Abstract:
การวิจัยนี้มีจุดหมายเพื่อศึกษาความสุขของบุคลากรสายสนับสนุน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรสายสนับสนุนโดยเก็บรวบรวมข้อมูลตังแต่วันที่ 1 มีนาคม 2558 ถึง 15 มีนาคม 2558 ได้ผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสรา้งขึ้น ได้แก่ 1) สถานภาพทั่วไป 2) แบบสอบถามต้นทุนจิตวิทยาเชิงบวก 3) แบบสอบถามสมดุลในชีวิตการทำงาน 4) แบบสอบถามความผูกพันต่อองค์การ 5) แบบสอบถามการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ และ 6) แบบสอบถามความสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ แบบเป็นขั้นตอน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1) บุคลากรสายสนับสนุน มีความสุขโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) บุคลากรสายสนับสนุน กลุ่มที่มีต้นทุนจิตวิทยาเชิงบวกสูง จะมีความสุขมากกว่า กลุ่มที่มีต้นทุนจิตวิทยาเชิงบวกต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) บุคลากรสายสนับสนุน กลุ่มที่มีการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การสูง จะมีความสุขมากกว่ากลุ่มที่มีการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) บุคลากรสายสนับสนุน กลุ่มที่มีความสมดุลในชีวิตและงานสูง จะมีความสุขมากกว่ากลุ่มที่มีความสมดุลในชีวิตและงานต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) ตัวพยากรณ์ที่ดีและสามารถพยากรณ์ความสุขของบุคลากรสายสนับสนุน คือต้นทุนจิตวิทยาเชิงบวกกเานความมั่นใจในความสามารถตนเอง สมดุลในชีวิตและการทำงานด้านการทำงานและสังคม ความผูกพันในองค์การด้านบรรทัดฐาน และ ประสบการณ์ทำงานมากกว่า 10 ปี โดยพยากรณ์ความสุขได้ร้อยละ 83.10