Abstract:
วัตถุประสงค์
ศึกษาและเปรียบเทียบระดับการรับรู้สิทธิผู้ป่วยและการได้รับบริการตามสิทธิผู้ป่วยของผู้รับบริการใน
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา
วิธีดําเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยใน จํานวน 368 คน ซึ่งคัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มแบบมีระบบ (systematic random sampling) ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2548 ถึง 1 สิงหาคม 2548 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้สิทธิผู้ป่วยที่ควรได้รับ
และการรับรู้การได้รับบริการตามสิทธิผู้ป่วย ซึ่งมี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสิทธิในการได้รับบริการทางสุขภาพด้านสิทธิในความเป็นส่วนตัว ด้านสิทธิการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ด้านสิทธิที่จะได้รับข้อมูลทดสอบค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’salpha coefficient) ได้ค่า
ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.95และ 0.91ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (Paired samples t-test)
ผลการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้สิทธิผู้ป่วยโดยรวม และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนการได้รับบริการตามสิทธิผู้ป่วย โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และรายด้าน พบว่า การได้รับบริการตามสิทธิอยู่ในระดับมากมี 2 ด้านคือ ด้านสิทธิในการได้รับบริการทางสุขภาพ และด้านสิทธิในการ
ตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ส่วนด้านที่อยู่ในระดันปานกลาง คือ ด้านสิทธิในที่จะได้รับข้อมูล และด้านสิทธิในความเป็นส่วนตัว เมื่อเปรียบเทียบการรับรู้สิทธิผู้ป่วยกับการได้รับบริการตามสิทธิผู้ป่วย พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดย ค่าเฉลี่ยของการรับรู้สิทธิผู้ป่วยจะมีค่าสูงกว่า
ค่าเฉลี่ยของการได้รับบริการตามสิทธิผู้ป่วยในทุกด้าน ส่วนด้านสิทธิในการได้รับบริการทางสุขภาพและด้านสิทธิในการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบตามประเภทหอผู้ป่วยในพบว่าค่าเฉลี่ยการรับรู้สิทธิผู้ป่วยและค่าเฉลี่ย การได้รับบริการตามสิทธิผู้ป่วยของผู้รับบริการในแผนกผู้ป่วยในสามัญมากกว่าในแผนกผู้ป่วยในพิเศษทั้งโดยรวมและรายด้าน
ข้อเสนอแนะ
จากการวิจัยสามารถวิเคราะห์ได้ว่า พยาบาลทั้งหอผู้ป่วยในสามัญ และพิเศษ ควรมีความตระหนักในสิทธิผู้ป่วย และสร้างเสริมการบริการตามสิทธิผู้ป่วยให้ดีขึ้น โดยการอบรมแนวปฏิบัติการบริการตามสิทธิผู้ป่วย จัดทําคู่มือการปฏิบัติ ทั้งนี้ยังต้องคงไว้ซึ่งการรับรู้ของผู้รับบริการโดยมีการเผยแพร่ข่าวสารแก่
ผู้รับบริการอย่างสม่ําเสมอการนําไปใช้ประโยชน์ ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการให้บริการในหน่วยบริการต่างๆ เช่น หอผู้ป่วยสามัญ หอผู้ป่วยพิเศษ
เป็นต้น