dc.contributor.author |
อานนท์ วงษ์แก้ว |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:07:08Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:07:08Z |
|
dc.date.issued |
2557 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1503 |
|
dc.description.abstract |
งานศึกษานี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมการเร่งปฏิกิริยาสนิมเหล็กของแท่งเหล็กที่เสียบไว้ในแท่งคอนกรีตด้วยวิธีเซลล์ไฟฟ้าเคมี โดยการผ่านกระแสไฟฟ้าตรงจากเครื่องจ่ายไฟฟ้าไปที่แท่งเหล็กขนาดต่าง ๆ ที่เสียบไว้ในแท่งคอนกรีตรูปทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 ซม. สูง 20 ซม. ให้ขั้วบวกของเครื่องจ่ายไฟฟ้าต่อเข้ากับแท่งเหล็กที่ต้องการให้เกิดสนิมเรียกว่า ขั้วอาโนด ส่วนขั้วลบของเครื่องจ่ายไฟฟ้าซึ่งเรียกว่าขั้วแคโทด ให้ต่อเข้ากับแท่งเหล็กเปลือยที่แช่ไว้ในสารละลายที่นำไฟฟ้า ในกรณีนี้ใช้สารละลายโซเดียมคลอไรด์ คอนกรีตที่ใช้มีกำลังอัดคอนกรีตเท่ากับ 210 280 และ 350 กิโลกรัมต่อ ตารางเซนติเมตร ขนาดเหล็กที่ใช้ในการทดสอบประกอบด้วย RB9 DB12 DB16 DB20 และ DB25 โดยเแบ่งระดับการเกิดสนิมของเหล็กออกเป็น 3 ระดับ คือ 15%, 30% และ 50% ของปริมาณเหล็กเสริม
เริ่มต้น ดังนั้นจำนวนแท่งคอนกรีตทดสอบทั้งหมดเท่ากับ 135 ตัวอย่าง เมื่อแท่งเหล็กขนาดต่างๆ เกิดสนิมเหล็กถึงระดับที่กำหนดไว้จะนำแท่งคอนกรีตมาทำการกระเทาะแตกเพื่อนำเหล็กที่เกิดสนิมมาล้างทำความสะอาด และนำไปชั่งน้ำหนักเหล็กที่เหลืออยู่ เพื่อนำมาคำนวณหาน้ำหนักเหล็กที่สูญเสียไป จากนั้นเปรียบเทียบค่าที่ได้จากการชั่งน้ำหนักเทียบกับค่าน้ำหนักเหล็กที่สูญเสียไปด้วยการคำนวณจากสมการฟาราเดย์
ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการเร่งปฏิกิริยาสนิมเหล็กของแท่งเหล็กที่เสียบไว้ในแท่งคอนกรีตด้วยวิธีเซลล์ไฟฟ้าเคมี สามารถจำลองพฤติกรรมการแตกร้าวของคอนกรีตเมื่อเหล็กเสริมเกิดสนิมได้ดี เมื่อระยะเวลาการเร่งปฏิกิริยาการเกิดสนิมนานขึ้น ปริมาณน้ำหนักของเหล็กเสริมที่สูญเสียไปจะมากขึ้นด้วยนอกจากนี้ยังพบว่าการเพิ่มขึ้นของค่ากำลังอัดคอนกรีตไม่ส่งผลกระทบต่อปริมาณกระแสไฟฟ้าทั้งหมดที่ไหลผ่านแท่งเหล็ก แต่ส่งผลกระทบต่อปริมาณกระแสไฟฟ้าในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น จึงสรุปว่าเมื่อคอนกรีตที่มีกำลังอัดสูงขึ้น อาจช่วยชะลอการเกิดปฏิกิริยาสนิมของเหล็กเสริมที่เสียบอยู่ในแท่งคอนกรีตในช่วงต้น ๆ ของขบวนการเร่งปฏิกิริยา อย่างไรก็ตามเมื่อปฏิกิริยาการเกิดสนิมเนื่องจากการผ่านกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์แล้ว ค่ากำลังอัดของคอนกรีตไม่มีผลทำให้ปริมาณการเกิดปฏิกิริยาน้อยลงแต่อย่างไร ส่วนค่าการสูญเสียน้ำหนักเหล็กเสริมจากทางทฤษฎีและจากการทดลองมีความแตกต่างกัน เนื่องจากการหาน้ำหนักเหล็กเสริมที่เหลืออยู่จากการชั่งน้ำหนักเกิดข้อผิดพลาดขึ้นจากเศษปูนที่ติดอยู่กับผิวเหล็กสมการฟาราเดย์ใช้ประมาณค่าน้ำหนักเหล็กที่สูญเสียไปได้ดีพอสมควรสำหรับเหล็กขนาดเล็กกว่า DB12 อย่างไรก็ตามไม่สามารถสรุปได้ว่าสมการฟาราเดย์ใช้ประมาณค่าน้ำหนักเหล็กที่สูญเสียไปเมื่อเหล็กมี ขนาดใหญ่กว่า DB12 |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
ทุนอุดหนุนการวิจัย งบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2557 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การเร่งปฏิกิริยาสนิม |
th_TH |
dc.subject |
คอนกรีตเสริมเหล็ก |
th_TH |
dc.subject |
สนิมเหล็ก |
th_TH |
dc.subject |
สมการฟาราเดย์ |
th_TH |
dc.subject |
เซลล์ไฟฟ้าเคมี |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
th_TH |
dc.title |
การประเมินกำลังรับแรงดัดและความเหนียวของคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่เหล็กเสริมเกิดสนิม |
th_TH |
dc.title.alternative |
Evaluation of flexural strength and ductility of corroded reinforced concrete beams |
en |
dc.type |
งานวิจัย |
|
dc.year |
2557 |
|
dc.description.abstractalternative |
The project is aimed to investigate corrosion in steel using electrochemical cell named as Electrolytic Cell. Steels that need to be corroded were casted in cylinder concretes with diameter of 10 cm and height of 20 cm. Positive wires of a direct current generator were mounted to the steel rods in order to induce corrosion by oxidation
reaction. This electrode is known as Anode. The other wires, negative, were attached to the steel rods that submerged in an electrolyte named as NaCl. This negative electrode is known as Cathode. Strengths of concrete used in this study are 210, 280, and 350 ksc. Sizes of steel rods are RB9, DB12, DB16, DB20, and DB25. Levels of corrosion in steels are specified as 15%, 30%, and 50% of their original weights. Total specimens tested in this study are 135. After corrosion reached the intended levels, the steel rods were removed from concretes and weighed. Weight losses of corroded steels calculated from measurement and computed from Faraday’s Equation were compared. The results show that Electrolytic Cell can resemble corrosion actions of steels in concretes such as concrete cracking, steel swelling etc. The longer corrosion reaction allows, the higher amount of weight loss of steels can be determined. No clear evidence showing that the higher strength of concrete benefits in reducing of total amount of corrosion in steels. However, the result shows that the steels within the higher concrete
strength might process longer time to initiate corrosion than within the lower concrete strength. The comparison of weight loss between balance measurement and Faraday’s equation is inconclusive because of the process of cleaning of steel surfaces. However, Faraday’s equation shows better correlation with balance measurement for steel with diameters less than 12 mm. |
en |