Abstract:
การประเมินทรัพยากรปลากระบอก Liza subvirdis (Valenciennes, 1836) และปูทะเล Scylla oilvacea และคุณค่าทางเศรษฐกิจ บริเวณชุมชนชายฝั่งทะเลบ้านบางสะเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี โดยรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2551 ถึงเดือน กรกฎาคม 2552 ผลการศึกษาพบว่า ปลากระบอกที่จับได้มีความยาวและน้ำหนักอยู่ในช่วง 13.1-24.0 เซนติเมตร และ 30.1-220.0 กรัม อัตราส่วนระหว่างเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 1:0.83 ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวและน้ำหนักของปลากระบอกดังสมการ W=0.0264L 2.6885 สำหรับปลากระบอกเพศเมียดังสมการ W=0.0236L 2.7389 และปลากระบอกเพศผู้ดังสมการ W=0.0304L 2.629 ปลากระบอกเพศเมียที่มีพัฒนาการรังไข่มากที่สุดจะมีความยาวอยู่ในช่วง 17.1-19.0 เซนติเมตร ปลากระบอกเพศเมียมีการพัฒนารังไข่ตลอดทั้งปี จะมีไข่มากสุดในช่วงเดือนตุลาคม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของปลากระบอกที่มีการพัฒนารังไข่กับความดกไข่ได้สมการความสัมพันธ์ F= 14.661L 2.9563 การประเมิลมุลค่าทางเสรษฐกิจการจับปลากระบอก พบว่าชาวประมงสามารถจับปลากระบอกได้เฉลี่ยเดือนละ 95.44 กิโลกรัม คิดเป็นรายได้จากการจับปลากระบอกเฉลี่ยตลอดเดือนเท่ากับ 6,570 บาทต่อครัวเรือน
ปูทะเลที่พบมีการกระจายความกว้างกระดองและน้ำหนักอยู่ในช่วง 6.1-15.0 เซนติเมตร และ 70.1-500.0 กรัม อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 1:0.835 ความกว้างกระดองกับน้ำหนักของปู้ทะเลทั้งหมดดังสมการ W=4.1566Cw 2.0302 สำหรับปูทะเลเพศเมียดังสมการ W= 3.9662Cw 2.0228 และปูทะเลเพศผู้ดังสมการ W=4.0011Cw 2.0782 ปูทะเลมีไข่มากที่สุดในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน การประเมินมุลค่าทางเศรษฐกิจการจับปูทะเล พบว่าชสวประมงสามารถจับปลากระบอกได้เฉลี่ยเดือนละ 137ใ56 กิโลกรัม คิดเป็นรายได้จากการจับปูทะเลเฉลี่ยตลอดเดือนเท่ากับ 23,314 บาทต่อครัวเรือน
การรักษาระดับรายได้จากการทำประมงพื้นบ้านต่อไปชุมชนต้องร่วมมือกันในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งน้ำธรรมชาติ สภาพแวดล้อมริมฝั่งแม่น้ำ การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ รวมถึงความร่วมมือในการอนรักษ์ป่าชายเลน เพื่อให้การประมงพื้นบ้านของชุมชนบ้านบางสะเก้ามีความยั่งยืนตลอดไป