Abstract:
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสุขของนิสิต ความสุขใจของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 347 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไปของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ ประกอบด้วย เพศ ชั้นปีที่ศึกษา และเกรดเฉลี่ยสะสม 2) แบบสอบถามความสุข มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ 3) แบบสอบถามต้นทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก 4) แบบสอบถามการเผชิญความเครียด และ 5) แบบสอบถามความสัมพันธ์กับความครัวและเพื่อน
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคุณ แบบ Stepwise ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1) นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มีความสุขโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) นิสิตกลุ่มที่มีต้นทุนจิตวิทยาเชิงบวกสูง จะมีความสุขมากกว่า กลุ่มที่มีต้นทุนจิตวิทยาเชิงบวกต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นิสิตกลุ่มที่มีความสัมพันธ์กับครอบครัวและเพื่อนสูงจะมีความสุขมากกว่า กลุ่มที่มีความสัมพันธ์กับครอบครัวและเพื่อนต่ำ
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นิสิตกลุ่มที่มีการเผชิญความเครียดสูง จะมีความสุขมากกว่า กลุ่มที่มีการเผชิญความเครียดต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) ตัวพยากรณ์ที่ดีและสามารถพยากรณ์ความสุขใจในการเรียนของนิสิตคือ การเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ไขปัญหา (X1), ต้นทุนจิตวิทยาเชิงบวกความสามารถในการเผชิญปัญหา (X2), ชั้นปีที่ 4 (X3), นิสิตหญิง (X4), ต้นทุนจิตวิทยาเชิงบวกด้านความฟื้นตัว (X5) และชั้นปี 1 (X6) โดยสามารถ
พยาการณ์ ความสุขใจในการเรียนของนิสิตได้ ร้อยละ 43.60