Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบและศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสถิติและการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ไปสู่ชีวิตจริงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังเรียนจากกิจกรรมการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูง และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 35 คน ของโรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธา จังหวัดชลบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผนซึ่งใช้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสถิติและการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ไปสู่ชีวิตจริง 2 ชุด คือ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอน ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสถิติหลังเรียนจากกิจกรรมการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และก่อนเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 48.95) มีความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสถิติ อยู่ในกลุ่มที่ 1 กล่าวคือ นักเรียนไม่ตอบหรือตอบไม่ถูกต้องและไม่มีการแสดงเหตุผลใด ๆ ส่วนหลังเรียน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 49.52) มีความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสถิติ อยู่ในกลุ่มที่ 4 กล่าวคือ นักเรียนสามารถตอบคำถามที่ถามได้ถูกต้องและมีแสดงเหตุผลที่ถูกต้อง สมบูรณ์ ชัดเจน สอดคล้องกับคำตอบและข้อมูล
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความสามารถในการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ไปสู่ชีวิตจริงหลังเรียนจากกิจกรรมการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูงสุงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และก่อนเรียน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ส่วนใหญ่ (ร้อยละ58.09) มีความสามารถในการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ไปสู่ชีวิตจริงอยู่ในกลุ่มที่ 1 กล่าวคือ นักเรียนไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลที่กำหนดให้กับสถานการณ์ในชีวิตจริง หรือพยายามเชื่อมโยง แต่ไม่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้องกับข้อมูลที่กำหนดให้ ส่วนหลังเรียน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 44.77) มีความสามารถในการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ไปสู่ชีวิตจริงอยู่ในกลุ่มที่ 3 กล่าวคือนักเรียนนำข้อมูลที่กำหนดให้มาเชื่อมโยง
กับสถานการณ์ในชีวิตจริงได้โดยในการเชื่อมโยงมีการใช้ข้อมูลที่กำหนดให้ และบอกได้ว่าสถานการณ์ในชีวิตจริงจากข้อมูลที่กำหนดให้เป็นเช่นไร
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบการเรียนการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูงอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.53)
The purposes of this research were to compare and study statistical reasoning and connecting mathematics to real life of Grade 6 students before and after from usage of instructional activities based on cognitively guided instruction and higher order questions and study students ‘ opinions toward instructional activities based on cognitively guided instruction and higher order questions. A sample group of 35 Grade 6 students in Watratsatta School. Chonburi Province were selected.
The research instruments were composed of 8 lesson plans focused on real life situations, test of statistical reasoning and connecting mathematics to real life, interview form and opinionnaire. The results revealed that:
1. Grade 6 students’ statistical reasoning after learning from usage of instructional activities based on cognitively guided instruction and higher order questions is significantly higher than before learning at 0.05 level. Before learning, the most (48.95%) of Grade 6 students had statistical reasoning on group 1 that students couldn’t answer questions correctly and no present response but after learning, the most (49.52%) of Grade 6students had statistical reasoning on group 4 that students could answer questions correctly and present complete response.
2. Grade 6 students’ connecting mathematics to real life after learning from usage of instructional activities based on cognitively guided instruction and higher order questions is significantly higher than before learning at 0.05 level. Before learning, the most (58.09%) of Grade 6 students had statistical reasoning on group 1 that students couldn’t connect the data with real-life situations but after learning, the most (44.77%) of Grade 6 students had connecting mathematics to real life on group 3 that students could connect the data with real-life situations.
3. Grade 6 students’ opinions toward instructional activities based on cognitively guide instruction and higher order questions is highest level (X= 4.53)