Abstract:
การศึกษาลักษณะของคุณภาพน้ำทะเลและปริมาณแพลงก์ตอนพืชในช่วงการเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี บริเวณชายหาดบางแสน ในปี พ.ศ. 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงและหาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพน้ำทะเลกับความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืช โดยทำการเก็บตัวอย่างเดือนละครั้ง จำนวน 4 สถานี ระหว่างเดือนมกราคมถึงธันวาคม ในปี พ.ศ. 2564 ผลการศึกษา พบว่า ค่าอุณหภูมิน้ำ 25.0-34.0 °C ออกซิเจนละลาย 3.9-10.6 mg/L ความเป็นกรด-ด่าง 7.9-8.8 ความเค็ม 18.6-33.0 PSU สารแขวนลอย 15.8-186.4 mg/L แอมโมเนีย-ไนโตรเจน MDL-107.3 µg-N/L ไนไตรท์-ไนโตรเจน MDL-31.9 µg-N/L ไนเตรท-ไนโตรเจน MDL-101.2 µg-N/L ฟอสเฟต-ฟอสฟอรัส MDL-39.4 µg-P/L ซิลิเกต-ซิลิคอน 24.0-2482 µg-Si/L และความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืช 3587-1.1x107 cell/L ทั้งนี้ พบว่า คุณภาพน้ำทะเลยังคงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล ประเภทที่ 4 คุณภาพน้ำทะเลเพื่อการนันทนาการ ตามประกาศของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2564 และสารอาหารในน้ำทะเลมีความสัมพันธ์กับจำนวนของแพลงก์ตอนพืชในช่วงการเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (P<0.01) แสดงให้เห็นว่าปริมาณของอนินทรียสารในรูปแบบไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และซิลิเกตที่ละลายในน้ำทะเลมีผลต่อการเพิ่มขึ้นและลดลงของแพลงก์ตอนพืชในช่วงการเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี ซึ่งสามารถชี้วัดได้จากความหนาแน่นของจำนวนเซลล์ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงของแพลงก์ตอนพืชที่ตรวจพบได้ในสถานีและเวลาดังกล่าว