonBuri, Thailand en
dc.type Research
dc.author.email vuttichat@buu.ac.th en
dc.year 2559
dc.description.abstractalternative The study aimed to study their purchasing behavior as well as satisfactions on the marketing mix of sweet sticky rice in the bamboo "Knowlam" as gift from Nongmon marketplace in Bangsean, Chonburi, Thailand, and to compare their satisfactions based on personal factors and purchasing behavior. Descriptive research was conducted. 422 samples were conveniently selected to answer the self-administrered and structural questionnaire with high reliability and validity. Descriptive statistics were calculated and inferential statistics were performed to test the established hypotheses with .05 level of significance. The study found that most respondents have mostly purchased a variety choice of Kowlams made from sweet white sticky rice with black bean favor from souvenir shops in Nongmon marketplace. They also spent 101-200 bath per time on Knowlams as gifts or souvenirs to brings back for themselves and relatives. Distribution channel of Kowlam was the most visitors' satisfaction among marketing mix factors. Surprisingly, male customers were more satisfied on price than female, while private sector workers were more satisfied on product than the other careers. Recommendations from the study suggest to improve the package design and add more healthy favor choices of Kowlam. Conducting customer depth interview and extending sample to target market, and invetigating other types vendors were recommended for future study. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account