Abstract:
กุ้งการ์ตูน (Hymenocerapicta, Dana 1852) เป็นกุ้งทะเลสวยงามที่มีมูลค่าในการซื้อขายสูงการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการกรดไขมันของลูกกุ้งการ์ตูนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การเพาะเลี้ยงลูกกุ้งการ์ตูนประสบปัญหาการรอดตายต่ำ ความแตกต่างระหว่างกรดไขมันในกุ้งการ์ตูนจากธรรมชาติ (ไข่กุ้งการ์ตูน ลูกกุ้งการ์ตูนแรกฟักและกุ้งการ์ตูนวัยรุ่น) และลูกกุ้งการ์ตูนจากการเพาะเลี้ยงในระยะพัฒนาต่างๆ สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงกุ้งการ์ตูนโดยวิธีการเสริมอาหารในการอนุบาลลูกกุ้งการ์ตูนครั้งนี้ให้โรติเฟอร์และอาร์ทีเมียแรกฟักเป็นอาหารลูกกุ้งการ์ตูนและใส่เตตร้าเซลมิสคีโตเซอรอสและไอโซไคลซิสอัตราส่วน 1:0.5:0.5 ลงในถังอนุบาลเพื่อควบคุมคุณภาพน้ำและเป็นอาหารของแพลงก์ตอนสัตว์เหล่านี้
ผลการทดลองพบว่าปริมาณไขมันในไข่กุ้งและลูกกุ้งแรกฟักมีมากที่สุดและในกุ้งการ์ตูนวัยรุ่นมีน้อยที่สุด ซึ่งปริมาณไขมันในลูกกุ้งการ์ตูนจาการเพาะเลี้ยงลดลงตลอดระยะพัฒนาการเจริญเติบโตแสดงว่าไขมันถูกใช้เป็นแหล่งพลังงานเพื่อการเจริญเติบโต กุ้งการ์ตูนจากธรรมชาติมีกรดไขมันอิ่มตัว (SFA) มากที่สุด รองลงมาคือกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFA) และกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFA) ซึ่งตรงกันข้ามกับลูกกุ้งการ์ตูนจากการเพาะเลี้ยงที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFA) มากที่สุดรองลงมาคือกรดไขมันอิ่มตัว (SFA) และกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFA) ความแตกต่างของกรดไขมันในกุ้งการ์ตูนจากธรรมชาติและกุ้งการ์ตูนจากการเพาะเลี้ยงแสดงถึงความไม่เหมาะสมของกรดไขมันในอาหารลูกกุ้งการ์ตูนในการศึกษาครั้งนี้กุ้งการ์ตูนจากธรรมชาติและกุ้งการ์ตูนจากการเพาะเลี้ยงมีกรดไขมันปาล์มิติค (C16:0) กรดไขมันสเตียริค(C18:0) กรดไขมันปาล์มิโตลิอิค(C16:1 n-7) และกรดไขมันโอลิอิค(C18:1 n-9) เป็นองค์ประกอบกรดไขมันหลักแต่ลูกกุ้งการ์ตูนจากการเพาะเลี้ยงมีกรดไขมันไมริสติค(C14:0) กรดไขมันปาล์มิติค(C16:0) และกรดไขมันปาล์มิโตลอิค(C16:1 n7) ลดลงตลอดระยะพัฒนาการเจริญเติบโตแสดงถึงความสำคัญในการเป็นแหล่งพลังงานของกรดไขมันสองชนิดนี้มากกว่ากรดไขมันสเตียริค(C18:0) และ กรดไขมันโอลิอิค(C18:1 n-9) นอกจากนี้กุ้งการ์ตูนวัยรุ่นจากธรรมชาติยังมีกรดไขมันอีพีเอเป็นองค์ประกอบสูงถึง 19 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ลูกกุ้งการ์ตูนจากการเพาะเลี้ยงมีกรดไขมันอีพีเอ (C20:5n-3) ต่ำแสดงถึงความสำคัญของกรดไขมันชนิดนี้ในการเป็นองค์ประกอบเซลล์เนื้อเยื่อในการเจริญเติบโตและลูกกุ้งการ์ตูนจากการเพาะเลี้ยงสะสมกรดไขมันอีพีเอ (C20:5n-3) ไม่เพียงพอต่อความต้องการลูกกุ้งการ์ตูนแรกเกิดและกุ้งการ์ตูนวัยรุ่นมีกรดไขมันดีเอชเอ (C22:6n-3) ประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ลูกกุ้งการ์ตูนจากการเพาะเลี้ยงระยะลงเกาะมีการสะสมกรดไขมันดีเอชเอ (C22:6n-3) ปริมาณสูงถึง 17 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นลูกกุ้งการ์ตูนจากการเพาะเลี้ยงมีเกรดไขมันดีเอชเอมากเพียงพอสำหรับในการสร้างเซ,ล์เนื้อเยื่อเพื่อการเจริญเติบโต ในกุ้งการ์ตูนธรรมชาติไม่พบกรดไขมันเออาร์เอ (C20:4n-6) แต่ในลูกกุ้งการ์ตูนจาการเพาะเลี้ยงพบกรดไขมันชนิดนี้ในปริมาณเล็กน้อยอาจเป็นไปได้ว่ากุ้งการ์ตูนต้องการกรดไขมันกลุ่มโอเมกา 6 น้อย กุ้งการ์ตูนธรรมชาติมีปริมาณกรดไขมันลิโนลินิค(C18:3n-3) น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์แต่ไม่พบกรดไขมันชนิดนี้ในลูกกุ้งการ์ตูนจากการเพาะเลี้ยง ประกอบกับกรดไขมันอีพีเอมีปริมาณลดลงและยังพบกรดไขมันตัวกลางของกระบวนการสังเคราะห์กรดไขมันโซ่ยาวกลุ่มโอเมกา 3 แสดงว่ากรดไขมันลิโนลินิค(C18:3n-3) อาจถูกใช้เป็นแหล่งพลังงานและสังเคราะห์กรดไขมันอีพีเอ (C18:3n-3) กุ้งการ์ตูนวัยรุ่นมีอัตราส่วนกรดไขมันอีพีเอ (C20:5n-3)/กรดไขมันดีเอชเอ (C22:6n-3) ปริมาณ 0.3 และมีอัตราส่วนกดไขมันกลุ่มโอเมกา 3/โอเมกา 6 ประมาณ 44 แสดงถึงความสำคัญของกรดไขมันกลุ่มโอเมกา 3 ต่อการรอดตายและการเจริญเติบโตของลูกกุ้งการ์ตูน
จากการศึกษานี้สรุปว่าการอนุบาลลูกกุ้งการ์ตูนด้วยวิธีการใส่สาหร่ายผสม 3 ชนิดในถังเลี้ยงนั้นลูกกุ้งการ์ตูนสามรถพัฒนาการคว่ำตัวลงเกาะได้แต่อัตราส่วนแพลงก์ตอนพืชที่ใช้ในการทดลองนี้ไม่เหมาะสมกับความต้องการกรดไขมันไม่อิ่มตัวกลุ่มโอเมกา 3 ของลูกกุ้งการ์ตูนโดยเฉพาะกรดไขมันอีพีเอ ดังนั้น การเสริมคุณค่าอาหารในอาหารลูกกุ้งการ์ตูนควรเลือกใช้แพลงก์ตอนพืชที่มีกรดไขมันอีพีเอสูงและปรับอัตราส่วนแพลงก์ตอนพืชที่ใช้ให้มีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับกรดไขมันในกุ้งธรรมชาติหรืออาจเสริมกรดไขมันอีพีเอในอาร์ทีเมียโดยตรง