DSpace Repository

การวิเคราะห์ผลการทําลายเชื้อและทําให้ปราศจากเชื้อของหน่วยจ่ายกลาง ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author อลิสา จิตตรีพล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:07:16Z
dc.date.available 2019-03-25T09:07:16Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1605
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ผลการทําลายเชื้อและทําให้ปราศจากเชื้อของระบบที่นํามาใช้โดยการอบไอน้ําและ วิธีอบฆ่าเชื้อด้วยแก๊สเอทธีลีนออกไซด์ 100% วิธีดําเนินการวิจัย ศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective research) จากแบบบันทึกผลการตรวจสอบการทําลายเชื้อ และการทําให้ปราศจากเชื้อของหน่วยจ่ายกลางโดยศึกษาข้อมูลทั่วไป ได้แก่ วิธีการทําลายเชื้อและทําให้ ปราศจากเชื้อ วันที่ทดสอบ อุณหภูมิที่ใช้ในการทําลายเชื้อและทําให้ปราศจากเชื้อ แผนกที่ส่งอุปกรณ์ รายการ ของที่นําเข้าอบฆ่าเชื้อ และจํานวนของแต่ละรายการ และบันทึกข้อมูลผลการตรวจสอบได้แก่ ผลการ ตรวจสอบทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพ นําข้อมูลมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย 1. มีการทดสอบการทําลายเชื้อและการทําให้ปราศจากเชื้อด้วยวิธีอบฆ่าเชื้อด้วยไอน้ําโดยใช้ตัวบ่งชี้ ทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพ จําแนกตามแผนกที่ส่งอุปกรณ์ พบว่าอุปกรณ์ที่ส่งมาจากแผนก อุบัติเหตุและฉุกเฉิน แผนกห้องผ่าตัด และแผนกห้องคลอดมีการทดสอบเดือนละ 12 ครั้ง/ปี(100%) รายการ ที่ได้รับการทดสอบมากที่สุดคือ Set dressing โดยได้รับการทดสอบจํานวน 11 ครั้ง/ปี(91.67%) รองลงมา เป็นเครื่องมือผ่าตัด ได้รับการทดสอบ 10 ครั้ง/ปี (83.33%)กระปุกสําลี,gauze,forceps ได้รับการทดสอบ 8 ครั้ง/ปี (66.67%) ส่วนการทดสอบการทําลายเชื้อและการทําให้ปราศจากเชื้อด้วยวิธีอบฆ่าเชื้อด้วยแก๊สเอทธี ลีนออกไซด์ 100% โดยใช้ตัวบ่งชี้ทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพ จําแนกตามแผนกที่ส่งอุปกรณ์ พบว่า อุปกรณ์ที่ส่งมาจากห้องผ่าตัดมีการทดสอบมากที่สุด จํานวน 24 ครั้ง/ปี (100%) รายการที่ได้รับการทดสอบ มากที่สุดคือเครื่องมือแพทย์ที่เป็น stainless เช่นกรรไกร ,curattege และ เครื่องมือแพทย์ที่เป็น Silicone เช่น สายต่อsuction, ET-tube O2 mask, canular, Mask พ่นยา ได้รับการทดสอบจํานวน 24 ครั้ง(100%) รองลงมาคือพลาสติก เช่น Syringe, Corrugate tube, จุก ICD ได้รับการทดสอบ 14 ครั้ง/ปี (58.33%) อันดับที่ 3คือ ขวดแก้ว เช่น ขวด Chest drain, ขวด sterile ได้รับการทดสอบจํานวน 10 ครั้ง (41.67%) 2. ผลการทดสอบทางกายภาพพบว่าการควบคุมระบบการทําลายเชื้อและการทําให้ปราศจากเชื้อ โดยวิธีอบฆ่าเชื้อด้วยไอน้ํา และวิธีการอบฆ่าเชื้อด้วยแก๊สเอทธิลีนออกไซด์ 100% (EO) ของแผนกหน่วยจ่าย กลางมีการควบคุมตัวบ่งชี้ทางกายภาพ ที่จะเป็นการควบคุมเครื่องทําให้ปราศจากเชื้อตั้งแต่ระบบเริ่มทํางาน จนกระทั่งสิ้นสุดการทําให้ปราศจากเชื้อ พร้อมทั้งลงชื่อผู้ปฏิบัติงานและมีระบบรายงานความผิดปกติที่เกิดขึ้น ผลการทดสอบทางเคมี พบว่ามีการควบคุมตัวบ่งชี้ทางเคมี โดยการแปลผลของตัวบ่งชี้ทั้งภายในและภายนอก ห่ออุปกรณ์แต่ยังพบว่า ระบบการรายงานความผิดปกติยังขาดความชัดเจน ยังคงเป็นการสื่อสารทางวาจา ยัง ขาดหลักฐานที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อสามารถตรวจสอบได้ แต่โดยรวมผลการตรวจสอบตัวบ่งชี้ ทางเคมีของระบบการควบคุมการทําลายเชื้อและการทําให้ปราศจากเชื้ออยู่ในระดับที่ผ่านมาตรฐาน และผล การทดสอบทางชีวภาพ พบว่า ปราศจากเชื้อทุกครั้งของการทดสอบ 100% โดยมีการควบคุมอุณหภูมิเครื่อง ปราศจากเชื้อด้วยการอบฆ่าเชื้อด้วยไอน้ําที่อุณหภูมิ 137 องศาเซลเซียสและมีการควบคุมอุณหภูมิเครื่อง ปราศจากเชื้อด้วยการอบฆ่าเชื้อด้วยแก๊ส EO ที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส นอกจากนั้นยังมีระบบการบันทึก รายงานเป็นลายลักษณ์อักษรสามารถสืบค้นข้อมูลได้ โดยรวมพบว่า การตรวจสอบตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของ ระบบการควบคุมการทําลายเชื้อและการทําให้ปราศจากเชื้ออยู่ในระดับที่ผ่านมาตรฐาน ข้อเสนอแนะ 1. ควรศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเศรษฐสาธารณสุขในการหาต้นทุนในการผลิตและการลดต้นทุน พัฒนาระบบงาน หน่วยจ่ายกลาง 2.วิเคราะห์งานเปรียบเทียบกับอัตรากําลังเพื่อประเมินสภาพการดําเนินงานตามอัตราการขยายงานและ สามารถให้บริการได้อย่างมีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพมากขึ้น 3. ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลเกี่ยวกับเครื่องมือ อุปกรณ์ในการทําลายเชื้อและทําให้ปราศจากเชื้อที่มีใช้ นอกหน่วยจ่ายกลาง เพื่อประกันคุณภาพแก่ผู้ใช้บริการ การนําไปใช้ประโยชน์ เพื่อนําข้อมูลที่ได้มาใช้กําหนดระเบียบปฏิบัติในการทําลายและทําให้ปราศจากเชื้อภายในโรงพยาบาล และเป็นการลดอุบัติการณ์การติดเชื้อภายในโรงพยาบาล th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การฆ่าเชื้อ th_TH
dc.subject การติดเชื้อ th_TH
dc.subject การอบไอน้ำ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การวิเคราะห์ผลการทําลายเชื้อและทําให้ปราศจากเชื้อของหน่วยจ่ายกลาง ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2545


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account