DSpace Repository

การสำรวจความต้องการของชุมชนภาคตะวันออกเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author ไพโรจน์ เบาใจ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:08:39Z
dc.date.available 2019-03-25T09:08:39Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1764
dc.description.abstract งานวิจัย เรื่อง การสำรวจความต้องการของชุมชนภาคตะวันออกเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้คือ 1. ศึกษาความต้องการของผู้ปกครองและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในชุมชนภาคตะวันออกเพื่อใช้กำหนดทิศทางและจัดทำแผนการบริการวิชาการ 2. เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะตามความต้องการของ ผู้ปกครองและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้กับภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และ 3. เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับปรับหลักสูตรให้ทันสมัยและสนองความต้องการของสังคมภาคตะวันออก ประชากรเป็นผู้ปกครองและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในภาคตะวันออก มีจำนวน 15 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เลือกมาจังหวัดละ 1 โรงเรียน รวม 7 จังหวัดได้ 7 โรงเรียน จากนั้นใช้การสุ่มแบบบังเอิญ โรงเรียนละ 34 คน (โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา ใช้ 36 คน) รวมเป็นผู้ปกครอง 240 คน นักเรียน 240 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ใช้โรงเรียนละ 3 คน ได้ผู้ปกครอง 21 คน และนักเรียน 21 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลมีแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test dependent group ผลการวิจัย พบว่า 1. ผู้ปกครองและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต้องการเข้าศึกษาต่อที่ภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาอยู่ในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. ผู้ปกครองนักเรียนให้เหตุผลที่ส่งบุตรหลานเข้าเรียนที่ภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาเพราะต้องการให้เป้นข้าราชการ คณะจารย์ผู้สอนมีคุณภาพ เรียนจบแล้วทำอาชีพได้หลากหลาย และยังเสนอแนะเพิ่มเติมว่าควรให้นักศึกษาได้ฝึกภาคสนามมากขึ้นเพื่อพบกับประสบการณ์จริง ส่วนความเห็นของนักเรียนพบว่า ภาควิชามีรายวิชาให้เลือกเรียนน่าสนใจมากมาย อาจารย์ผู้สอนมีความเชี่ยวชาญ ทราบจากรุ่นพี่ว่าเรียนสนุก ไม่เครียด และต้องการให้มีวิชาทางคอมพิวเตอร์ เช่น อีเลิร์น์นิ่ง เพิ่มขึ้น จากการวิจัยเรื่องนี้มีข้อเสนอแนะต่อภาควิชาคือ 1. ให้คงวิชาที่มีอยู่เดิมไว้และเพิ่มรายวิชาทางคอมพิวเตอร์ เช่น อีเลิร์นนิง เอ็มเลิร์นนิง และอื่น ๆ 2. สร้างความเชี่ยวชาญของคณาจารย์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นเพื่อสร้างความศรัทธาให้กับสังคม 3. เพื่มการฝึกภาคสนามของรายวิชาบางวิชาที่สามารถทำได้เพิ่มเติม 4. เก็บความต้องการของผู้ปกครองและนักเรียนต่าง ๆ ไว้ในฐานข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการปรับหลักสูตรตามแผนของภาควิชาฯ ในอนาคต th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ความต้องการเรียนต่อ th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.title การสำรวจความต้องการของชุมชนภาคตะวันออกเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title.alternative Needs assessment survey in the eastern community to apply in bachelor of education program in educational technology, Faculty of Education, Burapha University en
dc.type Research th_TH
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative Needs Assessment survey in the Eastern Community to Apply in bachelor of Education Program in Educational Technology, Faculty of Education, Burapha University was aimed at: 1. studying occupational and general needs of parents and Matayomsueksa 6 graduates from an eastern region in order to re-design a more tailored educational curriculum. 2. Preparing suggestions regrading such matters to the Department of Educational, Burapha University 3. Providing more updated data for educational improvement for communities in the eastern region The population of this study were parents and Matayomsueksa 6 graduates at 15 high schools in the eastern, and the sample came from 7 schools, one from each province. Thirty four parents and students (with an exception of 36 from Assumption Sri Raja School) were selected from each institute through Accidental Sampling, yielding a total sample number of 240. Interview subjects were further narrowed down to three per school, giving a total number of 21. Research instruments included questionnaires and interviews with Means, Percentage, Standard Deviation and t-test Dependent Group as means of statistical analyses. The finding revealed the following; 1. The subjects have shown preferences to the high quality of education at the Educational Innovations and Technology, Faculty of Education, Burapha University with .05 statistical significance level. 2. The parents have provided rationales to encourage their offspring to study in this the programs since they wanted them to work in the public sector, qualified lecturers, offering better chance of employment in various fields. In addition, it should provide more field works to grant more experiences. Students were keen with a diverse range of subjects available, staff's academic expertise and seniors' word of mouth that learning environment is friendly and casual, moreover they need to study in computer subject especially more eLearning related technology. Useful suggestions to the Department are: 1. To main subjects such as eLearning and include new ones such as mLearning 2. To professionally train academic staff to strengthen expertise and increase trust in local communities 3. To provide greater opportunities for internship in some programs and 4. To gather updated data on needs from parents and students alike for future reference. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account