DSpace Repository

การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author ภารดี อนันต์นาวี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:08:40Z
dc.date.available 2019-03-25T09:08:40Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1766
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามเพศ อายุ สถานที่ปฏิบัติงาน อาชีพ และแผนการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นิสิตหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ศูนย์นวัตกรรมการศึกษาและผู้นำทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2557 จำนวน 59 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าวิกฤตที (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบรายคู่โดยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า 1. การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัย โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านผลผลิต ด้านผลลัพธ์ และด้านกระบวนการ 1.1 ด้านบริบท โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงสามอันดับแรก คือความสอดคล้องของจุดมุ่งหมายของหลักสูตรกับนโยบายการจัดการศึกษาของประเทศ ความสอดคล้องของจุดมุ่งหมายของหลักสูตรกับความต้องการของหน่วยงานที่ปฏิบัติ และความสอดคล้องของจุดมุ่งหมายของหลักสูตรกับความต้องการของผู้เรียน 1.2 ด้านปัจจัยเบื้องต้น โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงสามอันดับแรก คือ อาจารย์ หลักสูตรและนิสิต 1.3 ด้านกระบวนการ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงสามอันดับแรก คือ อาจารย์ผู้สอนมี คุณวุฒิที่เหมาะสม อาจารย์ผู้สอนเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับและศรัทธา และอาจารย์ผู้สอนมีลักษณะความเป็นผู้นำทางวิชาการ 1.4 ด้านผลผลิต โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงสามอันดับแรกคือ การวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอน กระบวนการเรียนการสอน และการบริหารและการจัดการหลักสูตร 1.5 ด้านผลลัพธ์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับคือ คุณลักษณะของดุษฎีบัณฑิตที่จบการศึกษาและไปปฏิบัติงานในหน่วยงานต่าง ๆ และคุณลักษณะของดุษฎีบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ 2. ผลการเปรียบเทียบการประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามเพศ อายุ สถานที่ปฏิบัติงาน และอาชีพ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ผลการเปรียบเทียบการประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามแผนการศึกษา โดยรวมและด้านปัจจัยเบื้องต้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านบริบท ด้านกระบวนการ ด้านผลิต และด้านผลลัพธ์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ th_TH
dc.description.sponsorship การวิจัยครั้งนี้ได้รับเงินอุดหนุนจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การประเมิน th_TH
dc.subject หลักสูตร th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.title การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title.alternative The evaluation of doctor of Philosophy program curriculum in Educational Administration B.E. 2554 revised, Burapha University en
dc.type Research
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative The aims of the study were to investigate and compare the evaluation of Doctor of Philosophy Program curriculum in educational administration (Revised B.E. 2554, Burapha University) as classified by sex, age, job place, carries, and learning plans. The samples consisted of 59 Doctor of Philosophy Program students in educational administration of Innovative Administration and Educational Leadership Center, faculty of education, Burapha University which derived by stratified random sampling. The research instruments were a rating scale questionnaire. Statistical devices uses for analyzing data were mean, standard deviation, t-test, One-way ANOVA, LSD (Least Significant Difference). The findings were as follows: 1. The evaluation of Doctor of Philosophy Program curriculum in educational administration (Revised B.E. 2554), Burapha University were rated, as a whole and each aspects, at high level, which three priority from the highest mean score were the outputs, the outcomes, and the process of curriculum. 1.1 The context of curriculum, as a whole and each aspects, were rated at a high level, which three Priority from the highest mean score were the harmonious of aims of curriculum with the Thai education policy, needs of organization and needs of students. 1.2 The inputs of curriculum, as a whole and each aspects, were rated at a high level, which three Priority from the highest mean score were the lectures, the curriculum, and students. 1.3 The process of curriculum, as a whole and each aspects, were rated at a high level, which three Priority from the highest mean score were the qualified instructors, acceptance and trust instructors, and academic leadership of instructors, and the learning achievement level. 1.1 The products of curriculum, as a whole and each aspects, were rated at a high level, which three priority from the highest mean score were the measurement and evaluation of teaching and learning, process of teaching and learning, and curriculum management. 1.5 The outcome of curriculum, as a whole and each aspects, were rated at a high level, which three priority from the highest mean score were the in characteristics of graduated students to working in various in organization, and the characteristics of students compared to the Thai Qualifications Framwork: (TQF). 2. Comparing of Doctor of Philosophy Program curriculum in educational administration (Revised B.E. 2554), Burapha University as classified by sex, age, job place, curries, as a whole and each aspects were non-significant difference. 3. Comparing of Doctor of Philosophy Program curriculum in educational administration (Revised B.E. 2554), Burapha University as classified by the learning plans as a whole and the inputs of curriculum were significant difference (p<. 05) but the context, the process, the products, and the outcomes of curriculum were non-significant difference. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account