DSpace Repository

การสังเคราะห์งานวิจัยผู้สุงอายุของภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.author เวธกา กลิ่นวิชิต
dc.contributor.author คนึงนิจ อุสิมาศ
dc.contributor.author ยุวดี รอดจากภัย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:08:31Z
dc.date.available 2019-03-25T09:08:31Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1628
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและสังเคราะห์งานวิจัยที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก ของประเทศไทย ใช้รูปแบบการวิจัยแบบการวิเคราะห์อภิมาน และการวิเคราะห์ชาติพันธุ์วรรณาอภิมาน ประชากรครอบคลุมรายงานการวิจัยที่หน่วยงานจัดทำขึ้น วิทยานิพนธ์ และหรือปริญญานิพนธ์ของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยที่ศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในไทย งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์เป็นรายงานวิจัยที่ทำเสร็จเรียบร้อยแล้วในช่วง 5 ปี (ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550-2554) กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยพิจารณา เกณฑ์การคัดเลือกเป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทย ที่อาศัยในเขต 9 จังหวัดในภาคตัวนออก แบ่งภูมิภาคตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สระแก้ว ปราจีนบุรี นครนายก และสมุทรปราการ ได้งานวิจัยทั้งสิ้น 87 เรื่อง เครื่องมือประกอบด้วย แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ของคณะอนุกรรมการ Evidence-Based Medicine & Clinical Practice Guidelines ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย (2544) และแบบบันทึกข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้อมูลพื้นฐานคุณลักษณะของงานวิจัย พบว่า ปีที่มีการตีพิมพ์หรือแล้วเสร็จมากที่สุด คือ ปี 2553 (ร้อยละ 29.88) รองลงมา คือ ปี 2551 (ร้อยละ 24.14) สถาบันที่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุในภาคตะวันออก มากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยของแก่น (ร้อยละ 54.02) รองลงมา คือ มหาวิทยาลัยบุรพา (ร้อยละ 32.18) สาขาที่ศึกษาส่วนใหญ่ คือ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ (ร้อยละ 63.22) รองลงมาคือ สาขาพยาบาลศาสตร์ (ร้อยละ 15.39) จังหวัดที่ได้รับการศึกษามากที่สุดคือจังหวัดชลบุรี (ร้อยละ 34.48) รองลงมาคือ จังหวัดสมุทรปราการ (ร้อยละ 19.54) และจังหวัดระยอง (ร้อยละ 17.24) ผู้วิจัยหลักส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 68.97) ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยประเภทวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาโท (ร้อยละ 96.55) วัตถุประสงค์เพื่อบรรยาย/ ศึกษาหรืออธิอบาย มากที่สุด (่ร้อยละ 70.59) เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (ร้อยละ 75.86) และงานวิจัยเชิงคุณภาพ (ร้อยละ 24.14) กรอบแนวคิดทฤษฎีที่ใช้เป็นส่วนใหญ่ คือ ทฤษฎีการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (Pender's Health promotion) (ร้อยละ 33.33) ส่วนใหญ่ไม่ระบุวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง (ร้อยละ 24.14) และรองลงมาใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (ร้อยละ 22.99) ไม่มีการระบุสมมติฐาน (ร้อยละ 72.41) เครื่องมือส่วนใหญ่ใช้แบบสอบถาม (ร้อยละ 70.59) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา (ร้อยละ 43.18) รองลงมา คือ การวิเคราะห์เนื้อหา (ร้อยละ 19.69) ค่าตัวแปรตาม ส่วนใหญ่ศึกษาเกี่ยวกับสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ (ร้อยละ 35.79) การศึกษาเชิงเปรียบเทียบ พบว่า ส่วนใหญ่ ค่าตัวแปรตาม คือ คุณภาพชีวิต (ร้อยละ 28.57) การศึกษาสหสัมพันธ์ พบว่า ส่วนใหญ่ ค่าตัวแปรตาม คือ สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ (ร้อยละ 17.65) รองลงมา คือ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และโครงการ/กิจกรรมบริการ ผู้สูงอายุ (ร้อยละ 11.76) ชนิดของความเชื่อมมั่นของเครื่องมือวัดตัวแปรตาม ส่วนใหญ่ ใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (ร้อยละ 52.94) หาค่าความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (ร้อยละ 82.35) ค่าตัวแปรต้นส่วนใหญ่ เป็นคุณลักษณะของผู้สูงอายุ (ร้อยละ 72.38) การศึกษาเชิงเปรียบเทียบส่วนใหญ่ ค่าตัวแปรต้น คือ โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ/ โครงการส่งเสริมสุขภาพ (ร้อยละ 42.86) การศึกษาสหสัมพันธ์ ส่วนใหญ่ค่าตัวแปรต้น คือคุณลักษณะของผู้สูงอายุ (ร้อยละ 36.00) จำนวนตัวแปรตามเฉลี่ย เท่ากับ 1.09 ตัว มีเอกภพ เท่ากับ 94.83 จำนวนตัวแปรสูงสุด 4 ตัวต่ำสุด 1 ตัว จำนวนตัวแปรต้นเฉลี่ย เท่ากับ 1.51 ตัว มีเอกภพ เท่ากับ 131.37 จำนวนตัวแปรต้นสูงสุด 5 ตัว ต่ำสุด 1 ตัว จำนวนสมมติฐานเฉลี่ย เท่ากับ 2.76 ตัว มีเอกภพ เท่ากับ 240.12 จำนวนสมมติฐานสูงสุด5 ตัว ต่ำสุด 1 ตัว ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง เฉลี่ย เท่ากับ 215.08 คน มีเอกภพ เท่ากับ 18,711.96 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างสูงสุด 629 คน ต่ำสุด 5 คน จำนวนเครื่องมือเฉลี่ย เท่ากับ 1.17 เครื่องมือมีเอกภพ เท่ากับ 101.79 เครื่องมือ จำนวนเครื่องมือสูงสุด 6 เครื่องมือ ต่ำสุด 1 เครื่องมือ จำนวนวิธีการวิเคราะห์เฉลี่ย เท่ากับ 5.56 วิธี มีเอกภพ เท่ากับ 483.72 วิธี จำนวนวิธีการวิเคราะห์สูงสุด 8 วิธี ต่ำสุด 0 วิธี 2. ผลการประเมินคุณภาพการวิจัยผู้สูงอายุในภาคตะวันออกตามหลักฐานเชิงประจักษ์ส่วนใหญ่ มีคุณภาพการวิจัยในระดับ 3 หรือ ระกับ C (ร้อยละ 67.82) ซึ่งได้แก่ งานวิจัยที่เป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์หรือเป็นการศึกษาเชิงพรรณนา 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ที่มีค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลมากที่สุด คือด้านความสัมพันธ์ทางสังคม (r=1.185) รองลงมาคือ ด้านร่างกาย (r=1.224) ด้านจิตใจ (r=0.987) ด้านความเป็นอิสระไม่ต้องพึ่งพาใคร (r = 0.749) ด้านความเชื่อส่วนบุคคล (r=0.854) และด้านสิ่งแวดล้อม (r=0.653) ตามลำดับ 4. การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลของปัจจยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก มีขนาดอิทธิพลไม่แตกต่างกัน 5.