Abstract:
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมินมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต(หลักสูตร 5 ปี ) สาขาวิชาการสอนภาษาญี่ปุ่น (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554 ) คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกรอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร พ.ศ 2557 2) เพื่อประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี ) สาขาวิชาการสอนภาษาญี่ปุ่น (หลักสูตรปรับปรุง
พ.ศ. 2554 ) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกรอบมาตราฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และ 3) เพื่อประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี ) สาขาวิชาการสอนภาษาญี่ปุ่น (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554 ) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามรูปแบบซิปป์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน 2) อาจารย์ประจำหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาญี่ปุ่น จำนวน 1 คน 3) อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตสาขาวิชาการสอนภาษาญี่ปุ่น จำนวน 5 คน 4) ครูพี่เลี้ยงของนิสิตสาขาวิชาการสอนภาษาญี่ปุ่น รหัส 54 ที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา จำนวน 41 คน 5) ผู้บริหารสถานศึกษาที่นิสิตสาขาวิชาการสอนภาษาญี่ปุ่น รหัส 54 ที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา จำนวน 41 คน และ 6) นิสิตรหัส 54 ที่กำลังปฏิบัติการสอน ณ สถานศึกษา จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี ) สาขาวิชาการสอนภาษาญี่ปุ่น (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554 ) จำแนกตามกลุ่มผู้ใช้ข้อมูล อันได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน นิสิตรหัส 54 ผู้บริหารสถานศึกษาและครูพี่เลี้ยง ซึ่งเป็นแบบสอบถามตามรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ และคำถามที่ใช้สนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี ) สาขาวิชาการสอนภาษาญี่ปุ่น (หลักสูตร
ปรับปรุง พ.ศ. 2554 ) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกรอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
ระดับหลักสูตร พ.ศ. 2557 พบว่า มีการกำกับให้เป็นไปตามมาตราฐาน จนสิ้นสุดข้อตกลงความร่วมมือ
ระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นในปี 2555 ทำให้อาจารย์ประจำหลักสูตรไม่ครบ จึงมีการงดรับนิสิต
ใหม่
2. ผลประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี ) สาขาวิชาการสอนภาษาญี่ปุ่น (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554 ) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า มีการดำเนินงานตามกรอบมาตราฐาน
คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552
3. ผลประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี ) สาขาวิชาการสอนภาษาญี่ปุ่น (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554 ) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ ตามความ
คิดเห็นของอาจารย์ผู้สอน นิสิต ผู้บริหารสถานศึกษาและครูพี่เลี้ยง พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากในทุกด้าน และผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์ประจำสูตร มีความคิดเห็นต่อหลักสูตรด้านบริบทควรปรับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและวิชาเอก ส่วนด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตโดยภาพรวมมีความเหมาะสมสอดคล้องกับหลักสูตร
This study evaluative research and the purposes of this research were as follows: 1) to evaluate the Bachelor of Education program ( 5 year curriculum) in Japanese language teaching (Revised B.E. 2554) based on internal Quality Assurance at Faculty of Education, Burapha University; 2) to evaluate the curriculum based on the Thai Qualifications Framework for Higher Education (B.E. 2552), and 3) to evaluate the curriculum based on the CIPP model. The data were collected from six groups of participants: 1) three experts, 2) one curriculum-board members, 3) five instructors teaching the Japanese language teaching program, 4) 41 supervising teachers for student teachers in the academic year of 2554, 5) 41 school administrators, and 5) 41 students majoring in the Japanese language teaching. The research instruments were a questionnaire and an open ended questions for focus group.
The results were as follows:
1. The Bachelor of Education program (5 years curriculum) in Japanese language teaching (Revised
B.E. 2554) based on internal Quality Assurance at Faculty of Education, Burapha University was operated continuously in accordance with the curriculum qualification standards (B.E. 2557). However, the MOU beween the universities expired in 2555; therefore, the curriculum-board members did not meet the requirement. As a result, no new students were recruited since than.
2. The curriculum was operated in accordance with the Thai Qualifications Framework for Higher Education (B.E. 2552).
3. The data collected from instructors, students, school administrators, and supervising teachers based on CIPP model revealed that the curriculum was appropriate in all aspects. The experts recommended changing the objective of the program and major-specific course. The input, process, and product aspects were also appropriate with the program.