DSpace Repository

การรับรู้และการได้รับบริการตามสิทธิผู้ป่วยของผู้รับบริการ ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author จินดาภรณ์ สุรเนตร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:07:15Z
dc.date.available 2019-03-25T09:07:15Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1598
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ ศึกษาและเปรียบเทียบระดับการรับรู้สิทธิผู้ป่วยและการได้รับบริการตามสิทธิผู้ป่วยของผู้รับบริการใน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา วิธีดําเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยใน จํานวน 368 คน ซึ่งคัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มแบบมีระบบ (systematic random sampling) ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2548 ถึง 1 สิงหาคม 2548 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้สิทธิผู้ป่วยที่ควรได้รับ และการรับรู้การได้รับบริการตามสิทธิผู้ป่วย ซึ่งมี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสิทธิในการได้รับบริการทางสุขภาพด้านสิทธิในความเป็นส่วนตัว ด้านสิทธิการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ด้านสิทธิที่จะได้รับข้อมูลทดสอบค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’salpha coefficient) ได้ค่า ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.95และ 0.91ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (Paired samples t-test) ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้สิทธิผู้ป่วยโดยรวม และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนการได้รับบริการตามสิทธิผู้ป่วย โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และรายด้าน พบว่า การได้รับบริการตามสิทธิอยู่ในระดับมากมี 2 ด้านคือ ด้านสิทธิในการได้รับบริการทางสุขภาพ และด้านสิทธิในการ ตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ส่วนด้านที่อยู่ในระดันปานกลาง คือ ด้านสิทธิในที่จะได้รับข้อมูล และด้านสิทธิในความเป็นส่วนตัว เมื่อเปรียบเทียบการรับรู้สิทธิผู้ป่วยกับการได้รับบริการตามสิทธิผู้ป่วย พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดย ค่าเฉลี่ยของการรับรู้สิทธิผู้ป่วยจะมีค่าสูงกว่า ค่าเฉลี่ยของการได้รับบริการตามสิทธิผู้ป่วยในทุกด้าน ส่วนด้านสิทธิในการได้รับบริการทางสุขภาพและด้านสิทธิในการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบตามประเภทหอผู้ป่วยในพบว่าค่าเฉลี่ยการรับรู้สิทธิผู้ป่วยและค่าเฉลี่ย การได้รับบริการตามสิทธิผู้ป่วยของผู้รับบริการในแผนกผู้ป่วยในสามัญมากกว่าในแผนกผู้ป่วยในพิเศษทั้งโดยรวมและรายด้าน ข้อเสนอแนะ จากการวิจัยสามารถวิเคราะห์ได้ว่า พยาบาลทั้งหอผู้ป่วยในสามัญ และพิเศษ ควรมีความตระหนักในสิทธิผู้ป่วย และสร้างเสริมการบริการตามสิทธิผู้ป่วยให้ดีขึ้น โดยการอบรมแนวปฏิบัติการบริการตามสิทธิผู้ป่วย จัดทําคู่มือการปฏิบัติ ทั้งนี้ยังต้องคงไว้ซึ่งการรับรู้ของผู้รับบริการโดยมีการเผยแพร่ข่าวสารแก่ ผู้รับบริการอย่างสม่ําเสมอการนําไปใช้ประโยชน์ ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการให้บริการในหน่วยบริการต่างๆ เช่น หอผู้ป่วยสามัญ หอผู้ป่วยพิเศษ เป็นต้น th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การรับรู้ th_TH
dc.subject สิทธิผู้ป่วย th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การรับรู้และการได้รับบริการตามสิทธิผู้ป่วยของผู้รับบริการ ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.type Research
dc.year 2548


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account