DSpace Repository

การประเมินข้อต่ออาคารคาน-เสาคอนกรีตเสริมเหล็กของเสาต้นริมที่ก่อสร้างในประเทศไทยภายใต้แรงแผ่นดินไหวด้วยวิธีการทดสอบและการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองไฟไนอิเลเมนต์ประเภทแสดงรายละเอียด (ปีที่ 2)

Show simple item record

dc.contributor.author อานนท์ วงษ์แก้ว
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:08:30Z
dc.date.available 2019-03-25T09:08:30Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1622
dc.description.abstract เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้น อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) ที่ไม่ได้ถูกออกแบบและมีรายละเอียดการเสริมเหล็กเพื่อต้านทานแรงแผ่นดินไหว จะเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงโดยเแพาะอย่างยิ่งบริเวณข้อต่อระหว่างคาน-เสาของอาคาร ในปัจจุบันประเทศไทยประสบเหตุการณ์แผ่นดินไหวอยู่เสมอ นอกจากนี้อาคาร ค.ส.ล. ในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังถูกออกแบบและมีรายละเอียดการเสริมเหล็ก เพื่อรับน้ำหนักบรรทุกแนวดิ่งเป็นหลัก ดังนั้นการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมข้อต่อคาน-เสา ค.ส.ล. ของเสาต้นริมเมื่อรับแรงแผ่นดินไหว ด้วยการทดสอบตัวอย่างข้อต่อจำนวน 2 ตัวอย่างที่มีขนาดเทียบเท่าของจริง โดยจำลองแรงวัฏจักรตามข้อเสนอแนะ ACI T-01 ตัวอย่างที่ 1 และ 2 (bc1 และ bc2) ถูกออกแบบและเสริมเหล็กตามมาตรฐานการออกแบบอาคาร ค.ล.ส. ในประเทศไทยเพื่อรับน้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่งเป็นหลัก อย่างไรก็ตามตัวอย่างที่ 2 มีการเพิ่มรายละเอียดเหล็กเสริมให้เป้นไปตามมาตรฐานการออกแบบอาคารเพื่อต้านทานแรงแผ่นดินไหว (มยผ. 1310-50) ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า กำลังสูงสุดของทั้งสองตัวอย่างมีค่าใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตาม bc2 สามารถหมุนและสลายพลังงานแผ่นดินไหวได้มากกว่า bc1 เท่ากับ 25% และ 89% ตามลำดับ ส่วนลักษณะพังข้อต่อทั้งสองพบว่าข้อต่อ bc1 เกิดรอยแตกขนาดใหญ่ในเสาจากระดับหลังคานถึงท้องคานในลักษณะทะแยงมุมและ รอยแตกขนาดใหญ่ที่ตำแหน่งรอยต่อระหว่างคานกับเสา ส่วนข้อต่อ bc2 รอยแตกในเสานั้นมีลักษณะ คล้ายกับ bc1 แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก นอกจากนั้นยังพบรอยแตกขนาดเล็กกระจายตัวบริเวณปลายคานใกล้กับหน้าเสา แต่ไม่พบรอยแตกขนาดใหญ่ที่ตำแหน่งรอยต่อระหว่างคานกับเสา th_TH
dc.description.sponsorship รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ปีที่ 2 ทุนอุดหนุนการวิจัย งบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2556 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คาน th_TH
dc.subject แผ่นดินไหว th_TH
dc.subject เสาคอนกรีต th_TH
dc.subject แบบจำลองไฟไนอิลิเมนต์ th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.title การประเมินข้อต่ออาคารคาน-เสาคอนกรีตเสริมเหล็กของเสาต้นริมที่ก่อสร้างในประเทศไทยภายใต้แรงแผ่นดินไหวด้วยวิธีการทดสอบและการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองไฟไนอิเลเมนต์ประเภทแสดงรายละเอียด (ปีที่ 2) th_TH
dc.title.alternative Performance-based evaluation of exterior reinforced concrete building joints constructed in Thailand under earthquake load by experiments and detailed finite element models en
dc.type Research
dc.year 2557
dc.description.abstractalternative When an earthquake occurs, the reinforced concrete (RC) buildings without proper design and appropriate reinforcement details mostly suffer tremendous damages in many parts of the buildings, especially the beam-column connection. In recent years, Thailand frequently experiences some earthquakes. Besides, all RC buildings are mainly designed for gravity service loads with typical steel reinforcements for that purpose. Thus, the objective of this report is to study the performance of RC beam-column connections under a cyclic load. Two cast-in-place RC connections of an exterior column, bc1 and bc2, were tested in the laboratory using UTM with a simulated cyclic loading recommended by ACI T1.1-01. Although both specimens were Designed for the gravity service loads conforming to a RC design standard and steel reinforcement details of Thailand, the reinforcement details recommended by Design Standard for Earthquake Resistant buildings in Thailand, 1301-50, were implemented in specimen bc2. The results show that the peak loads for both specimens are almost the same. However, bc2 clearly demonstrates better seismic performances than bc1 by yielding of 89% higher in energy Dissipation and 25% more in rotation. A diagonal crack typicall observed in a column web Panel also noticed from both tests with more severe damage in bc1 than bc2. Instead of having a Major crack at the end of beam to the column face as bc1, bc2 indicates many small cracks rather distributing in the beam section than concentrating at the junction en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account