dc.contributor.author |
อุทิศ บำรุงชีพ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:08:39Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:08:39Z |
|
dc.date.issued |
2558 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1757 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและความพึงพอใจของนิสิตในการรับบริการข้อมูลข่าวสารจากสื่อประชาสัมพันธ์ ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 375 คน ประกอบด้วย นิสิตระดับปริญญาตรีปกติ 220 คน นิสิตระดับปริญญาตรีภาคพิเศษ 29 คน นิสิตระดับปริญญาโทภาคปกติ 12 คน นิสิตระดับปริญญาโทภาคพิเศษ 84 คน นิสิตระดับปริญญาเอก ภาคปกติ 23 คน และนิสิตระดับปริญญาเอกภาคพิเศษ 7 คน ซึ่งได้มาโดยคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการคำนวณจากสูตรของทาโร ยามาเน่ หลังจากนั้นคำนวณหาจำนวนตัวอย่างประชากรในแต่ละกลุ่ม โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified random sampling) และในแต่ละชั้นภูมิจะทำการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน (Proportional random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม โดยผู้วิจัยได้แบ่งแบบสอบถามเป็นแบบสำรวจรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า และแบบสอบถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิตมีความพึงพอใจต่อการบริการข้อมูลข่าวสารจากสื่อประชาสัมพันธ์ ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาโดยรวมพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย =3.77, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.78) 2) ด้านสภาพปัญหาความคิดเห็นของนิสิตโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย =3.54, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.95) และ 3) ความคิดเห็นด้านความต้องการตามความคิดเห็นของนิสิตโดยรวมมีความต้องการมากเช่นเดียวกัน (ค่าเฉลี่ย =3.75, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.78) นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเมื่อจัดอันดับมากที่สุดในแต่ละด้าน พบว่า ความคิดเห็นด้านความพึงพอใจมากที่สุด คือ พึงพอใจการได้รับการบริการข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านสื่อใหม่ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย =4.01, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.83) ความคิดเห็นด้านสภาพปัญหามากที่สุด คือ ปัญหาการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน ในประเด็นเรื่องความทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์ของการให้บริหาร ข้อมูลข่าวสาร อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย =3.82, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.94) และความคิดเห็นด้านความต้องการด้านการบริหารข้อมูลข่าวสาร กิจกรรมการเรียนการสอน แล ะกิจกรรมทางการศึกษาผ่านสื่อใหม่ (ค่าเฉลี่ย =4.01, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.73) |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยประเภทสถาบัน ตามความเร่งด่วนของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
ข้อมูลข่าวสาร |
th_TH |
dc.subject |
ความพึงพอใจ |
th_TH |
dc.subject |
สื่อประชาสัมพันธ์ |
th_TH |
dc.subject |
สาขาการศึกษา |
th_TH |
dc.title |
ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการบริการข้อมูลข่าวสารจากสื่อประชาสัมพันธ์ ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.title.alternative |
The students' satisfaction in the information data service from public relation media of faculty of Education, Burapha University |
en |
dc.type |
งานวิจัย |
|
dc.year |
2558 |
|
dc.description.abstractalternative |
The objective of the research was to study the student's satisfaction, problems and needs in the information data service from public relations media of Faculty of Education, Burapha University in the academic year 2014. The samples group in this study of 375 students from Faculty of Education, Burapha University classified by educational level consisted of 220 undergraduate students in regular program, 29 undergraduate students in special program, 12 master's degree students in regular program, 84 master's degree students in regular program, 23 doctoral degree students in regular program and 7 doctoral degree students in special program selected from the method of Taro Yamane sample after that obtained by stratified random sampling and proportional random sampling. The research tool was a questionnaire. The data collection instrument was a questionnaire, a checklist, a rating scale and an open-ended questionnaire. The data were analyzed through research statistics to find percentage, arithmetic mean, and standard deviation.
The results showed that; 1) the student's overall satisfaction in the information data service from public relations media of Faculty of Education, Burapha University were at the high level (X=3.77, SD = 0.78) 2) the student's overall problems were at the high level (X = 3.54, SD = 0.95) and 3) the student's overall needs were at the high level (X=3.75, SD =0.78). In addition, the analysis of ranking data the most on each side that reviews the satisfaction are most satisfying to have. Get news service of the Faculty of Education University via new media in a high level (X=4.01,SD=0.83). The condition is most problematic issues through press releases. On the issue of modernization and timeliness of the service,information at a high level (X=3.82, SD=0.94) and the need for information services activities of teaching and educational activities through new media (X=4.01, SD =0.73) |
en |