DSpace Repository

โครงการผลกระทบของสารกำจัดวัชพืชต่อโปรตีนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการออสโมเรกูเลชั่่นในปลากะพงขาววัยอ่อน (Lates calcarifer)

Show simple item record

dc.contributor.author นภาพร เลียดประถม
dc.contributor.author รชนิมุข หิรัญสัจจาเลิศ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะเทคโนโลยีทางทะเล
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:07:06Z
dc.date.available 2019-03-25T09:07:06Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1474
dc.description.abstract การปนเปื้อนของสารกำจัดวัชพืชบริเวรปากแม่น้ำเป็นสิ่งที่อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในบริเวณดังกล่าว รวมถึงกิจกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วย ปลากะพงขาวซึ่งเป็นปลาประจำถิ่นที่อาศัยและมีการเพาะเลี้ยงในบริเวณปากแม่น้ำจึงมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากวัชพืช ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงได้ทำการประเมินผลกระทบของสารพาราควอทซึ่งเป็นสารกำจัดวัชพืชที่มีการใช้เป็นอันดับต้นๆ ของประเทศต่อการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนและยีนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการออสโมเรกูเลชั่น ในการประเมินผลกระทบทำโดยการทดสอบความเป็นพิษของพาราควอทในระดับความเข้มข้น 0.02.20 มก./ล. ในปลากะพงขาววัยอ่อนเป็นเวลา 7 วัน ในระดับความเค็ม 15 และ 30 กรัมต่อลิตร จากนั้นทำการตรวจสอบผลกระทบโดยวิเคราะห์ตำแหน่งของโปรตีน Na+ K- ATPase (NKA) และ Na K Ca Cl (NKCC) บนเหงือกของปลากะพงขาวและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีน NKA และ NKCC1 จากการศึกษาพบว่าตำแหน่งของโปรตีน NKA บนเนื้อเยี่อเหงือกที่ได้รับพาราควอททั้งสองความเค็ม 15 และ 30 กรัมต่อลิตร ไม่พบความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างชุดการทดลองควบคุมและชุดการทดลองที่ได้รับพาราควอท เช่นเดียวกับการปรากฏของโปรตีน NKCC ในชุดการทดลองที่ความเค็ม 15 กรัม/ลิตร แต่ในชุดการทดลองที่ความเค็ม 30 กรัม/ลิตร พบว่าในชุดที่ได้รับพาราควอทความเข้มข้น 2 มก./ล. มีความเข้มสีของตำแหน่งที่ปรากฏโปรตีนน้อยกว่าชุดควบคุม ส่วนในการแสดงออกของยีนพบว่าการแสดงออกของยีน NKA ในปลากะพงขาวที่ได้รับพาราควอทที่ความเค็ม 15 กรัมต่อลิตรไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างชุดการทดลองควบคุมและชุดการทดลองที่ได้รับพาราควอท (P <0.05) แต่ที่ความเค็ม 30 กรัม/ลิตร พบว่าในชุดที่ได้รับพาราควอทเป็นเวลา 168 ชั่วโมง มีการแสดงออกของยีนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ส่วนการแสดงออกของยีน NKCC1 พบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ทั้งที่ความเค็ม 15 และ 30 กรัมต่อลิตร จากผลการศึกษามีแนวโน้มว่าปลากะพงขาวที่ความเค็ม 30 กรัม/ลิตร ได้รับผลกระทบจากพาราควอทที่ความเค็ม 15 กรัม/ลิตร และโปรตีนและยีน NKCC มีแนวโน้มที่ได้รับผลกระทบจากพาราควอทมากกว่า โปรตีน และ ยีน NKA th_TH
dc.description.sponsorship สนับสนุนโดย สำนักบริหารโครงการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งชาติ สำนักคณะกรรมการอุดมศึกษา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject กระบวนการออสโมเรกูเลชั่่น th_TH
dc.subject ปลากะพงขาว th_TH
dc.subject วัชพืช th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title โครงการผลกระทบของสารกำจัดวัชพืชต่อโปรตีนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการออสโมเรกูเลชั่่นในปลากะพงขาววัยอ่อน (Lates calcarifer) th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2557
dc.description.abstractalternative Contaminated herbicide in estuary area can affect to the aquatic biota and aquaculture activities in the area. Asian seabass is important endemic species in Thai estuary and wildly culture along river month area, so the fish may susceptibility to paraqaut toxicity. Therefore this study aims to determine the effect of paraqaut to osmoregulation which is Na+ K+ ATPase (NKA) and Na K Ca Cl (NKCC). paraqaut bioassay tests were conducted for 7 day in two different salinity (15 and 30 g/L). After that gill of seabass samples were analyzed for NKA and NKCC of protein localization and gene expression. The result showed that the localization of NKA did not show significant difference between seabass in control and parquat exposed group both in different salinity. Only the localization of NKCC of seabass which exposed 2 mg/L paraqaut showed lower intensity protein localization than seabass from control group. Meanwhile NKA gene expression was not showed significant difference between seabass in control and parquet exposed group in 15 g/L salinity. However, the expression of NKA was lower in fish which exposed to paraqaut at 168 hours (P<0.05). In conclusion the fish in 30 g/L salinity was affected more than fish at 15g/L salinity. NKCC gene and protein showed response to paraqaut more than NKA gene and protein en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account