DSpace Repository

การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:07:13Z
dc.date.available 2019-03-25T09:07:13Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1569
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของบัณฑิตและนิสิตที่มีต่อหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชาบัณฑิตและผู้ที่เกี่ยวข้องกับบัณฑิตที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรที่มีต่อหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ จำนวน 7 คน 2) นิสิตที่กำลังศึกษาในหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ จำนวน 34 คน 3) ผู้บังคับบัญชาบัณฑิตและผู้ที่เกี่ยวข้องกับบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ จำนวน 21 คน และ 4) คณะกรรมการบริหารหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของบัณฑิตและนิสิตที่มีต่อหลักสูตรที่มีต่อหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ในภาพรวมเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก (u= 4.41) 2. ความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชาบัณฑิตและผู้ที่เกี่ยวข้องกับบัณฑิตที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของบัรฑิตที่สำเร็จการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ในภาพรวมเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (u = 4.48) 3. ความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรที่มีต่อหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์เห็นว่า ปรัชญา วัตถุประสงค์ และเนื้อหารายวิชาของหลักสูตรมีความชัดเจน เหมาะสม และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง แต่ควรปรับลดจำนวนหน่วยกิตของหมวดวิชาพื้นฐานทางการศึกษา ควรมีการบรรจุรายวิชาเกี่ยวกับนวัตกรรมหรือวิธีการสอนแนวใหม่ทางด้านคณิตสาสตร์ศึกษา ควรมีการจัดหาเอกสาร ตำรส หนังสือ และสื่อต่าง ๆ ทางการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น และในภาพรวมของคุณภาพบัณฑิตส่วนใหญ่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนในการทำวิจัยจาก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2558
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คณิตศาสตร์ - - การสอน th_TH
dc.subject หลักสูตร - - การประเมิน th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.title การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title.alternative An assessment of the master of education program in mathematics teaching, faculty of education Burapha en
dc.type งานวิจัย
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative This research study was conducted with the aims at 1) examining graduates and students' opinions towards the Master's of Education (M.Ed.) program in mathematics teaching, 2) studying opinions of supervisors and related personnel to the performance of graduates from the program, and 3) investigating opinions of the program administrative committee for the program. The population of the study were categorized into four groups i.e. 1) seven graduates from the M.Ed. program in mathematics teaching, 2) thirty-four current students of the program, 3) twenty one of the program graduates' supervisors and related personnel, and 4) five members of the program committee. The research instruments were questionnaires and construct interviews. The research results found that: 1. The graduates and the students ranked the appropriateness of the M.Ed. program in mathematics teaching curriculum in high level (u = 4.41). 2.The graduates' supervisors evaluated the program graduates' performance in high level (u = 4.48) and, 3. The five committee members of the program expressed that the philosophy of the program, the program objectives and structure, and the program courses were of appropriateness and practical application. However, the number of credits of the educational foundation courses should be reduced. There should be new courses in relation to innovations in pedagogies and new mathematics teaching methodologies. Also, more and up-to-date materials and media used for mathematics teaching should be provided. The overall quality of the graduates was satisfying, which met the program objectives en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account