Abstract:
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีวศึกษา วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งเป็นการวิจัยในระยะที่ 1 ที่มีการดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และการสร้างหลักสูตร การดำเนินการทั้งสองขั้นตอนใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยทีมผู้วิจัย จำนวน 4 คน และครูผู้สอนจำนวน 24 คน ได้ดำเนินการร่วมกัน มีการประชุมเชิงปฏิบัติการรวมทั้งหมด 7 ครั้งโดยในการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1 ได้ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2-3 ได้หลักสูตรฉบับร่างครั้งที่ 2 การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 4 เป็นการวิพากษ์ หลักสูตรฉบับร่างครั้งที่ 2 ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเทศไทย การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 5
เป็นการนำผลการวิพากษ์มาปรับปรุงหลักสูตรได้หลักสูตรฉบับร่างครั้งที่ 3 การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 6 เป็นการวิพากษ์หลักสูตรฉบับร่างครั้งที่ 3 โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากประเทศไทย และประเทศกัมพูชา ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 7 เป็นการนำผลการวิพากษ์มาปรับปรุงเป็นหลักสูตรฉบับสมบูรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แนวทางการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน แนวทางการวิเพากษ์หลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เอกสาร
ผลการวิจัยได้หลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีวศึกษา วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล (ฉบับปรับปรุง ค.ศ. 2012) ที่มีองค์ประกอบคือ ความเป็นมาของการปรับปรุงหลักสูตร ปรัชญาของหลักสูตร วัตถุประสงค์ของหลักสูตร สมรรถนะที่พึงประสงค์ โครงสร้างของหลักสูตรและแนวทาง การใช้หลักสูตร หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพดีตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและสามารถนำไปจัดการเรียนการสอนได้
This study aimed to develop high school vocational education curriculum for Kampong Chheuteal High School, Cambodia. There were 2 phases to be done; needs assessment and curriculum construction. The methodology used in each step was participatory action research conducted by 4 researchers and 24 teachers to conduct 7 workshops drafting. The fundamental data for curriculum were received from the first workshop. The second and third workshops were to obtain second draft of curriculum. In the fourth workshop, the focus group, was held by Thai experts at Burapha University, Thailand, to critique the second fraft curriculum. The fifth workshop was to revise second draft to obtain the third draft for the sixth workshop, the third draft was again critiqued by Thai and Cambodian experts in Phanom Penh, Cambodia. Finally, in the seventh workshop, third draft was revised and obtainthe devekoped curriculum. Research tools were needs assessment and focus group guideline.
Data were analysed by content analysis.
Results of this research was vocational education curriculum for Kampong Chheuteal High School (2012 revised edition), There were 6 components: curriculum history, curriculum philosophy, curriculum aims, expected competencies, curriculum structure and implementation
Guideline. This curriculum is logically appropriate in accordance with the experts and specialists’ point of view and it could be used in schools.