DSpace Repository

การศึกษาความสัมพันธ์ด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเสียงดังที่มีผลต่อระดับการได้ยินของผู้ประกอบอาชีพในสถานประกอบการดิสโก้เทค ในเขตจังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author อนามัย ธีรวิโรจน์
dc.contributor.author ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
dc.contributor.author จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:45:53Z
dc.date.available 2019-03-25T08:45:53Z
dc.date.issued 2541
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/157
dc.description.abstract กรวิจัยเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเสียงดังที่มีผลต่อระดับการได้ยินของผู้ประกอบอาชีพในสถานประกอบการดิสโก้เทค ในเขตจังหวัดชลบุรี เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ย้อนหลัง (Retrospective Study) เพื่อหาปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ เพศ ระยะเวลา ลักษณะงานที่สัมผัสเสียงต่อวัน ประวัติการเจ็บป่วย และระดับความดังของเสียง และหาความสัมพันธ์ของปัจจัยดังกล่าว ที่มีผลต่อระดับการได้ยินของผู้ประกอบอาชีพในสถานประกอบการดิสโก้เทค ในเขตจังหวัดชลบุรี ซึ่งศึกษาในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่ทำงานในสถานประกอบการดังกล่าว ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง อำเภอศรีราชา และเทศบาลเมืองพัทยา จำนวน 6 แห่ง และทำการศึกษา 3 ขั้นตอน คือ การสัมภาษณ์ประวัติ การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน และการตรวจระดับความดังของเสียงโดยมีกลุ่มศึกษา จำนวน 152 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 40 คน ผลการตรวจวัดสมรรถภาพได้ยินในผู้ประกอบอาชีพในสถานประกอบดิสโก้เทคในช่วงความถี่ 500-2000 Hz พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับหูตึงเล็กน้อย ซึ่งจะพบในหูข้างซ้ายมากกว่าหูข้างขวา โดยมีร้อยละ 54.7 ตามลำดับ และ 49.5 ตามลำดับ ส่วนในช่วงความถี่ 4000-8000 Hz ส่วนใหญ่จะมีหูปกติ ร้อยละ 77.1 เมื่อตรวจวัดสมรรถภาพการได้ยิน ณ ความถี่ต่าง ๆ ที่ 250, 500, 1000, 2000, 4000, 6000 และ 8000 Hz ทั้งหูซ้ายและหูขวา พบว่าการได้ยินของหูขวาจะดีกว่าหูซ่้าย และการสูญเสียการได้ยินส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงความถี่ 2000-6000 Hz เมื่อเปรียบเทียบระดับความดังที่เริ่มได้ยินในทุกความถี่ทั้งหูซ้ายและหูขวา พบว่ากลุ่มศึกษาจะมีระดับสูงกว่าในกลุ่มเปรียบเทียบ เมื่อทำการเปรียบเทียบผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยินที่ความถี่ 500-2000 Hz พบว่ากลุ่มเปรียบเทียบปกติทั้งหูซ้ายและหูขวา ส่วนกลุ่มศึกษา พบว่าหูซ้าย มีเพียงร้อยละ 5.9 เท่านั้นที่ปกติ ส่วนหูขวามีเพียงร้อยละ 23.0 ที่ปกติ และที่ความถี่ 4000-8000 Hz นั้นทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน ณ ความถี่ต่าง ๆ ที่ 250, 500, 1000, 2000, 4000, 6000, และ 8000 Hz พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05 สำหรับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ ระยะเวลาการทำงาน ลักษณะงานที่สัมผัสเสียง ระยะเวลาที่สัมผัสเสียงต่อวัน ประวัติการเจ็บป่วยนั้น พบว่าทั้งสองกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนเพศชายและเพศหญิง ที่ความถี่ต่าง ๆ ของหูข้างซ้ายไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้นที่ความถี่ 4000 และ 6000 Hz ที่แตกต่างกัน ส่วนหูข้างขวานั้นทั้งสองเพศไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้นความถี่ 4000, 6000, และ 8000 Hz ตามลำดับที่มีความแตกต่างกัน ส่วนผลการตรวจวัดระดับเสียงดังภายในสถานประกอบการดิสโก้เทคทั้ง 6 แห่ง มีระดับเสียงอยู่ในช่วง 93.0-111.4 dB(A) th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนจากเงินงบประมาณแผ่นดิน หมวดเงินอุดหนุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การได้ยิน - - วิจัย th_TH
dc.subject ดิสโกเทค - - ชลบุรี - - วิจัย th_TH
dc.subject มลพิษทางเสียง - - ชลบุรี - - วิจัย th_TH
dc.subject สถานเริงรมย์ - - ชลบุรี - - วิจัย th_TH
dc.subject เสียง - - วิจัย th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การศึกษาความสัมพันธ์ด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเสียงดังที่มีผลต่อระดับการได้ยินของผู้ประกอบอาชีพในสถานประกอบการดิสโก้เทค ในเขตจังหวัดชลบุรี th_TH
dc.title.alternative Study on factors related to hearing efficiency of discotheque workers in Chonburi Province en
dc.type Research
dc.author.email anamai@buu.ac.th
dc.author.email srirat@buu.ac.th
dc.year 2541
dc.description.abstractalternative The study is focus on factors related to hearing efficiency of discotheque workers in Chonburi Province. A retrospective study is desigend to collect the data. Six discotheque buildings and workers in Muang district, Sriracha, and Pattaya are conducted the sound pressure level measurement, interview and audiometry. There are 192 workers participated in their study. They are devided into case and compare group. The workers in the groups consist of 152 and 40 respectively The results of the study revealed that most of the workers had mild hearing loss in their right and left ears average at 54.7% and 49.5%. The duration of frequency at 4000-8000 Hz showed that 77% of cases had normal hearing. The audiometry measurament of frequency at 250, 500, 1000, 2000, 4000, 6000, and 8000 Hz, showed that the capacity of the right ears was better than the left ears. Most of the workers who had hearing loss showed the greates diference had normal ear at 2000-6000 Hz frequency range. The comparative of the audiometry result at 500-2000 Hz revealed the compare group that the normal left ear of the case group was 5.9% and the normal right ear of the compare group was 23.0% However, their was no significant difference of the hearing loss shown at 8000 Hz. However, the measurement of the frequency at 250, 500,1000, 2000, 4000, 6000 and 8000 Hz had shown the significant difference. The correlation of age, sex duration, and characteristic of noise exposure etc., did not show a significant difference of hearing. The leq values ranged from 93.0-111-4 dB(A) en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account