dc.contributor.author | จารุนันท์ ประทุมยศ | th |
dc.contributor.author | ณิษา สิรนนท์ธนา | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:07:12Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:07:12Z | |
dc.date.issued | 2556 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1558 | |
dc.description.abstract | กุ้งการ์ตูน (Hymenocerapicta, Dana 1852) เป็นกุ้งทะเลสวยงามที่มีมูลค่าในการซื้อขายสูงการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการกรดไขมันของลูกกุ้งการ์ตูนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การเพาะเลี้ยงลูกกุ้งการ์ตูนประสบปัญหาการรอดตายต่ำ ความแตกต่างระหว่างกรดไขมันในกุ้งการ์ตูนจากธรรมชาติ (ไข่กุ้งการ์ตูน ลูกกุ้งการ์ตูนแรกฟักและกุ้งการ์ตูนวัยรุ่น) และลูกกุ้งการ์ตูนจากการเพาะเลี้ยงในระยะพัฒนาต่างๆ สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงกุ้งการ์ตูนโดยวิธีการเสริมอาหารในการอนุบาลลูกกุ้งการ์ตูนครั้งนี้ให้โรติเฟอร์และอาร์ทีเมียแรกฟักเป็นอาหารลูกกุ้งการ์ตูนและใส่เตตร้าเซลมิสคีโตเซอรอสและไอโซไคลซิสอัตราส่วน 1:0.5:0.5 ลงในถังอนุบาลเพื่อควบคุมคุณภาพน้ำและเป็นอาหารของแพลงก์ตอนสัตว์เหล่านี้ ผลการทดลองพบว่าปริมาณไขมันในไข่กุ้งและลูกกุ้งแรกฟักมีมากที่สุดและในกุ้งการ์ตูนวัยรุ่นมีน้อยที่สุด ซึ่งปริมาณไขมันในลูกกุ้งการ์ตูนจาการเพาะเลี้ยงลดลงตลอดระยะพัฒนาการเจริญเติบโตแสดงว่าไขมันถูกใช้เป็นแหล่งพลังงานเพื่อการเจริญเติบโต กุ้งการ์ตูนจากธรรมชาติมีกรดไขมันอิ่มตัว (SFA) มากที่สุด รองลงมาคือกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFA) และกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFA) ซึ่งตรงกันข้ามกับลูกกุ้งการ์ตูนจากการเพาะเลี้ยงที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFA) มากที่สุดรองลงมาคือกรดไขมันอิ่มตัว (SFA) และกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFA) ความแตกต่างของกรดไขมันในกุ้งการ์ตูนจากธรรมชาติและกุ้งการ์ตูนจากการเพาะเลี้ยงแสดงถึงความไม่เหมาะสมของกรดไขมันในอาหารลูกกุ้งการ์ตูนในการศึกษาครั้งนี้กุ้งการ์ตูนจากธรรมชาติและกุ้งการ์ตูนจากการเพาะเลี้ยงมีกรดไขมันปาล์มิติค (C16:0) กรดไขมันสเตียริค(C18:0) กรดไขมันปาล์มิโตลิอิค(C16:1 n-7) และกรดไขมันโอลิอิค(C18:1 n-9) เป็นองค์ประกอบกรดไขมันหลักแต่ลูกกุ้งการ์ตูนจากการเพาะเลี้ยงมีกรดไขมันไมริสติค(C14:0) กรดไขมันปาล์มิติค(C16:0) และกรดไขมันปาล์มิโตลอิค(C16:1 n7) ลดลงตลอดระยะพัฒนาการเจริญเติบโตแสดงถึงความสำคัญในการเป็นแหล่งพลังงานของกรดไขมันสองชนิดนี้มากกว่ากรดไขมันสเตียริค(C18:0) และ กรดไขมันโอลิอิค(C18:1 n-9) นอกจากนี้กุ้งการ์ตูนวัยรุ่นจากธรรมชาติยังมีกรดไขมันอีพีเอเป็นองค์ประกอบสูงถึง 19 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ลูกกุ้งการ์ตูนจากการเพาะเลี้ยงมีกรดไขมันอีพีเอ (C20:5n-3) ต่ำแสดงถึงความสำคัญของกรดไขมันชนิดนี้ในการเป็นองค์ประกอบเซลล์เนื้อเยื่อในการเจริญเติบโตและลูกกุ้งการ์ตูนจากการเพาะเลี้ยงสะสมกรดไขมันอีพีเอ (C20:5n-3) ไม่เพียงพอต่อความต้องการลูกกุ้งการ์ตูนแรกเกิดและกุ้งการ์ตูนวัยรุ่นมีกรดไขมันดีเอชเอ (C22:6n-3) ประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ลูกกุ้งการ์ตูนจากการเพาะเลี้ยงระยะลงเกาะมีการสะสมกรดไขมันดีเอชเอ (C22:6n-3) ปริมาณสูงถึง 17 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นลูกกุ้งการ์ตูนจากการเพาะเลี้ยงมีเกรดไขมันดีเอชเอมากเพียงพอสำหรับในการสร้างเซ,ล์เนื้อเยื่อเพื่อการเจริญเติบโต ในกุ้งการ์ตูนธรรมชาติไม่พบกรดไขมันเออาร์เอ (C20:4n-6) แต่ในลูกกุ้งการ์ตูนจาการเพาะเลี้ยงพบกรดไขมันชนิดนี้ในปริมาณเล็กน้อยอาจเป็นไปได้ว่ากุ้งการ์ตูนต้องการกรดไขมันกลุ่มโอเมกา 