DSpace Repository

พฤติกรรมและอันตรายเกี่ยวกับการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวในการหุงต้มของชุมชนย่อยเขตเทศบาลนครขอนแก่น

Show simple item record

dc.contributor.author บุษบา จันทร์ผ่อง
dc.contributor.author ธวัชชัย เนียรวิฑูรย์
dc.contributor.author วรางคณา สังสิทธิสวัสดิ์
dc.contributor.author ถิรพงษ์ ถิรมนัส
dc.date.accessioned 2024-08-05T04:19:23Z
dc.date.available 2024-08-05T04:19:23Z
dc.date.issued 2540
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17325
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวในการหุงต้ม สภาพอุปกรณ์ครบ อันตราย และการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวในการหุงต้ม เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยทำการสัมภาษณ์ครัวเรือนที่ตั้งอยู่ในชุมชน ที่ได้รับการจัดตั้งโดยสำนักงานเทศบาลเมืองขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 993 ครัวเรือน (ร้อยละ 11.3 ของครัวเรือนทั้งหมด) พร้อมทั้งสำรวจสภาพอุปกรณ์ควบที่ใช้กับก๊าซปิโตรเลียมเหลวในการหุงต้มและลักษณะการติดตั้ง ผลการวิจัย พบว่า มีการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวในการหุงต้มร้อยละ 60.7 และมีการใช้เตาก๊าซปิคนิคขนาด 4 กิโลกรัมร้อยละ 4.3 โดยที่ชุมชนย่อยประเภทแออัดมีสัดส่วนการใช้เตาก๊าซปิคนิคมากที่สุด มีครัวเรือนเกือบร้อยละ 50 ที่ไม่มีใครรู้ หรือมีความรู้แต่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ การติดตั้งการดูลักษณะและสภาพของอุปกรณ์ตลอดจนไม่รู้วิธีการตรวจสอบอุปกรณ์ควบที่ใช้กับก๊าซปิโตรเลียมเหลวในการหุงต้มอย่างถูกวิธีเกี่ยวกับการใช้เตาก๊าซพบว่า ขั้นตอนการจุดเตาก๊าซที่ถูกต้องคือ เปิดวาล์วที่หัวถัง จุดไม้ขีดไฟ แล้วจึงปิดวาล์วที่หัวเตามีเพียงร้อบละ 36.1 เมื่อก๊าซหมดจะใช้บริการเปลี่ยนถังจากร้านค้าก๊าซร้อยละ 89.6 ที่เหลือจะนำไปเติมที่ปั๊มก๊าซ มีการตีวจสอบรอยรั่วของอุปกรณ์โดยใช้น้ำสบู่ หรือแชมพูเพียงร้อยละ 36.7 จากการสำรวจสภาพอุปกรณ์พบว่า ถังก๊าซที่หมุนเวียนอยู่ในท้องตลาดมีอายุการใช้งานระหว่าง 1-6 ปี ร้อยละ 64.2 ถังก๊าซที่มีอายุการใช้งาน 7-9 ปี และ 10-15 ปี มีการทดสอบใหม่เพียงร้อยละ 10.3 และ 3.3 ตามลำดับ หัวปรับความดันเป็นชนิดเกลียวหมุนถึงร้อยละ 71 ในรอบปีที่ผ่านมามีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการจุดเตาก๊าซเพียง 3 รายเท่านั้น แต่เป็นเพียงอุบัติเหตุเล็กน้อยคือเปลวไฟลุกวาบไหม้เส้นผม มือ และใบหน้าบางส่วน การประเมินถึงความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากการใช้และสภาพของอุปกรณ์ พบว่า ครัวเรือนที่มีความรู้เกี่ยวกับก๊าซปิโตรเลียมเหลวยิ่งสูงจะยิ่งมีระดับความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายน้อยลง ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาแม้ว่าจะพบอันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวในการหุงต้มเพียง 3 รายจากจำนวน ทั้งหมด 603 ครัวเรือนก็ตามแต่ก็ ยังมีครัวเรือนอีกเกือบครึ่งที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย เนื่องจากยังมีการใช้และการติดตั้งอุปกรณ์ที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงไม่ทราบวิธีการตรวจสอบอุปกรณ์ เช่น การตรวจสอบรอยรั่ว ความผุกร่อนของถัง เป็นต้น ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายของผู้ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวในการหุงต้ม หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น เทศบาล สำนักงานโยธาธิการจังหวัด บริษัทผู้ค้าก๊าซ น่าจะได้ตระหนักถึงความสำคัญในการให้ความรู้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการดูแลควบคุมเกี่ยวกับก๊าซปิโตรเลียมเหลวและอุปกรณ์ควบ ควรได้มีการตรวจสอบเป็นประจำสม่ำเสมอและต่อเนื่องเพื่อให้มีการปฎิบัติให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และเพื่อให้ผู้ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวในการหุงต้มมีความมั่นใจในความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างแท้จริง
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ก๊าซปิโตรเลียมอัดเหลว -- วิจัย th_TH
dc.subject ก๊าซปิโตรเลียมอัดเหลว th_TH
dc.subject การใช้เชื้อเพลิง -- วิจัย th_TH
dc.subject พฤติกรรมผู้บริโภค -- ขอนแก่น th_TH
dc.title พฤติกรรมและอันตรายเกี่ยวกับการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวในการหุงต้มของชุมชนย่อยเขตเทศบาลนครขอนแก่น th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2540 th_TH
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were to study consumers behavior in using LPG, its accessories and hazardous risk. This survey research was done at Khon Kaen province by interviewing 993 household consumers who lived in sub-areas of Khon Kaen. The size of the sample was 11.3% of the total household population. The interview aimed at consumers behavior in using LPG. The conditions of its accessories were inspected by researchers. Results were found that 60.7% of household consumers used LPG stove. There were 4.3% used LPG type called 4 kg picnic gas was used in the highest proportion among people living in slum areas. About 50% of the people had no knowledge or insufficient knowledge about how to use LPG safely and how to check the condition of its accessories. The data revealed that only 36.1% of the people lid on the LPG stove in proper ways 89.6% of people called the LPG seller for service when LPG container was empty and need to refill it. The remainder took the empty container to LPG gas station for refill. For LPG precaution, only 36.7% of household had checked gas leaking by bubble method LPG containers every day used were in order to survey the quality control of gas container it was found that 64.2% of the between 1-6 years old. In case of the LPG container which in-used for 7-9 years and 10-15 years were re-tested only 10.3% and 3.3% respectively The data indicated that 71% of pressure regulators were threaded type Regarding to the occurrence of accident in the past year there were only 3 minor accidents cases caused burring of hair, hands and faces while lighting the stove Results also revealed that if the people have the more knowledge about LPG the less chance to get hazardous risk The suggestion is that although it was found only 3 minor accidents occurred of 603 house hold from using LPG in the past year. But in the real situation, there are a lot of people who are using LPG and install all type of LPG accessories which confront with dangerous There fore ender. to reduced the risk for consumers. The government the agencies private enterprise should recognize and relate authorities such as municipality. provincial public works and LPG dealers must be to provide proper knowledge to the public and continuously to LPG user Especially, all regulations must be strictly reinforced to ensure safety for the consumer.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account