Abstract:
การวิจัยเรื่อง "การสืบทอดวัฒนธรรมดนตรีไทยในมหาวิทยาลัยบูรพา" ซึ่งเป็นงานวิจัยในโครงการ "วิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ในชลบุรี" ดนตรีไทยของมหาวิทยาลัยบูรพา มีมาตั้งแต่เริ่มต้นเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน โดยมีหลักสูตรการสอนในรายวิชาดนตรีวิจักษ์ (Music Applications) ซึ่งเป็นรายวิชาพื้นฐานบังคับที่นิสิตทุกคนจะต้องลงทะเบียน เพื่อให้นิสิตได้เกิดความซาบซึ้งในสุนทรียภาพ ความงามทางศิลปะและความไพเราะทางเสียงดนตรี รายวิชาดังกล่าวนี้เป็นจุดเริ่มต้นหลักของดนตรีไทยในมหาวิทยาลัยบูรพาที่มีการสืบทอดวัฒนธรรมมายาวนานจนครบ 59 ปี (พ.ศ. 2498-2557) ทำให้ดนตรีไทยขยายตัวขึ้นมาเป็นวิชาเฉพาะด้านในคณะวิชาการต่าง ๆ ในลำดับต่อมา
ในสมัยศาสตราจารย์ มล. บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ได้มีการเชิญครูดนตรีไทยคนสำคัญทางด้านเครื่องสายจากกรมมหรสพ คือ ขุนสนิทบรรเลงการ (จง จิตตเสวี) ซึ่งทานมีฝีมือดีในทางเครื่องสาย และเชิญครูชฎิล นักดนตรี เป็นผู้สืบทอดวัฒนธรรมดนตรีไทยมาจากท่านครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้เข้ามาดูแลรับผิดชอบในการสอนดนตรีไทยให้กับชมรมดนตรีไทยมหาวิทยาลัยบูรพา และสืบทอดมาเป็นลำดับดังนี้ ดร. ชูชาติ พิณพาทย์ อาจารย์สุชาติ ศรีโสภาภรณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณยศ ครุกิจโกศล และอาจารย์นิพนธ์ กลำกล่อมจิต
มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นสถานศึกษาที่เป็นแหล่ง
มหาวิทยาลัยบูรพาเป็นสถานศึกษาที่เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัมนธรรมที่สำคัญในภาคตะวันออกที่บริการชุมชนสังคมทั้งภายในและภายนอกได้มาเรียนรู้ได้อย่างหลาก ได้แก่ ชมรมดนตรีไทย คณะดนตรีและการแสดง คณะศึกษาศาสตร์ และสถาบันวิจัยและศิลปะ เป็นหน่วยงานหลักที่ช่วยสืบสานและส่งเสริมงานดนตรีไทยในการจัดประกวดดนตรีไทยจนมีความแข็งแกร่งทางวัฒนธรรมอันเป็นแบบอย่างที่น่ายกย่องและเชิดชูเกียรติแก่มหาวิทยาลัยบูรพา