ประเด็นสำคัญและสาเหตุของการศึกษาวิจัย ข้อค้นพบจากผลงานวิจัยเชิงคุณภาพมีดังนี้ 1) การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 2) การพัฒนามาตรฐาน การบริหารงานสวัสดิการและการสังเคราะห์ผู้สูงอายุ 3) การประเมินผลและการติดตามโรคงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 4) การศึกษาบทบาทและปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดูแลผู้สูงอายุในกลุ่มของผู้ดูแลผู้สูงอายุ 5) การดูแลตนเองของผู้สูงอายุเมื่อเป็นโรคเรื้อรัง th_TH
dc.description.sponsorship สนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ผู้สูงอายุ th_TH
dc.subject วิจัย - - การสังเคราะห์ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การสังเคราะห์งานวิจัยผู้สุงอายุของภาคตะวันออก th_TH
dc.title.alternative Meta-analysis of research on elderly in Eastern region of Thailand. en
dc.type Research th_TH
dc.year 2556
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to survey and synthesis researches on elderly in eastern region of Thailand by using meta-analysis and meta-ethnography methods. Eighty-seven researchers. thesis, and dissertation of elderly in the eastern of Thailand during 2007-2011 were selected from inclusion criteria. Instruments were Evidence based medicine & Clinical practice guidelines of the royal college of physicians of Thailand for evaluated quality of researches and record forms for analysis and synthesis, statistics including frequency, percentage, mean standard deviation, and One-way ANOVA were used for data analysis. It revealed that 1. Characteristics of researches on elderly in eastern region of Thailand were study in 2010 mostly (29.33%) and 2008 in the second (24.14%). Khon Khan university had study on elderly in the eastern region mostly (54.02%) and the second was Burapha university (32.18%). Public administration was the most field of the study (63.22%) and then Nursing science (15.39%). The elderly in Chon Buri (34.48%) was the most population whose study, the second was Samut Prakarn (19.54%) and the third was Rayong (17.24%). The almost main researchers were female (68.97%). There was thesis in master degree mostly (96.55%). The objective of research usually descriptive study (70.59%) in quantitative study (75.86%) and qualitative study (24.14%). The most of the studies used Pender's health model for exploring their behaviors (33.33%). The sampling methods did not identify mostly (24.14%) and purposive selected was in the second (22.99%) and did not identify hypothesis mostly (72.41%) Questionnaires were used in the most level (70.59%) and descriptive statistics were used mostly (43.18%) and the content analysis (19.69%). Dependent variables revealed that welfare for the elderly was in the most study (35.79%) and in comparative study always use quality of life (28.57), but in correlative study always use health promotion behaviors, projects or activities for elderly (17.65%) Quality of instruments were reliability by using Alpha-coefficient reliability (52.94%) and content validity (82.35%). Independent variables in this study was characteristic of the elderly in the most level (72.38%). In comparative study, independent variable usually was health promotion programs/ projects (42.86%). In correlation study, independent variable was characteristics mostly (36.00%). Mean of dependent variables were 1.09 (universe = 94.83, Max = 4, Min = 1). Mean of independent variables were 1.51 (universe = 131.37, Max =5, Min = 1). Mean of hypothesis were 2.76 (universe = 240.12, Max = 5, Min = 1). Mean of samples size were 215.08 (universe = 18,711.96), Max = 629, Min = 5). Mean of tools were 1.17 (universe = 101.79, Max = 6, Min = 1). Mean of statistics were 5.56 (universe = 483.72, Max = 8, Min = 0). 2. Quality of researches by evidence based approached mostly in level C (67.82%) 3. The factors related to quality of elder's life with significant at .05 were social relationship (r = 1.185), physical (r = 1.224), mental health (r=0.987), independent factors (r= 0.749), individual believes (r= 0.854), and environment (r=0.653). 4. The difference between quality of elderly influences factors has not significant. 5. The main topics and cause of qualitative study were 1) Developing quality of their life 2) Developing standard for welfare and well-being of the elderly 3) Evaluation of elderly living project 4) Study roles and factors effected to elderly care in family, community and care givers, and 5) Self health care of elderly with chronic illness. In conclusion, finding of meta-analysis showed that social relationship, psy chological factor and health promoting could be main issues for helping the elder improve their quality of their life. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account