Abstract:
การปนเปื้อนของสารกำจัดวัชพืชบริเวรปากแม่น้ำเป็นสิ่งที่อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในบริเวณดังกล่าว รวมถึงกิจกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วย ปลากะพงขาวซึ่งเป็นปลาประจำถิ่นที่อาศัยและมีการเพาะเลี้ยงในบริเวณปากแม่น้ำจึงมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากวัชพืช ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงได้ทำการประเมินผลกระทบของสารพาราควอทซึ่งเป็นสารกำจัดวัชพืชที่มีการใช้เป็นอันดับต้นๆ ของประเทศต่อการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนและยีนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการออสโมเรกูเลชั่น ในการประเมินผลกระทบทำโดยการทดสอบความเป็นพิษของพาราควอทในระดับความเข้มข้น 0.02.20 มก./ล. ในปลากะพงขาววัยอ่อนเป็นเวลา 7 วัน ในระดับความเค็ม 15 และ 30 กรัมต่อลิตร จากนั้นทำการตรวจสอบผลกระทบโดยวิเคราะห์ตำแหน่งของโปรตีน Na+ K- ATPase (NKA) และ Na K Ca Cl (NKCC) บนเหงือกของปลากะพงขาวและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีน NKA และ NKCC1 จากการศึกษาพบว่าตำแหน่งของโปรตีน NKA บนเนื้อเยี่อเหงือกที่ได้รับพาราควอททั้งสองความเค็ม 15 และ 30 กรัมต่อลิตร ไม่พบความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างชุดการทดลองควบคุมและชุดการทดลองที่ได้รับพาราควอท เช่นเดียวกับการปรากฏของโปรตีน NKCC ในชุดการทดลองที่ความเค็ม 15 กรัม/ลิตร แต่ในชุดการทดลองที่ความเค็ม 30 กรัม/ลิตร พบว่าในชุดที่ได้รับพาราควอทความเข้มข้น 2 มก./ล. มีความเข้มสีของตำแหน่งที่ปรากฏโปรตีนน้อยกว่าชุดควบคุม ส่วนในการแสดงออกของยีนพบว่าการแสดงออกของยีน NKA ในปลากะพงขาวที่ได้รับพาราควอทที่ความเค็ม 15 กรัมต่อลิตรไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างชุดการทดลองควบคุมและชุดการทดลองที่ได้รับพาราควอท (P <0.05) แต่ที่ความเค็ม 30 กรัม/ลิตร พบว่าในชุดที่ได้รับพาราควอทเป็นเวลา 168 ชั่วโมง มีการแสดงออกของยีนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ส่วนการแสดงออกของยีน NKCC1 พบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ทั้งที่ความเค็ม 15 และ 30 กรัมต่อลิตร จากผลการศึกษามีแนวโน้มว่าปลากะพงขาวที่ความเค็ม 30 กรัม/ลิตร ได้รับผลกระทบจากพาราควอทที่ความเค็ม 15 กรัม/ลิตร และโปรตีนและยีน NKCC มีแนวโน้มที่ได้รับผลกระทบจากพาราควอทมากกว่า โปรตีน และ ยีน NKA