DSpace Repository

การประเมินคุณภาพการปรึกษาทางวิชาการและแนะแนวทักษะชีวิตแก่นิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author จุฑามาศ แหนจอน th
dc.contributor.author เกศรา น้อยมานพ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:08:39Z
dc.date.available 2019-03-25T09:08:39Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1760
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตระดับปริญญาตรีและอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการต่อคุณภาพการปรึกษาทางวิชาการและแนะแนวทักษะชีวิตของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2557 ภาคเรียนปลาย จำนวน 364 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำแนกตามสาขาวิชา และส่วนอาจารย์เลือกเฉพาะอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการนิสิตระดับปริญญาตรี ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 31 คน ซึ่งสมัครใจและยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม 3 ฉบับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้แก่ (1) แบบประเมินคุณภาพการปรึกษาทางวิชาการและแนะแนวทักษะชีวิตแก่นิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ฉบับนิสิต จำนวน 66 ข้อ (2) แบบประเมินคุณภาพการปรึกษาทางวิชาการและแนะแนวทักษะชีวิตแก่นิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา: ฉบับอาจารย์ จำนวน 46 ข้อ และ (3) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 2 ข้อ การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการโดยผู้วิจัยระหว่างวันที่ 12 มกราคม 2558 ถึง 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 1 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยของแคะแนนความคิดเห็นด้านการปรึกษาและแนะแนวทางวิชาการ และด้านการปรึกษาและการแนะแนะทักษะชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นด้านบุคลิกภาพ ด้านความรู้ความสามารถและด้านจรรยาบรรณของอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการ รวมทั้งด้านเครื่องมือและข้อมูลในการปรึกษาทางวิชาการอยู่ในระดับดี นอกจากนี้ยังพบว่าอาจารย์ที่ปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดเห็นด้านการปรึกษาและแนะแนวทางวิชาการ ด้านการปรึกษาและแนะแนวทักษะชีวิต ด้านความรู้ความสามารถในการให้คำปรึกษาและด้านจรรยาบรรณของอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการ รวมทั้งด้านเครื่องมือและข้อมูลในการปรึกษาทางวิชาการอยู่ในระดับดี ผลการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่า นิสิตปริญญาตรีมีความคิดเห็นว่าอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการ มีความรู้ ความสามารถ มีบุคลิกภาพที่ดี เป็นกันเอง อบอุ่น เข้าใจและยินดีให้การปรึกษาและแนะแนวทักษะชีวิต มีเครื่องมือและข้อมูลในการปรึกษาทางวิชาการเรื่องการเลือกวิชาเรียน การลงทะเบียน และการเลือกโรงเรียนฝึกสอน อย่างไรก็ตามนิสิตระดับปริญญาตรีต้องการให้อาจารยืที่ปรึกษาทางวิชาการเพิ่มเติมข้อมูลด้านตำราเรียน แนวทางการศึกษาต่อแหล่งทุนการศึกษา โอกาสในการเลือกเรียนวิชาเลือกเสรี และตัวอย่างของบุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิต รวมทั้งเพิ่มจำนวนครั้งและช่องทางในพบอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้คณะศึกษาศาสตร์ควรจัดให้มีการปรึกษาทางวิชาการและแนะแนวทักษะชีวิตในแต่ละชั้นปีซึ่งครอบคลุมเรื่องทักษะการปรับตัวในสังคมและทักษะการทำงาน รวมทั้งควรมีการจัดตั้งศูนย์การปรึกษาและแนะแนวทักษะชีวิตอย่างเป้นรูปธรรมและเป้นระบบ ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญทำหน้าที่ในการปรึกษาและแนะแนวทักษะชีวิต th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ปีงบประมาณ 2557
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การประเมินคุณภาพ th_TH
dc.subject ทักษะชีวิต th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.title การประเมินคุณภาพการปรึกษาทางวิชาการและแนะแนวทักษะชีวิตแก่นิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title.alternative The quality of evaluations of academic counseling and guidance for living skills of undergraduate students of faculty of Education, Burapha University en
dc.type งานวิจัย
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to study the opinions of undergraduate students and academic advisors on the quality evaluations of academic counseling and guidance for loving skills of undergraduate students of Faculty of Education, Burapha University. The sample consisted of 364 undergraduate students of Burapha University in the second semester of academic year 2557 who selected by a process multi-stage random sampling according major of study and 31 academic advisors, who volunteer and willing participate this research project. The research instruments composed of 3 questionnaires which developed by the researchers; 1) the qualityevaluations of academic counseling and guidance for living skills of undergraduate students of Faculty of Education, Burapha University questionnaire: Undergraduate student form, which composed of 64 items; the quality evaluations of academiccounseling and guidance for living skills of undergraduate students of Faculty of Education, Burapha University questionnaire: Academic advisor form, which composed of 64 items; and 3) the in dept interview questionnaire, 2 items. The data collections were done in one month by the researchers during January 12 to February 14, 2015. The data were statistically analyzed by utilizing a mean and standardize. The qualitative analysis was analyzed by utilizing the content analysis. The results revealed the undergraduate students of Faculty of Education had the mean scores of opinions on the academic counseling and the guidance for living skills domains in the moderate level. while the mean scores of opinions of undergraduate students on the personality, the ability, the ethic of the academic adviser, and the instrumental and information of academic counseling domains were in the good level. Additionally, it found that the academic advisors had the mean scores of opinions on the academic counseling, guidance for living skills, personality of academic advisor, ability of academic advisor, ethic of academic advisor, and the instrumental and information of academic counseling domains were in the good level. The content analysis, undergraduate students of Faculty of Education pointed out that the academic advisors had knowledge, ability, smart, amiable, genial, genuine, understanding, and willing to counseling and quidance for living skills. Including, the academic advisors had enough academic instruments and information on enroll and select school to practice teaching. Howrver, undergraduate students need more information of textbooks, guidelines of higher education, scholarships sources, and opportunities to choose the elective subjects, Additionally, a success role model, numbers of time and various canals to meet academic advisors. Moreover, Faculty of Education should organize academic counseling and guidance for livings skills in each year, incliding, social adjustment and working skills. Especially, it should set up certainly and systemically the counseling and guidance center, including the expert to provide academic counseling and guidance for living skills en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account