dc.description.abstract |
ประเทศไทยมีอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นสูงเป็นอันดับต้นของเอเชีย แม้ว่าการใช้ยาคุมฉุกเฉินสามารถช่วยลดอัตราการทำแท้ง แต่พบว่ามีการใช้ยาคุมฉุกเฉินอย่างเหมาะสมมากขึ้น อัตราการใช้ยาคุมฉุกเฉินสะท้อนถึงการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปบอดภัย และเสี่ยงต่อการติดเชื่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเชื้อเอดส์ แหล่งกระจายยาคุมฉุกเฉินส่วนใหญ่มาจากร้านยา นอกจากนี้การซื้อยากินเองอย่างไม่ถูกต้องเพื่อรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทำให้การดื้อยาเพิ่มสูงขึ้น จังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดพื้นที่เสี่ยงที่มีแหล่งสถานบันเทิง มีการแพร่ระบาดของการติดเชื้อเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาก
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจบริการด้านอนามัยเจริญพันธ์และป้องกันโรคเอดส์ ในร้านยากกลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 441 คนจากร้านยาทั้งหมด 634 แห่ง (70%) ในจังหวัดชลบุรีเป็นเพศชาย 193 คน (43.8%) เพศหญิง 248 คน (56.2%) อายุเฉลี่ย 43.6 ปี โดยรวมร้ายยาจำหน่ายยาคุมฉุกเฉินประมาณ 16,870 กล่อง/เดือน ถุงยางอนามัยประมาณ 14,883 กล่อง/เดือน และชุดตรวจการตั้งครรภ์ประมาณ 6,943 กล่อง/เดือน ร้านยาที่อยู่ใกล้สถานศึกษามีการจำหน่ายยาคุมฉุกเฉิน ถุงยางอนามัย และชุดตรวจการตั้งครรภ์ มากกว่าร้านยาที่อยู่ไกลสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) ผู้รับบริการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ซื้อยากินเองจากคำโฆษณาหรือคำบอกเล่ามีประมาณ 5,168 คน/เดือน มากกว่าผู้รับบริการที่ให้ร้านยาจัดยาให้ ซึ่งประมาณ 2,444 คน/เดือน ยาที่ร้านยาสั่งจ่ายเป็นยาต้านเชื้อแบคทีเรียในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กลุ่ม Quinolone 74.2% ได้แก่ Ciprofloxacin 43.7%, Norfloxacin 43.0% ยากลุ่มอื่นได้แก่ Doxycyclin 45.7% Azithromycin 26.5% และอื่นๆอีกมากมาย 19 ชนิด ร้านยาส่วนใหญ่มีบริการให้ความรู้เรื่องโรคและการใช้ยา แต่บริการให้คำปรึกษาเฉพาะด้านอนามัยเจริญพันธ์ยังมีน้อย ร้านยา 358 แห่ง (89%) ยินดีเข้าร่วมเป็นเครือข่ายบริการสุขภาพและสังคมด้านอนามัยเจริญพันธ์และป้องกันโรคเอดส์ ในพื้นที่ โดยส่วนใหญ่ต้องการให้มีการอบรม (94%) และสนับสนุนเอกสารเผยแพร่ความรู้เรื่องเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (99.5%)
ข้อเสนอระดับนโยบาย ควรเสริมสมรรถนะร้านยาในการให้บริการด้านอนามัยเจริญพันธ์ และป้องกันโรคเอดส์ และสร้างเครือข่ายเพื่อให้เกิดบริการที่เป็นมิตรสำหรับเยาวชน และผู้รับบริการกลุ่มอื่นๆและมีระบบส่งต่อที่ครอบคลุมทั้งด้านสุขภาพและสังคม ทั้งนั้นสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรีได้จัดให้มีการอบรมร้านยาด้านบริการอนามัยเจริญพันธ์ และให้ร้านยาเข้าร่วมเป็นจุดกระจายถุงยางอนามัย เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการป้องกันโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
Thailand has been cited as top country in Asia with the high rate of teen pregnancy, illegal abortion, sexual transmitted infection (STI) and HIV/AIDS. Emergency hormonal contraception (EHC) through community pharmacies is an existing youths’ strategy for reducing unwanted pregnancies. In contrary, it reflects decreasing condom use to prevent HIV and STIs. Increasing STIs resistance is due to improper use of antibiotics. Chonburi – an eastern sea-board province situated 100 km from Bangkok, includes the largest sea port of Thailand, tourism attractions in Pattaya and a growing number of industrial estates. Chonburi has a high epidemic of HIV/STI. Community pharmacies, the most accessible health service, are in the private sector and the services provided are not in the health system record.
The objective of this study was to survey the distribution ofEHC, pregnancy test, condoms and STI services in community pharmacies. Convenience sampling was used to get information from 411 of the 634 (70%) community pharmacies in Chonburi. Questionnaires were distributed to community pharmacies in the year 2009-2010. A large number, (16,870) of EHC were sold each month by 441 in community pharmacies in Chonburi province. Also 14,883 condoms and 6,943 pregnancy tests were distributed. The supply of EHC, condom and pregnancy test by Community pharmacies located near school/academic institute was significantly more than the further ones (p < 0.05). STI services were recorded for 2,444 patients/month. Each month there were 5,168 customers seeking medicine from advertising. The variation of 19 antibiotics were dispensed indicated that, 74.2% were in the quinolone group (such as ciprofloxacin 43.7%, norfloxacin 43.0%), doxycyclin 45.7%, azithromycin 26.5% and so on. Most of them provided general information about medicine and treatment but less advice about prevention and reproductive health. There were 358 community pharmacies (89.1%) that willing to cooperate in the reproductive health service network. Training need was 94.0% and 99.5% of them wanted information leaflets for support.
The community pharmacies were in the position to provide reproduction health information and services. The training of standard treatment guideline and reproductive health information should be supported. The youth friendly service should be developed and the pharmacists should counsel women, especially the younger ones. Following the executive report, the provincial public health had community pharmacies trained in the reproductive health services. The condom supplied through community pharmacies was the strategy to increase the accessibility of condom use for the prevention of HIV/STIs. |
en |