DSpace Repository

อุบัติเหตุและภยันตรายต่าง ๆ ของผู้ป่วยเด็กที่มารับบริการ ในแผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author รุ่งรัตน์ ชวนชาติ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:07:15Z
dc.date.available 2019-03-25T09:07:15Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1596
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพและสาเหตุของผู้ป่วยเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุและภยันตรายที่มารับบริการยังแผนกอุบัติเหตุ- ฉุกเฉิน ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา 2. เพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไขสาเหตุที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุและภยันตรายที่ มารับ บริการยังแผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา วิธีดําเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ บันทึกประวัติผู้ป่วยนอกของผู้ป่วยเด็กที่มารับบริการยัง แผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งแต่เดือน เมษายน 2548 ถึงเดือน สิงหาคม 2548 และเป็นข้อมูลที่ผู้ปกครองยินยอมและสมัครใจในการให้ข้อมูลในการตอบแบบสอบถาม เกี่ยวกับแนวทางป้องกันสาเหตุของผู้ป่วยเด็ก จํานวน 160 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จากประชากร 424 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นแบบบันทึกสถานภาพและสาเหตุของความเจ็บป่วยจากการได้รับ อุบัติเหตุและภยันตราย ซึ่งเป็นแบบบันทึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีข้อมูลเกี่ยวกับ 1) สถานภาพทั่วไปของผู้ป่วย เด็กที่ได้รับอุบัติเหตุและภยันตราย 2) สาเหตุของความเจ็บป่วยจากการได้รับอุบัติเหตุและภยันตราย 3) ความคิดเห็นของผู้ปกครองเกี่ยวกับแนวทางป้องกันสาเหตุอุบัติเหตุและภยันตรายสําหรับเด็ก สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย 1. สาเหตุของความเจ็บป่วยเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุและภยันตราย โดยรวมพบว่าสาเหตุของผู้ป่วยเด็กที่มา รับบริการ มากที่สุด คือ การพลัดตกหกล้ม ชนกระแทก วัตถุหล่นใส่ หรือติดอยู่ระหว่างวัตถุ รองลงมา คือ อุบัติเหตุการจราจรและอุบัติเหตุจากเครื่องมือ เครื่องจักร ของมีคมไม่ร้อน อันดับสามคือ อุบัติเหตุจากสุนัข กัด 2. ความคิดเห็นของผู้ปกครองผู้ป่วยเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุและภยันตรายเกี่ยวกับแนวทางป้องกันสาเหตุของการ เกิดอุบัติเหตุและภยันตราย พบว่าความคิดเห็นมากที่สุด คือ การ ดูแลเด็กอย่าง ใกล้ชิด ข้อเสนอแนะ 1. จากผลการศึกษาพบว่าอุบัติเหตุจากการพลัดตกหกล้ม ชนกระแทก วัตถุหล่นใส่หรือติดอยู่ระหว่างวัตถุเป็น สาเหตุที่เกิดอันดับหนึ่ง ในเด็กวัย 10-14 ปี และเกิดมากในช่วงเวลาเช้า จึงควรมีการวางแผนป้องกันอุบัติเหตุ และให้ผู้เกี่ยวข้องดูแลอย่างใกล้ชิด 2. ควรประสานความร่วมมือกันระหว่างโรงเรียน ครอบครัว ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผน ป้องกันอุบัติเหตุแก่เด็กอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ การนําไปใช้ประโยชน์ เป็นข้อมูลพื้นฐานให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งครอบครัว โรงเรียน สถานพยาบาล และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง นํามาใช้ในการวางแผน เฝ้าระวัง ป้องกัน แก้ไขการเกิดอุบัติเหตุและภยันตรายกับเด็ก เพื่อลด ความเสี่ยงที่เกิดกับร่างกาย การเสียเวลาและค่าใช้จ่ายให้กับครอบครัว ชุมชน และสังคม th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนจากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ผู้ป่วยเด็ก th_TH
dc.subject อุบัติเหตุ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title อุบัติเหตุและภยันตรายต่าง ๆ ของผู้ป่วยเด็กที่มารับบริการ ในแผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.type Research
dc.year 2548


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account