DSpace Repository

การประดิษฐ์เฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูป

Show simple item record

dc.contributor.author พิราภรณ์ บุตรหนัน
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:07:15Z
dc.date.available 2019-03-25T09:07:15Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1593
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ 1. พัฒนาเฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปประดิษฐ์เอง 2. เปรียบเทียบประสิทธิภาพของเฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปประดิษฐ์เองกับเฝือกอ่อน ดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปของบริษัท วิธีดําเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปประดิษฐ์เองกับเฝือกอ่อน ดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปของบริษัทที่ทดลองในห้องปฏิบัติการ 5 ด้าน ได้แก่ ระยะเวลาในการแข็งตัว ของเฝือกอ่อนดามกระดูก การสูญเสียเนื้อปูนของเฝือกอ่อนดามกระดูกหลังชุบน้ํา น้ําหนักของเฝือก อ่อนดามกระดูกหลังแข็งตัว ความร้อนที่เกิดขึ้นของเฝือกอ่อนดามกระดูกหลังชุบน้ํา และการรับแรง กดของเฝือกอ่อนดามกระดูกหลังแข็งตัว ผู้วิจัยวางแผนประดิษฐ์เฝือกอ่อนโดยศึกษาความยาวและ จํานวนชั้นของเฝือกอ่อน และเลือกใช้วัสดุทําเฝือกจากฟองน้ําแบบแผ่นชนิดบาง ผ้าสําลีสีขาวชนิด บาง และเฝือกม้วน นําชิ้นทดสอบไปทดลองในห้องปฏิบัติการเพื่อหาค่าการรับแรงกด ด้วยวิธีทดสอบ การแอ่นแบบกด 3 จุด (three-Point Bending Method) ด้วยเครื่องทดสอบคุณภาพ (Universal Testing Machine) หลังจากที่ทดสอบจนเฝือกอ่อนมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับเฝือกอ่อนของบริษัท แล้วได้นําเฝือกมาทดลองใส่ในอาสาสมัครสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่อยู่ในระหว่างเจ็บป่วยจํานวน 10 ราย โดยศึกษาอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับผิวหนังขณะใส่เฝือกอ่อนดามกระดูก และความ พึงพอใจของผู้ใส่เฝือกอ่อนดามกระดูก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานและ T- test ผลการวิจัย 1. ระยะเวลาในการแข็งตัวของเฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปประดิษฐ์เองน้อยกว่า จึงเป็นสิ่งที่ดีต่อผู้ป่วย เนื่องจากการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยขณะที่เฝือกปูนกําลังแข็งตัว จะทําให้เฝือก เสียความแข็งแรงไปได้ถึงร้อยละ 77 2. เฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปประดิษฐ์เองไม่มีการเย็บให้เฝือกอยู่ในตําแหน่ง เดียวกันตามแนวความยาวเช่นเดียวกับของบริษัท จึงทําให้เนื้อปูนปลาสเตอร์ที่เกาะอยู่กับแถบผ้า มีโอกาสหลุดร่วงออกมามากกว่าเนื้อปูนปลาสเตอร์ของเฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปของบริษัท 3. เฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปประดิษฐ์เองมีน้ําหนักเบากว่าของบริษัท ผู้ป่วยจึง ไม่ต้องแบกรับน้ําหนักของเฝือกอ่อนดามกระดูกในการรักษาภาวะกระดูกหักหรือข้อเคลื่อนมากเกิน ความจําเป็น 4. เนื่องจากฟองน้ําที่นํามาประดิษฐ์เป็นปลอกหุ้มมีความหนาและความหนาแน่นน้อยกว่า จึงมีความสามารถในการเก็บกักความร้อนที่เกิดขึ้นได้น้อย อุณหภูมิที่วัดได้ในเฝือกอ่อนดามกระดูก ชนิดสําเร็จรูปประดิษฐ์เองจึงสูงว่าเฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปของบริษัท 5. การรับแรงกดของเฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปประดิษฐ์เองหลังแข็งตัวน้อยกว่า แรงกดของบริษัท ประมาณ 16.54 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็เป็นแรงที่เพียงพอสําหรับการใช้งานใน ชีวิตประจําวันและสอดคล้องกับข้อมูลที่แพทย์ให้การตอบรับจากการใช้เฝือกอ่อนดามกระดูกชนิด สําเร็จรูปของบริษัทว่ามีความแข็งแรงเกินไป 6. อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับผิวหนังของกลุ่มตัวอย่างขณะใส่เฝือกอ่อนดามกระดูกชนิด สําเร็จรูปประดิษฐ์เองมากกว่าของบริษัท เนื่องจากความหนาและความหนาแน่นของเนื้อฟองน้ําน้อย กว่า จึงทําให้เฝือกกดลงบนผิวหนังโดยตรง จนมีความผิดปกติเกิดขึ้นที่ผิวหนังได้มากกว่า 7. ความพึงพอใจในภาพรวมของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการใส่เฝือกอ่อนดามกระดูกชนิด สําเร็จรูปประดิษฐ์เองน้อยกว่าของบริษัท เนื่องจากอาสาสมัครส่วนใหญ่มีอาการข้างเคียงจากการใส่ เฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปประดิษฐ์เองมากกว่าอาการข้างเคียงจากการใส่เฝือกอ่อนดาม กระดูกชนิดสําเร็จรูปของบริษัท จึงให้คะแนนความพึงพอใจน้อยกว่า ซึ่งโดยรวมแล้วประสิทธิภาพของ เฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปประดิษฐ์เองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติในทุก ๆ ด้าน แต่เนื่องจากมีต้นทุนในการผลิตต่ํากว่ามาก จึงสมควรนําไปใช้แทนการใช้เฝือกอ่อนดามกระดูก ชนิดสําเร็จรูปของบริษัท ข้อเสนอแนะ 1. ในการวิจัยครั้งนี้พบว่าอาสาสมัครมีอาการข้างเคียงจากการที่ผิวหนังขณะที่ใส่เฝือก เนื่องจาก อาสาสมัครไม่ได้รับการบาดเจ็บจึงสามารถเคลื่อนไหวอวัยวะที่ใส่เฝือกอ่อนได้ทําให้ผิวหนังเสียดสีกับ เฝือกอ่อนจนเกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง หากนําหลักการในการประดิษฐ์เฝือกอ่อนมาใช้จริง ควร พัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นการเพิ่มความหนาของฟองน้ําแบบแผ่นชนิดบางเพื่อช่วยเพิ่ม การเก็บกักความร้อนได้ดีขึ้น ลดอาการข้างเคียงที่เกิดกับผิวหนัง ปรับรูปแบบการเย็บเพื่อยึดแผ่น เฝือกให้อยู่คงที่ป้องกันการหลุดร่วง สูญเสียเนื้อปูน 2. ควรศึกษาประสิทธิภาพการใช้เฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปประดิษฐ์เองกับผู้ป่วย ที่จําเป็นต้องใส่เฝือกอ่อนดามกระดูกในขาหรือแขน เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้งานเฝือกอ่อน อย่างแท้จริง การนําไปใช้ประโยชน์ เฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปประดิษฐ์เองนี้ ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้แทนเฝือกอ่อนดาม กระดูกชนิดสําเร็จรูปที่สั่งซื้อจากบริษัท ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ป่วย และประหยัด งบประมาณของโรงพยาบาลในการสั่งซื้อวัสดุทางการแพทย์ ได้มากกว่า 50 % โดยที่ยังคงประสิทธิภาพในการรักษาพยาบาลใกล้เคียงกับเฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปที่สั่งซื้อจากบริษัทสามารถประดิษฐ์ใช้ได้เองในโรงพยาบาลทั่วไป หรือปรับปรุงรูปแบบให้เหมาะสมต่อความต้องการของผู้ใช้ เช่น ผู้ป่วยเด็ก เป็นต้น th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject กระดูก th_TH
dc.subject เฝือกอ่อน th_TH
dc.title การประดิษฐ์เฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูป th_TH
dc.title.alternative Home-made Slab for Immobilization en
dc.type งานวิจัย
dc.year 2549
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to study the effectiveness of the Home-made Slab for immobilization when compare with Ready Slab in laboratory 5 dimensions: time of slab to solidity, loss of gypsum after to dip in water, weight of slab after stiff, heat of slab after to dip in water and strength to against of slab after stiff. In volunteer 2 dimensions: side effect of skin at time to contact with slab and satisfaction of customer to put on slab. In 10 office at University Hospital, Health Science Center, Burapha University by Purposive sampling. Through to trial put on slab 2 type. One of 48 hours through to put out at time to trial. The data were analyzed by using mean, percentage standard deviation and T-test. The results of this study were found: 1. Home-made Slab had less time of solidify, weight after stiff, strength to against and customer's satisfaction than Ready Slab no statistically significance difference at .05 level. 2. Home-made Slab had more loss of gypsum after to dip water, heat after to dip in water and side effect of skin at time to contact than Ready Slab no statistically significance difference at .05 level. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account