dc.contributor.author |
สุกัญญา บูรณเดชาชัย |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:07:07Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:07:07Z |
|
dc.date.issued |
2557 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1492 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยเรื่องคุณลักษณะบัณฑิตสู่ประชาคมอาเซียนตามความต้องการของผู้บริหารสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกในครั้งนี้ เป็นการวิจัยที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาคุณลักษณะของบัณฑิตตามความคาดหวังของผู้บริหารสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก เมื่อเปิดประชาคมอาเซียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรม เวลโกรว์ จ. ฉะเชิงเทรา นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จ. ชลบุรี นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จ. ชลบุรี และนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ. ระยอง จำนวน 440 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน (two-stages sampling)แบ่งเป็นชั้นด้วยความน่าจะเป็นได้สัดส่วนกับขนาด (stratified probability proportional to size sampling)
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยองค์ประกอบ 11 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความใฝ่รู้ 2) ความสามารถในการใช้ภาษา 3) คุณธรรมและจริยธรรม 4) ความรู้ตามวิชาชีพ 5) ความเป็นผู้นำ 6) สุขภาพกายและจิตใจ 7) จิตสาธารณะ 8) ศักยภาพทางปัญญา 9) เทคโนโลยีสารสนเทศ 10) สุนทรียารมณ์ และ 11) เจตคติต่อประชาคมอาเซียน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (rating scale) ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล ออกเป็นสองส่วนคือ 1) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor Analysis)
ผลการวิจัย
คุณลักษณะบัณฑิตสู่ประชาคมอาเซียนตามความต้องการของสถานประกอบการ ในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก พบว่า คุณลักษณะบัณฑิตสู่ประชาคมอาเซียนทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม รองลงมา คือ ด้านความใฝ่รู้ และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามลำดับ
ส่วนผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันนั้น ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของตัวแบบคุณลักษณะบัณฑิตสู่ประชาคมอาเซียน ตัวแบบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจาก X2 = 36.848, df = 28 =, p = 0.122, GFI = 0.984, NFI = 0.995, CFI = 0.999, NNFI = 0.998, SRMR = 0.017 องค์ประกอบของคุณลักษณะบัณฑิตสู่ประชาคมอาเซียนที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ องค์ประกอบด้านความรู้ตามวิชาชีพ (B = 0.867) รองลงมา คือ องค์ประกอบด้านความเป็นผู้นำ (B=0.863) องค์ประกอบด้านจิตสาธารณะ (B= 0.840) องค์ประกอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (B= 0.837) องคืประกอบด้านศักยภาพทางปัญญา (B = 0.814) องค์ประกอบด้านคุณธรรมและจริยธรรม (B = 0.808) องค์ประกอบด้านความใฝ่รู้ |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
ได้รับการสนุบสนุนจากงบประมาณรายได้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีงบประมาณ 2556 |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
สถานประกอบการ. ประชาคมอาเซียน |
th_TH |
dc.subject |
สาขาเศรษฐศาสตร์ |
th_TH |
dc.title |
คุณลักษณะบัณฑิตสู่ประชาคมอาเซียนตามความต้องการของผู้บริหารสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก |
th_TH |
dc.title.alternative |
Characteristics of Graduates towards the AEC according to the needs of Entrepreneurial administrators inindustrial estates in the eastern region of Thailand |
en |
dc.type |
งานวิจัย |
|
dc.year |
2557 |
|
dc.description.abstractalternative |
The research on the desired qualifications of the graduates matching the needs of the entrepreneurs in eastern industrial estate is quantitative research with the aim to study the desired qualification of the graduates for the upcoming AEC. The samples consist of 440 administrations in the Wellgrow Industrial Estate, Amata Industrial Estate, Laem Chabang Industrial Estate, and Mabtaput Industrial Estate. Two-stage sampling was used in accompany with stratified probability proportional to size sampling. Variables comprised of 11 qualifications: 1) being knowledgeable 2) having communication skills 3) having good morals 4) having professional skills 5) having leadership 6) having good mental and physical health 7) having public mind, social responsibility 8) having intellectual capability 9) having skills in information technology 10) having aesthetic skills 11) having ASEAN attitude. Questionnaire was used with mathematic percentage, average, standard variations, and confirmatory factor analysis.
Result
The desired qualifications of the graduates matching the needs of the entrepreneurs in eastern industrial estate revealed that the qualifications with the highest average were having good morals, being knowledgeable, and having skills in information teachnology, respectively.
The confirmatory factor analysis revealed that the model fitted with the structure from the exploratory factor analysis. The chi-square goodness of fit test was X2 = 36.848, df = 28, p = 0.122, GFI = 0.984, NFI = 0.995, CFI = 0.999, NNFI = 0.998, SRMR = 0.017. The most
important qualifications were professional skills (B= 0.867), having leadership (B = 0.863), having public mind, social responsibility (B = 0.840) having skills in information technology (B = 0.837), having intellectual capability (B = 0.814), having good morals (B = 0.808), being knowledgeable (B= 0.804), having communication skills (B = 0.692), having ASEAN attitude (B = 0.638), and having aesthetic skills (B = 0.515) respectively. |
en |