DSpace Repository

รูปแบบการเตรียมความพร้อมของผู้สูงอายุและครอบครัวสู่การตายอย่างสงบที่บ้าน (โครงการต่อเนื่องปีที่ 1)

Show simple item record

dc.contributor.author สิริลักษณ์ โสมานุสรณ์ th
dc.contributor.author รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์ th
dc.contributor.author กิ่งดาว การะเกด th
dc.contributor.author พรพรรณ ศรีโสภา th
dc.contributor.author พวงทอง อินใจ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:08:32Z
dc.date.available 2019-03-25T09:08:32Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1655
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเพื่อหาข้อมูลความต้องการการดูแลในระยะสุดท้ายของผู้สูงอายุ และครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุเพื่อการตายอย่างสงบที่บ้าน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้สูงอายุ สมาชิกในครอบครัว พยาบาล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และแกนนำชุมชน จำนวน 28 ราย กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ประกอบด้วย กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 200 ราย และ สมาชิกในครอบครัว จำนวน 200 ราย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธี Content analysis และสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาจากการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า ความหมายของผู้สูงอายุที่อยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต มี 2 ความหมาย คือ 1) ผู้ที่เจ็บป่วยที่บ้าน และมีอาการทรุดลง ก่อนเสียชีวิต และ 2) ผู้ที่รักษาที่โรงพยาบาลไม่ได้แล้ว ต้องมาดูแลเพื่อเสียชีวิตที่บ้าน และความหมายของการตายอย่างสงบที่บ้าน ประกอบด้วย 5 ความหมาย ได้แก่ 1) การตายที่หมดอายุขัย และจากไปแบบไม่ทรมาน 2) การตายที่สงบและอบอุ่น ณ บ้านของตนเอง 3) การตายที่ไม่รบกวนลูกหลาน 4) การตายที่มีลูกหลานมาอยู่รอบข้าง และ 5) การตายตามธรรมชาติที่ทำให้ลูกหลานมีความสุข สบายใจ ความต้องการของผู้สูงอายุที่มีอยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต มี 2 ประเด็น ได้แก่ 1) การได้ทำบุญก่อนจากไป และ 2) การมีโอกาสได้สั่งเสียลูกหลานการดูแลผู้สูงอายุเพื่อการตายอย่างสงบที่บ้าน มีทั้งหมด 7 ประเด็น ได้แก่ 1) การที่ลูกหลานอยู่เคียงข้างตลอดเวลา 2) การมีเสียงพูดบอกนำทางก่อนสิ้นใจ 3) การช่วยให้ได้ทำบุญที่บ้าน 4) การที่ลูกหลานช่วยให้หมดห่วงหมดกังวล 5) การดูแลความสุขสบาย คอยช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน 6) การที่ลูกหลานทำให้ตามที่รับปากไว้ และ 7) การจัดเตรียมสิ่งของตามความเชื่อไว้ให้ก่อนการตาย ผลการศึกษาเชิงปริมาณเกี่ยวกับความต้องการการดูแลในระยะสุดท้ายเพื่อการตายอย่างสงบที่บ้านของผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว พบว่า 1. ผู้สูงอายุมีความต้องการในระดับมากที่สุด มี 2 ด้าน คือ 1) ด้านปัญญา/ จิตวิญญาณ (X= 36.30, SD = 6.72) และ 2) ความต้องการทางด้านสังคม/ สิ่งแวดล้อม (X=32.97, SD = 6.16) 2. สมาชิกในครอบครัวมีความต้องการในระดับมากที่สุด มี 2 ด้าน คือ 1) ความต้องการทางด้านปัญญา/ จิตวิญญาณ (X = 37.00, SD = 5.15) และ 2) ความต้องการทางด้านสังคม/ สิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมากที่สุด (X=33.58, SD = 4.40) ผลการศึกษาที่ได้นี้มีประโยชน์สำหรับพยาบาลและบุคลากรสุขภาพที่เกี่ยวข้องในการพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมของผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัวเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถตายอย่างสงบที่บ้านได้ตามความต้องการ th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัย งบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ 2555 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การตาย th_TH
dc.subject ผู้สูงอายุ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title รูปแบบการเตรียมความพร้อมของผู้สูงอายุและครอบครัวสู่การตายอย่างสงบที่บ้าน (โครงการต่อเนื่องปีที่ 1) th_TH
dc.title.alternative Model of home-based on peaceful dying preparation of the elderly and family en
dc.type Research
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative The objective of this research aimed to find out the end-of –life care needs of the elderly and family members for helping the elderly people to reach dying peacefully at home. The participants in qualitative part consisted of 28 persons of the elderly, family members of elderly people, nurses, healthcare volunteers, and chiefs community. The participants in quantitative part consisted 200 elderly and 200 family members chosen by simple random sampling. The data were obtained by in-depth interview, focus group discussion, and questionnaires. The data were analyzed by content analysis and descriptive statistic. Findings from the qualitative part, the participants defined the meaning of the dying elderly at home in two meanings; 1) ones who sick and going to die at home, and 2) ones who were discharged from the hospital and had to die at home. And the meanings of peaceful death at home consisted of five characteristics; 1) dying without suffering in the end of life-span, 2) dying in peaceful and warm environment at their home, 3) dying without any bothering their children, 4) dying among their loved children, and 5) dying in naturally way making their children feel pleasured. The elderly’ needs at the end of life consisted of two meaningful issues including 1) making merit before dying, and 2) having opportunity to say goodbye to their children. The end-life care to promote dying peacefully included 7 characteristics of care: 1) their offspring always beside, 2) guiding words for last breathing, 3) making merit at home, 4) their offspring help to release any concerns, 5) comfort care and provide help for daily activities, 6) keeping promise from their offspring, and 7) preparing belongings according to their faith before dying. Findings from the quantitative part, the elderly and family members revealed their end-of-life care needs for helping the elderly to reach peaceful dying at home as “highest level” in cognitive/ spiritual needs (X = 36.30, SD = 6.72; X =37.00, SD = 5.15), and social/ environment needs (X = 32.97, SD = 6.16, X = 33.58, SD = 4.40). According to the results of this study, nurses and other health care providers should apply these findings to create the interventions for preparing the elderly and family members help the elderly people to die peace at their home as their needs. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account