Abstract:
การตรวจหาเชื้อมาลาเรียในยุงเป็นส่วนหนึ่งของการเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดของโรค ซึ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่สามารถประเมินสถานการณ์การแพร่กระจายของเชื้อมาลาเรียได้ นำไปสู่การเฝ้าระวังและควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังมีข้อจำกัดในด้านของเครื่องมือและบุคคลากรผู้เชี่ยวชาญในการตรวจ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์การตรวจหาเชื้อมาลาเรียในยุงที่ทำได้ง่าย ราคาไม่สูง โดยอาศัยเทคนิค Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้อุณหภูมิเดียว (63 องศาเซลเซียส) และนำเอาหลักการเปลี่ยนสีจากสีเหลืองเป็นสีน้ำเงินของสาร Bromophenol blue เมื่อค่า pH ในปฏิกิริยาเปลี่ยนเนื่องจากสารพันธุกรรมของเชื้อมาลาเรียมีปริมาณเพิ่มขึ้นมาเป็นการชี้วัดการพบเชื้อ Plasmodium spp. ในตัวอย่าง ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็วในการตรวจวินิจฉัย เมื่อทำการตรวจชนิดเชื้อมาลาเรียจากตัวอย่างยุงติดเชื้อด้วย Multiplex-LAMP เทียบกับการตรวจด้วยวิธี Nested-PCR จำนวน 150 ตัวอย่าง พบว่า ค่า sensitivity เท่ากับ 96.67 % และค่า Specificity เท่ากับ 100 % แสดงให้เห็นว่าสามารถนำเทคนิคการตรวจหาเชื้อนี้ไปใช้ในการตรวจเฝ้าระวังโรคมาลาเรียในภาคสนามได้