Abstract:
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อสำรวจดัชนีความสุขของประชาคมในมหาวิทยาลัยบูรพาและเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างลักษณะประชากรศาสตร์กับดัชนีความสุขของประชาคมในมหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาคมในมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 816 คน โดยเป็นอาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิต และบุคลากรที่จ้างมาจากภายนอกมหาวิทยาลัย เครื่องมือการวิจัย คือ HAPPINOMETER หรือแบบสำรวจความสุขด้วยตนเอง พัฒนาโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะประชากรศาสตร์ด้านข้อมูลส่วนบุคคลที่แตกต่างกันส่งผลให้ดัชนีความสุข 9 มิติของกลุ่มตัวอย่างแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2. ลักษณะประชากรศาสตร์ด้านสถานภาพการทำงานที่แตกต่างกันส่งผลให้ดัชนีความสุข 9 มิติ ของกลุ่มตัวอย่างแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05