DSpace Repository

ผลของการฝึกแบบหนักสลับเบาความหนักสูงที่มีต่อสมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก ความเร็วความคล่องแคล่วว่องไว และความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายในนักกีฬาฟุตบอล

Show simple item record

dc.contributor.author วิรัตน์ สนธิ์จันทร์
dc.contributor.author สราลี สนธิ์จันทร์
dc.date.accessioned 2024-11-28T11:42:41Z
dc.date.available 2024-11-28T11:42:41Z
dc.date.issued 2567
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17366
dc.description.abstract วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาผลของการฝึกแบบหนักสลับเบาความเข้มข้นสูงที่มีต่อสมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก ความเร็ว ความคล่องแคล่วว่องไว และ ความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายในนักกีฬาฟุตบอล และ เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกแบบหนักสลับเบาความเข้มข้นสูง 3 รูปแบบที่มีต่อ สมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก ความเร็วความคล่องแคล่วว่องไว และ ความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายในนักกีฬาฟุตบอล วิธีการวิจัย: นักกีฬาฟุตบอลระดับมหาวิทยาลัยจำนวน 31 คน (อายุเฉลี่ย: 20.35 ? 0.98 ปี, ส่วนสูงเฉลี่ย: 175.06 ? 6.49 ซม., น้ำหนักเฉลี่ย: 67.77 ? 10.09 กก.) แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ฝึกแบบหนักสลับเบาความเข้มข้นสูงด้วยการวิ่งสปรินท์ 20 เมตร 20 เซต เวลาพักระหว่างเซต 15 วินาที กลุ่มที่ 2 ฝึกแบบหนักสลับเบาความเข้มข้นสูงด้วยการวิ่งสปรินท์ 40 เมตร 10 เซต เวลาพักระหว่างเซต 30 วินาที และ กลุ่มที่ 3 ฝึกแบบหนักสลับเบาความเข้มข้นสูงด้วยการวิ่งสปรินท์ 60 เมตร 5 เซต เวลาพักระหว่างเซต 60 วินาทีทำการฝึกสัปดาห์ละ 2 วัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ตัวแปรที่ศึกษา สมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก ประกอบด้วย พลังแอนแอโรบิก ความสามารถในการยืนระยะเชิงแอนแอโรบิก และ กำลังของกล้ามเนื้อต้นขา ความคล่องแคล่วว่องไว และ ความสามารถสุงสุดในการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย ก่อนและหลังการฝึก ผลการวิจัย: ในกลุ่มที่ 1 พลังแอนแอโรบิก ความสามารถในการยืนระยะเชิงแอนแอโรบิก กำลังของกล้ามเนื้อต้นขาข้างไม่ถนัด และ ความเร็วในระยะ 30 เมตร ภายหลังการฝึกแตกต่างจากก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กลุ่มที่ 2 พลังแอนแอโรบิก ความสามารถในการยืนระยะเชิงแอนแอโรบิก ความเร็วในระยะ 10, 20 และ 30 เมตร และ ความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย ภายหลังการฝึกแตกต่างจากก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และ กลุ่มที่ 3 กำลังของกล้ามเนื้อต้นขาข้างไม่ถนัด ความเร็วในระยะ 20 และ 30 เมตร และ ความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย ภายหลังการฝึกแตกต่างจากก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และไม่พบความแตกต่างเมื่อทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนระหว่างทั้ง 3 กลุ่ม สรุป: จากข้อมูลที่ปรากฏทำให้สรุปได้ว่า การฝึกแบบหนักสลับเบาความเข้มข้นสูงทั้ง 3 รูปแบบ สามารถพัฒนาสมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก ความเร็ว และ ความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายสำหรับนักกีฬาฟุตบอลได้ th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2565 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject นักกีฬาฟุตบอล th_TH
dc.title ผลของการฝึกแบบหนักสลับเบาความหนักสูงที่มีต่อสมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก ความเร็วความคล่องแคล่วว่องไว และความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายในนักกีฬาฟุตบอล th_TH
dc.title.alternative Effects of High Intensity Interval Training on Anaerobic Performance, Speed, Agility and Maximum Oxygen Consumption in Soccer Players th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2567 th_TH
dc.description.abstractalternative Objectives: This study aims to study effect of different high intensity interval training on anaerobic performance, speed, agility and aerobic capacity and to compare the effect of different high intensity interval training on anaerobic performance, speed, agility and aerobic capacity in soccer player. Methods: Thirty-one male university soccer players (age: 20 . 35 ± 0.98 years, height: 175.06 ± 6.49 cm, weight: 67.77 ± 10.09 kg) completed three different high intensity interval training repeated. The first group (n=10) performed 20 sets of 20 m sprint training with 15 sec of rest period. The second group (n=10) performed 10 sets of 20 m sprint training with 30 sec of rest period. And the third group (n=11) performed 5 sets of 60 m sprint training with 60 sec of rest period. Both groups trained two sessions a week for 6 weeks. Anaerobic power, anaerobic capacity, peak torque, speed, agility and VO2max was measurements before and after training. Results: The first group improved anaerobic power, anaerobic capacity, non-dominant leg peak torque and speed (30 meters) (p<0.05), whereas the second group improved anaerobic power, anaerobic capacity, speed and VO2max (p<0.05), while the third groups improved non-dominant leg peak torque, speed (20, 30 meters) and VO2max (p<0.05). No different between three groups in all variables after training. Conclusion: All three types of high intensity interval training can improve anaerobic capacity, speed and aerobic capacity in soccer player. Key words: High intensity interval training, Anaerobic performance, Maximum oxygen consumption th_TH
dc.keyword สมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account