6 น้อย กุ้งการ์ตูนธรรมชาติมีปริมาณกรดไขมันลิโนลินิค(C18:3n-3) น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์แต่ไม่พบกรดไขมันชนิดนี้ในลูกกุ้งการ์ตูนจากการเพาะเลี้ยง ประกอบกับกรดไขมันอีพีเอมีปริมาณลดลงและยังพบกรดไขมันตัวกลางของกระบวนการสังเคราะห์กรดไขมันโซ่ยาวกลุ่มโอเมกา 3 แสดงว่ากรดไขมันลิโนลินิค(C18:3n-3) อาจถูกใช้เป็นแหล่งพลังงานและสังเคราะห์กรดไขมันอีพีเอ (C18:3n-3) กุ้งการ์ตูนวัยรุ่นมีอัตราส่วนกรดไขมันอีพีเอ (C20:5n-3)/กรดไขมันดีเอชเอ (C22:6n-3) ปริมาณ 0.3 และมีอัตราส่วนกดไขมันกลุ่มโอเมกา 3/โอเมกา 6 ประมาณ 44 แสดงถึงความสำคัญของกรดไขมันกลุ่มโอเมกา 3 ต่อการรอดตายและการเจริญเติบโตของลูกกุ้งการ์ตูน จากการศึกษานี้สรุปว่าการอนุบาลลูกกุ้งการ์ตูนด้วยวิธีการใส่สาหร่ายผสม 3 ชนิดในถังเลี้ยงนั้นลูกกุ้งการ์ตูนสามรถพัฒนาการคว่ำตัวลงเกาะได้แต่อัตราส่วนแพลงก์ตอนพืชที่ใช้ในการทดลองนี้ไม่เหมาะสมกับความต้องการกรดไขมันไม่อิ่มตัวกลุ่มโอเมกา 3 ของลูกกุ้งการ์ตูนโดยเฉพาะกรดไขมันอีพีเอ ดังนั้น การเสริมคุณค่าอาหารในอาหารลูกกุ้งการ์ตูนควรเลือกใช้แพลงก์ตอนพืชที่มีกรดไขมันอีพีเอสูงและปรับอัตราส่วนแพลงก์ตอนพืชที่ใช้ให้มีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับกรดไขมันในกุ้งธรรมชาติหรืออาจเสริมกรดไขมันอีพีเอในอาร์ทีเมียโดยตรง | th_TH |
dc.description.sponsorship | สนับสนุนโดย สำนักบริหารโครงการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | กุ้งการ์ตูน - - การเจริญเติบโต | th_TH |
dc.subject | กุ้งการ์ตูน - - การเพาะเลี้ยง | th_TH |
dc.subject | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา | th_TH |
dc.title | การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบกรดไขมันตลอดระยะพัฒนาการเจริญเติบโตของลูกกุ้งการ์ตูน (Hymenocera picta, Dana 1852) เปรียบเทียบกับไข่กุ้งการ์ตูน ลูกกุ้งการ์ตูนแรกฟักและกุ้งการ์ตูนวัยรุ่นจากธรรมชาติ | th_TH |
dc.title.alternative | Characterisation of the changing fatty acids composition across the larval stages of Harlequin shrimp (Hymenocera picta, Dana 1852) using eggs, wild newly hatched and juvenile shrimp as standards | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2556 | |
dc.description.abstractalternative | The colourful harlequin shrimp, Hymenocerapicta, Dana 1852, is a valuable and attractive marine ornamental species. Low survival, however, remains a bottleneck to their sustainable and successful culture. Little, for example, is known regarding their fatty acid requirements. By Determining the fatty acid profiles and the requirements of different stages of wild shrimp (i.e. in eggs, newly hatched and juvenile shrimp) and then by comparing those to the fatty acid profiles in larval cultured shrimp could facilitate the development of appropriate enriched diets and culture techniques. The fatty acid composition in the wild harlequin shrimp and 13 larval stages (12 zoeal and the setting stage) of cultured H. picta were compared. In the present study, rotifers and newly hatched Artemia were used as feed items. In addition, a 1:0.5:0.5 mix of Tetraselmis sp., Chaetoceroscalcitrans and Isochrysisgallbana was added to the shrimp rearing tanks to sustain the zooplankton and to improve water quality. Of the wild shrimp samples, the eggs and the newly hatched stage had the highest lipid content whilst the juvenile shrimp had the lowest. The lipid content of the cultured larval shrimp was observed to decrease