DSpace Repository

การสำรวจความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโท หลักสูตรการจัดการธุรกิจ (Business Management) คณะการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา: กรณีศึกษา นิสิตระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่สี่และผู้ทำงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.author ชานน ชลวัฒนะ th
dc.contributor.author นฤมล ชูชินปราการ th
dc.contributor.author เพชรรัตน์ วิริยะสืบพงศ์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:07:10Z
dc.date.available 2019-03-25T09:07:10Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1532
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะสำรวจความต้องการการศึกษาต่อระดับปริญญาโท หลักสูตรการจัดการธุรกิจ คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิยาลัยบูรพา เพื่อดูความต้องการ ความคิดเห็นและความคาดหวังจากการศึกษาต่อในหลักสูตรนี้ และเพื่อสำรวจความคิดเห็นภายใต้กรอบทรัพยากรสำคัญขององค์การ (VRIO framework) 4 ด้าน ได้แก่ คุณค่า (Value) ความหายาก (Rareness) ความสามารถในการลอกเลียนแบบ (Imitability) และองค์การ (Organization) โดยเป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed methods research) ซึ่งใช้เทคนิควิธีการวิจัยที่ผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึก ข้อมูลเชิงปริมาณใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัย บูรพา และผู้ทำงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก เลือกโดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 660 คน ประกอบด้วยผู้ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 จำนวน 275 คน และผู้ที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก จำนวน 385 คน โดยได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาจำนวน 560 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 84.85 ในส่วนของข้อมูลเชิงคุณภาพได้ทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารธุรกิจ จำนวน 3 คน ผลการสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่ให้ความสนใจในการศึกษาต่อในหลักสูตรนี้มีจำนวนร้อยละ 56.6 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด โดยคนที่สนใจส่วนมาก จะเป็นนิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ในปีสุดท้าย และสนใจที่จะเรียนแบบไม่ทำวิทยานิพนธ์ โดยมีเหตุผลสำคัญที่ให้ความสนใจในหลักสูตรอันดับแรกคือ ต้องการเพิ่มความรู้ด้านเนื้อหาทฤษฎีให้ลึกซึ้ง รองลงมาได้แก่ อยากเรียนต่อเพิ่มวุฒิการศึกษา และความน่าสนใจในเนื้อหาของหลักสูตร ตามลำดับ และปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการศึกษาต่ออันดับแรกคือ การได้สร้างความสัมพันธ์ภายใน กลุ่มเรียน ความทันสมัยของหลักสูตร เวลาเรียนที่เอื้ออำนวยและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียน ตามลำดับ ส่วนกลุ่มที่ไม่ให้ความสนใจที่จะเรียนในหลักสูตรนั้นมีเหตุผล คือ ทำงานในวันจันทร์ ถึงเสาร์ ต้องการทำงานเพียงอย่างเดียวและอยากได้ประสบการณ์ตรงจากการทำงานมากกว่า ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารธุรกิจ จำนวน 3 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างภายใต้กรอบแนวคิดทรัพยากรสำคัญขององค์การ (VRIO framework) พบว่า หลักสูตรนี้ควรเน้นการเรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในทางธุรกิจได้เพื่อเพิ่มความน่าในใจในหลักสูตร นอกจากนี้ทางคณะฯ ควรคัดเลือกบุคลากรที่เก่งมีคุณภาพ โดยเฉพาะอาจารย์ผู้สอนต้องมีความรู้ดีมีเทคนิคการสอนที่ดีในการถ่ายทอดแก่ผู้เรียน เข้าใจผู้เรียน มีคุณธรรมและจริยธรรมที่จะช่วยเสริมภาพลักษณ์ของสถาบันการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น และหากเป็นไปได้ควรสร้าง ความร่วมมือกับองค์การภายนอก ทั้งองค์การทางธุรกิจและองค์การทางการศึกษาที่มีชื่อเสียงและน่าเชื่อถือข้อเสนอแนะที่ได้จากงานวิจัย คือพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาโทให้หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น ต้องมีการเตรียมทรัพยากรที่เกี่ยวข้องในการเรียนให้พร้อมสำหรับผู้มาเรียน ทั้งบุคลากร อาคารสถานที่ เอกสารตำราเรียน และควรมีการติดตามความก้าวหน้าในการทำงานของมหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้บุคคลที่สนใจทราบอบ่างทั่วถึงและกว้างขวาง th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานคณะกรรมการดำเนินการทำวิจัย สำหรับจัดทำแผนการเรียน หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต คณะการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การศึกษาต่อ th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.subject หลักสูตร th_TH
dc.title การสำรวจความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโท หลักสูตรการจัดการธุรกิจ (Business Management) คณะการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา: กรณีศึกษา นิสิตระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่สี่และผู้ทำงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2556


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account