dc.contributor.author |
ภูเบศ เลื่อมใส |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:08:39Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:08:39Z |
|
dc.date.issued |
2558 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1752 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยเรื่อง ศึกษาความพึงพอใจของนายจ้างต่อบัณฑิตภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา รุ่นปีการศึกษา 2549-2553 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนายจ้างต่อ
บัณฑิตภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ในด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการ ด้านความสามารถพื้นฐานที่ส่งผลต่อการทำงาน และด้านคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บัณฑิตที่จบการศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา และผู้ใช้บัณฑิต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความพึงพอใจของนายจ้างต่อบัณฑิตภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา รุ่นปีการศึกษา 2549-2553 โดยภาพรวม พบว่า บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา และผู้ใช้บัณฑิต มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
2. ความพึงพอใจด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ การเรียนรู้งานที่ได้รับมอบหมายอย่างรวดเร็ว มีความเหมาะสมลำดับแรก ส่วนความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเข้าใจอย่างลุ่มลึกในเนื้อหาสาระหลัก มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดรองลงมา
3. ความพึงพอใจด้านความสามารถพื้นฐานที่ส่งผลต่อการทำงาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือการรู้เทคนิค วิธีและกระบวนการในการเรียนรู้สามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม มีความเหมาะสมลำดับแรก ส่วนการมีความสามารถในการทำงานเป็นทีมมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดรองลงมา
4. ความพึงพอใจด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณในวิชาชีพ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงาน มีความเหมาะสมลำดับแรก ส่วนการศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดรองลงมา |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยงบประมาณเงินรายได้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2527 |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
ความพึงพอใจ |
th_TH |
dc.subject |
นายจ้าง |
th_TH |
dc.subject |
บัณฑิต |
th_TH |
dc.subject |
สาขาการศึกษา |
th_TH |
dc.title |
ความพึงพอใจของนายจ้างต่อบัณฑิตภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา รุ่นปีการศึกษา 2549-2553 |
th_TH |
dc.title.alternative |
The satisfaction of employer toward quadrat of innovational and educational technology bachelor's degree faculty of education, Burapha University in the Academic year 2549-2553. |
en |
dc.type |
Research |
|
dc.year |
2558 |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of the satisfaction of employer toward of Innovational and Educational Technology Bachelor’s degree, faculty of Education, Burapha University in the Academic year 2549-2553 was to study the satisfaction of employer toward quadrat of Innovational and Educational Technology Bachelor’s degree, faculty of Educational, Burapha University in academic skills, quality of work basic skills influencing on work performance and ethical behavior in their job. The researcher the data were collected form graduates of bachelor’s degree program in Educational Technology and graduates’ employers. The researcher instruments were the questionnaire. The collect data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation.
The results of the research were as follows:-
1.The satisfaction of employer toward quadrat of Innovational and Educational
Technology Bachelor’s degree, faculty of Education, Burapha University in the Academic year 2549-2553 as a whole found that the opinions of graduates of bachelor’s degree program in Educational
Technology and graduates’ employers were appropriate at the highest level.
2.The satisfaction of academic skills found that as a whole was appropriate at the highest
level. When considered in each item, the item on the purpose of the Learning job assignments was quickly at the first highest level. The advanced knowledge in related fields and understand the content was the second sequence highest level.
3.The satisfaction of quality of word to basic skills influencing on work performance found
that as a whole was appropriate at the highest level. When considered in each item, the item on the purpose of the techniques and processes of learning can be applied in seeking self-knowledge was at the first highest level. The ability to work as a team was at the second sequence highest level.
4.The satisfaction of ethical behavior in their job found that as a whole was appropriate at
The highest level. When considered in each item, on the purpose of the compliance with the rules and regulation of the agencies was at the first highest level. The good faith and the promotion of good guidelines and human values was at the second sequence highest level |
en |