DSpace Repository

ผลของการให้การสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ ต่อความวิตกกังวลของผู้คลอดก่อนเข้ารับการผ่าตัดคลอด

Show simple item record

dc.contributor.author สุภาพร เลิศร่วมพัฒนา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:07:15Z
dc.date.available 2019-03-25T09:07:15Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1595
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาผลของการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์แก่ผู้คลอดต่อความวิตกกังวลของผู้คลอดก่อนเข้ารับการผ่าตัดคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้คลอดที่เข้ารับการผ่าตัดคลอด ตามกําหนดนัด ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา จํานวน 40 ราย และยินยอมเข้าร่วมการวิจัย โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 20 รายและกลุ่มทดลอง 20 ราย จัดให้ทั้งสองกลุ่มมีลักษณะใกล้เคียงกันในเรื่องอายุ ประสบการณ์การผ่าตัดคลอด การฝากครรภ์พิเศษกับแพทย์ ในกลุ่มทดลองได้รับการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์จากผู้วิจัย โดยผู้วิจัยจะเข้าไปสร้างสัมพันธภาพกับผู้คลอดที่รอเข้ารับการผ่าตัดคลอดที่หอผู้ป่วยและที่ห้องรอผ่าตัด มีการประเมินความพร้อม ด้านร่างกายและจิตใจ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัดคลอด เปิดโอกาสให้ผู้คลอดแสดงความรู้สึก ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลในรูปแบบเดิมของโรงพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความวิตกกังวลขณะเผชิญของสปิลเบอร์เกอร์ (Spielberger, 1983) ชื่อว่า STAI Form Y วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้คลอดระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติที ( t-test) ผลการวิจัย ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้คลอดก่อนเข้ารับการผ่าตัดคลอดทั้งก่อนและหลังการทดลอง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กล่าวคือกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มมีความวิตกกังวลก่อนการ ทดลองอยู่ในระดับต่ํา จึงไม่พบการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ อารมณ์และพฤติกรรม แต่ในกลุ่มควบคุมค่าเฉลี่ย คะแนนความวิตกกังวลของผู้คลอดก่อนเข้ารับการผ่าตัดคลอดหลังการทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้คลอดก่อนเข้ารับการผ่าตัดคลอดหลังการทดลองระหว่าง กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะ 1. จากผลการวิจัยพบว่าการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์แก่ผู้คลอดสามารถลดความวิตกกังวลก่อนเข้ารับ การผ่าตัดได้ แม่จะไม่มากเทื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ แต่ ในการปฏิบัติการพยาบาล ทีมบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็ควรให้การสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์แก่ผู้คลอดก่อนวันนัด ผ่าตัดคลอดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งบุคลากรในหน่วยบริการที่เกี่ยวข้องก็ควรได้รับการอบรมพัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมสําหรับการผ่าตัดคลอดด้วยเช่นกัน 2. ควรศึกษารูปแบบการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์แก่ผู้คลอดในรายที่นัดมาโรงพยาบาลวันที่ทําผ่าตัด คลอด การนําไปใช้ประโยชน์ ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติของพยาบาลห้องผ่าตัดเพื่อเตรียมผู้คลอดให้มีความพร้อมทั้งทางร่ายกายและจิตใจก่อนเข้ารับการผ่าตัดคลอด th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การคลอด th_TH
dc.subject การผ่าตัดคลอด th_TH
dc.title ผลของการให้การสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ ต่อความวิตกกังวลของผู้คลอดก่อนเข้ารับการผ่าตัดคลอด th_TH
dc.title.alternative The effect of informational and emotional support on the anxiety level in patients before Cesarean Section en
dc.type Research th_TH
dc.year 2548
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to examine the effect of informational and emotional support on the anxiety level in patients before Cesarean Section. The sample consisted of forty obstetrics patients waiting for Cesarean Section procedure at Health Science Center, Burapha University. The samples were divided into experimental and control groups. Subjects in both groups were matched according to the age, experience of operation and attention of obstetricians. Subjects in experimental group were received informational and emotional support at one hour prior to surgery by perioperative nurse. The control group received routine pre-operative care: Questionnaires about anxiety were conducted to collect data in both experimental group and control group. Mean, Standard deviation, and t-test were performed to analyze data. The result of this study revealed that the average anxiety score after experiment decreased but was not significantly different between the experimental group at. 05 level. The average anxiety score in the control group in creased significantly at .05 level after experiment en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account