DSpace Repository

ความสัมพันธ์ของการประเมินคุณค่าทรัพยากรสัตว์น้ำกับเศรษฐกิจฐานรากบริเวณชายฝั่งชุมชนบ้านบางสะเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author ชลี ไพบูลย์กิจกุล
dc.contributor.author เบ็ญจมาศ ไพบูลย์กิจกุล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะเทคโนโลยีทางทะเล
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:45:53Z
dc.date.available 2019-03-25T08:45:53Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/161
dc.description.abstract การประเมินทรัพยากรปลากระบอก Liza subvirdis (Valenciennes, 1836) และปูทะเล Scylla oilvacea และคุณค่าทางเศรษฐกิจ บริเวณชุมชนชายฝั่งทะเลบ้านบางสะเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี โดยรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2551 ถึงเดือน กรกฎาคม 2552 ผลการศึกษาพบว่า ปลากระบอกที่จับได้มีความยาวและน้ำหนักอยู่ในช่วง 13.1-24.0 เซนติเมตร และ 30.1-220.0 กรัม อัตราส่วนระหว่างเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 1:0.83 ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวและน้ำหนักของปลากระบอกดังสมการ W=0.0264L 2.6885 สำหรับปลากระบอกเพศเมียดังสมการ W=0.0236L 2.7389 และปลากระบอกเพศผู้ดังสมการ W=0.0304L 2.629 ปลากระบอกเพศเมียที่มีพัฒนาการรังไข่มากที่สุดจะมีความยาวอยู่ในช่วง 17.1-19.0 เซนติเมตร ปลากระบอกเพศเมียมีการพัฒนารังไข่ตลอดทั้งปี จะมีไข่มากสุดในช่วงเดือนตุลาคม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของปลากระบอกที่มีการพัฒนารังไข่กับความดกไข่ได้สมการความสัมพันธ์ F= 14.661L 2.9563 การประเมิลมุลค่าทางเสรษฐกิจการจับปลากระบอก พบว่าชาวประมงสามารถจับปลากระบอกได้เฉลี่ยเดือนละ 95.44 กิโลกรัม คิดเป็นรายได้จากการจับปลากระบอกเฉลี่ยตลอดเดือนเท่ากับ 6,570 บาทต่อครัวเรือน ปูทะเลที่พบมีการกระจายความกว้างกระดองและน้ำหนักอยู่ในช่วง 6.1-15.0 เซนติเมตร และ 70.1-500.0 กรัม อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 1:0.835 ความกว้างกระดองกับน้ำหนักของปู้ทะเลทั้งหมดดังสมการ W=4.1566Cw 2.0302 สำหรับปูทะเลเพศเมียดังสมการ W= 3.9662Cw 2.0228 และปูทะเลเพศผู้ดังสมการ W=4.0011Cw 2.0782 ปูทะเลมีไข่มากที่สุดในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน การประเมินมุลค่าทางเศรษฐกิจการจับปูทะเล พบว่าชสวประมงสามารถจับปลากระบอกได้เฉลี่ยเดือนละ 137ใ56 กิโลกรัม คิดเป็นรายได้จากการจับปูทะเลเฉลี่ยตลอดเดือนเท่ากับ 23,314 บาทต่อครัวเรือน การรักษาระดับรายได้จากการทำประมงพื้นบ้านต่อไปชุมชนต้องร่วมมือกันในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งน้ำธรรมชาติ สภาพแวดล้อมริมฝั่งแม่น้ำ การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ รวมถึงความร่วมมือในการอนรักษ์ป่าชายเลน เพื่อให้การประมงพื้นบ้านของชุมชนบ้านบางสะเก้ามีความยั่งยืนตลอดไป th_TH
dc.description.sponsorship ทุนอุดหนุนการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2553 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี th_TH
dc.subject ทรัพยากรสัตว์น้ำ - - แหลมสิงห์ (จันทบุรี) th_TH
dc.subject บ้านบางสะเก้า (จันทบุรี) th_TH
dc.subject ปลากระบอก th_TH
dc.subject ปูทะเล th_TH
dc.subject พลวัตประชากร th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title ความสัมพันธ์ของการประเมินคุณค่าทรัพยากรสัตว์น้ำกับเศรษฐกิจฐานรากบริเวณชายฝั่งชุมชนบ้านบางสะเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี th_TH
dc.title.alternative Relationship of aquatic resources assessment and local economic of at Ban Bang Sa Kao coast, Laem Singh, Chanthaburi province en
dc.type Research
dc.year 2554
dc.description.abstractalternative The biology of mullet liza subvirdis (Valenciennes, 1836) and mud crab scylla olivacea and economically value at Ban Bang Sa Kao, Laem singh, Chanthaburi province had been evaluated august 2008 to july 2009. Result of the study found that mullet had length and weight in range of 13.1-24.0 cm and 30.1-220.0 g. The sexratio of male per female was 1:0:83. The relationship equation between length and weight of both sexes, female and male were W=0.0264L 2.6885, W= 0.0236L 2.7389, and W=0.0304L 2.629, respectively. Length of female mullet that develed ovary had in range of 17.1-19.0 cm. Mullet could spawn throughout the year and had a peak in October. The relationship equation between length and fecundity was F=14.661L 2.9563. The estimation of economically value of mullet elucidated that the fisherman could mullet fishing as 95.44 kg/month and calculated as 6,570 Baht/household for income. Mud crab had carapace width and weight in rang of 6.1-15.0 cm and 70.1-500.0 g The sex ratio of male per female was 1:0.835. The relationship equation between carapace width and weight of both sexes, female and male were W=4.1566Cw 2.0302, W= 3.9662Cw 2.0228, and W= 1.0011Cw 2.0782, respectively. Mud crab had a peak of spawning in range of September to November. The estimation of economically value of mud crab demonstrated that the fisherman could trap mud crab as 137.56 kg/month and calculate as 23,314 Baht/hosehold for income. If the fishermen would like to maintaining levels of income, they will cooperate to conserve of natural resource, river coastal zone, aquatic animal including mangrove conservation and rehabilitation for sustainable of fisheries folks at Ban Bang sa Koa. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account