as the shrimp developed indicating that lipid was used as an energy source for growth. The rank order of the fatty acids composition of the wild shrimp was saturated fatty acids >monounsaturated fatty acid >polyunsaturated fatty acids, whilst the rank order of that determined in the cultured shrimp was monounsaturated fatty acids >saturated fatty acids >polyunsaturated fatty acids. This observed difference in the fatty acid composition between the two sample groups of shrimp indicated an imbalance in the fatty acid provided in the feed items that were used in this study. Palmitic acid (C16:0), stearic acid (C18:0), palmitoleic acid (C16:1n-7) and oleic acid (C18:1n-9) were the main fatty acids found in both collections of shrimp. The myristic acid (C14:0) palmitic acid (C16:0) and palmitoleic acid (C16:1n-7) content of the cultured shrimp, however, was observed to drop with larval development signifying that these fatty acids were catabolized as an energy source at a higher rate than stearic acid (C18:0) and oleic acid (C18:1n-9). In addition, the wild juvenile shrimp were found to contain up to 19% eicosapantaenoic acid (EPA) (C20:5n-3), an essential component in the formation of cell membranes. The EPA content of the cultured shrimp, by comparison, was only 4% indicating an insufficient accumulation of EPA. Both the newly hatched and juvenile wild shrimp had approximately 6% docosahexaenoic acid (DHA) (C22:6n-3), whilst the cultured shrimp had up to 17% DHA suggesting they had sufficient levels of growth. The wild shrimp were found no detectable arachidonic acid, ARA (C20:4n-6) whilst the ARA was found in small amounts in the cultured shrimp samples, possibly the shrimp favour less n-6 HUFA. The wild shrimp were also found to contain less than 1% linolenic acid (LNA) (C18:3n-3), however, this fatty acid was not found in the cultures larval shrimp. In the later developmental stages, the intermediate substrates for n-3 fatty acid biosynthesis C18:4n-3, C20:3n-3 and C20:4n-3 were found in association with decreased levels of EPA. This latter finding suggests that LNA was probably used as an energy source and as a substrate for fatty acid biosynthesis. The ratios of DHA:EPA and that of n-3 PUFA:n-6 PUFA in wild juvenile shrimp were determined to be 0.3 and 44 respectively, highlight the importance of n-3 HUFA for good growth and survival of harlequin shrimp. These findings suggest that the low radio of DHA:EPA and the high radio of n-3 PUFA:n-6 PUFA in the shrimp diet should be considered and addressed as a strategic component of a progressive programmer of culture practice. From this study, it can be concluded that the harlequin shrimp cultured in green water allowed the larvae to develop to the post-larval but the composition of phytoplankton that was used did meet the n-3 PUFA requirements of the harlequin shrimp, most notably EPA. Enrichment of the shrimp diet through the addition of commercial EPA source into the diet or an appropriate mix of EPA-rich phytoplankton species, so that it closely mirrors the n-3 PUFA of wild shrimp, should be considered | en |
Files | Size | Format | View |
---|---|---|---|
There are no files associated with this item. |