dc.description.abstract |
หลังการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะมีสุขภาพเลวลงและอาจต้องนอนโรงพยาบาลบ่อยครั้งเนื่องจากความก้าวหน้าของโรคและภาวะแทรกซ้อน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อการรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จำนวน 201 ราย ที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินการรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบประเมินภาวะจิตใจและอารมณ์ แบบวัดภาวะซึมเศร้า แบบประเมินพฤติกรรมการจัดการภาวะเครียด แบบประเมินการรับรู้เกี่ยวกับความสามารถของตน แบบประเมินการปรับตัวเกี่ยวกับความเจ็บป่วย แบบประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหารเฉพาะโรค แบบประเมินพฤติกรรมการเคลื่อนไหวและออกกำลังกายและแบบประเมินการปฏิบัติตนตามแผนการรักษาและควบคุมปัจจัยเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า
1. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการรับรู้ภาวะสุขภาพ ได้แก่ความสามารถในการทำกิจกรรม (r = .494, p< .001) การปรับตัวเกี่ยวกับ
การเจ็บป่วย (r = .393, p< .001) ภาวะจิตใจและอารมณ์ (r = .378, p < .001) พฤติกรรมการรับประทานอาหารเฉพาะโรค (r = .331, p < .001) พฤติกรรมการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย (r = .389, p < .001) พฤติกรรมการจัดการความเครียด (r = .252, p < .001) และภาวะซึมเศร้า (r = -.342, p < .001) และพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ได้แก่ ความสามารถในการทำกิจกรรม (Beta = .304, p< .001)
ภาวะจิตใจและอารมณ์ (Beta = .233, p< .001) และพฤติกรรมการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย (Beta = .230, p< .001) โดยร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการรับรู้ภาวะสุขภาพได้ 32.8
2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การรับรู้ภาวะสุขภาพ (r = .349, p < .001) ความสามารถในการทำกิจกรรม (r = .365, p < .001) การปรับตัวเกี่ยวกับการเจ็บป่วย (r = .177, p < .006) ภาวะจิตใจและอารมณ์ (r = .604, p < .001) พฤติกรรมการปฏิบัติตนตามแผนการรักษาและควบคุมปัจจัยเสี่ยง (r = .138, p < .026) ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
(r = -.548, p < .001) และพบว่าปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ภาวะจิตใจและอารมณ์ (Beta = .430, p < .001) และภาวะซึมเศร้า
(Beta = - .286,p <.001) โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความผาสุกได้ร้อยละ 41.6
ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยนี้ ไก้แก่ บุคลากรทางด้านสุขภาพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาโปรแกรมเพื่อฟื้นฟูสุขภาพและป้องกันการกลับไปนอนโรงพยาบาล โดยเน้นให้ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมีความสามารถในการทำกิจกรรม สามารถปรับภาวะจิตใจและอารมณ์ และเพิ่มการเคลื่อนไหว
และการออกกำลังกาย |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
Post myocardial infarction decline and rehospitalization because illness progression and complications. The objectives of this predicyive study were to examine correlated and predicting gactors of health perception among post myocardial infarction patients. A sample consisted of 201 myocardial infarction patients who follow up at outpatient department. A package of questionnaires included personal information, health perception, mental and emotional status, depression, stress management, functional performance, illness adjustment, food consumption, physical activity, and adherence to treatment and risk control. Data were analyzed by descriptive, Pearson correlation, and multiple regressions.
The results found that health perception was correlated to functional performance (r=.494, p<.001), illness adjustment (r=393, p<.001), mental and emotional status (r=.378, p<.001), food consumption (r=.331, p<.001), physical activity (r=.389, p<.001), stress management (r=.252, p<.001), and depression (r=-.342, p<.001). Predicting factors of health perception were functional performance (Beta = .304, p<.001), mental and emotional status (Beta = .200, p<.001), and physical activity (Beta = .230, p< .001). Total variances explain 32.8%.
Moreover, the results found that quality of life was correlated to health perception (r=.349, p<.001) functional performance (r=.365, p<.001) illness adjustment (r=177, p=.006) mental and emotional status (r=.604, p<.001) adherence to treatment and risk control (r=.138, p=.026), and depression status (Beta = .430, p<.001) and depression (Beta = -.286,p<.001). Total variances explain 41.6%.
From the research results, health care providers and health care institutes should develop guideline and conduct research to promote functional performance, mental and emotional status, physical activity, and reduce depression. |
en |