DSpace Repository

การจัดการบริการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.author ประจักษ์ น้ำประสานไทย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:07:04Z
dc.date.available 2019-03-25T09:07:04Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1447
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ใช้การวิจัยเอกสารและการวิจัยเชิงสำรวจผ่านกลุ่มตัวอย่างเป็นวัตถุประสงค์ของการศึกษาไว้ 6 ประการ คือ (1) เพื่อสำรวจประเภทของบริการสังคมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกจัดให้แก่ประชาชนในพื้นที่ (2) เพื่อสำรวจความเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกเห็นว่ามีอิทธิพลต่อการจัดการบริการสังคมที่อยู่ในความรับผิดชอบ (3) เพื่อสำรวจวิธีการที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกใช้ในการจัดการบริการสังคมที่อยู่ความรับผิดชอบ (4) เพื่อสำรวจความเห็นต่อประเด็นที่ผู้บริหารองค์กรส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกคิดว่าเป็นปัญหาและอุปสววคต่อการจัดการบริการสังคมที่อยู่ในความรับผิดชอบ (5) เพื่อสำรวจความพึงพอใจที่ผู้รับหรือผู้ใช้บริการมีต่อบริการสังคมขององค์กรปกครองท้องถิ่นภาคตะวันออก และ (6) เพื่อวิเคาระห์แนวคิดในการจัดบริการสังคมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออก ได้ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะพอสรุป ดังนี้ ผลการศึกษา งานวิจัยนี้ได้ผลการศึกษาประเภทของบริการสังคมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกจัดให้แก่ประชาชนพื้นที่ ปัจจัยที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกเห็นว่ามีอิทธิพลต่อการจัดการบริการสังคมที่อยู่ในความรับผิดชอบ วิธีการที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกใช้ในการจัดการบริหารสังคมที่อยู่ในความรับผิดชอบ ประเด็นที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกคิดว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการจัดบริการสังคมที่อยู่ในความรับผิดชอบ ความพึงพอใจที่ผู้รับหรือใช้บริการมีต่อบริการสังคมขององค์กรปกครองท้องถิ่นภาคตะวันออก และแนวคิดในการจัดบริการสังคมของผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้ 1.ประเภทของบริการสังคมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกจัดให้แก่ประชาชนในพื้นที่บริการสังคมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างจัดให้แก่ประชาชนในพื้นที่มากที่สุดคือ บริการสังคมประเภทการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ รองลงมาได้แก่ บริการสังคมประเภทสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน อาทิ น้ำประปา ถนน ไฟฟ้าส่องสว่างบริเวณพื้นที่สาธารณะ บริการสังคมประเภทการช่วยเหลือ การสงเคาระห์ผู้ประสบเดือดร้อน บริการสังคมประเภทารพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน บริการสังคมประเภทการส่งเสริมกีฬา บำรุงการกีฬา บริการสังคมประเภทการส่งเสริมการศึกษา บริการสังคมประเภทการจัดการศึกษารวมทั้งการส่งเสริมการศึกษา บริการสังคมประเภทการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล บริการสังคมประเภทการพัฒนาคุณภาพชีวิตสตรี และการบริการสังคมประเภทการจัดให้มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ บริการสังคมประเภทการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่ บริการสังคมประเภทกิจกรรมนันทนาการเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจบริการสังคมประเภทารจัดหางาน บริการข่าวสารแรงงาน บริการสังคมประเภทการให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประสบปัญหาสังคม และที่จัดให้แก่ประชาชนพื้นที่น้อยที่สุดคือบริการสังคมประเภทการปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด 2.ปัจจัยที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกเห็นว่ามีอิทธิพลต่อการจัดการบริการสังคมที่อยู่ในความรับผิดชอบ ปัจจัยที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกซึ่งกลุ่มตัวอย่างเห็นว่ามีอิทิพลต่อการจัดการบริการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากที่สุดคือ ปัจจัยด้านความต้องการและความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ รองลงมาคือ ปัจจัยด้านงบประมาณที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหรือได้รับ ปัจจัยด้านข้อกำหนดของกฎหมายและระเบียบปฎิบัติของระบบราชการ ปัจจัยด้านภาวะเศษฐกิจของสังคม/ชุมชน ปัจจัยด้านข้อกำหนดด้านนโยบายของรัฐบาล ปัจจัยด้านอุดมการณ์คววามคิด ความเชื่อของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัจจัยด้านสภาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ปัจจัยด้านผู้ว่าราชการจังหวัด/ นายอำเภอที่องค์กรปกรองส่วนท้องถิ่นตั้งอยู่ ปัจจัยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปัจจัยด้านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ และที่เห็นว่ามีอิทธิพลน้อยที่สุดคือปัจจัยด้านหลักการ คำสอนทางศาสนา 3.วิธีการที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกใช้ในการจัดการบริการสังคมที่อยู่ในความรับผิดชอบ วิธีการที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างใช้จัดการบริการสังคมที่รับผิดชอบมากที่สุดคือ วิธีการนำเอาความพึงพอใจและความต้องการของผู้รับหรือใช้บริการมาเป็นศูนย์กลางการปฎิบัติงาน รองลงมาคือ วิธีการปรับการบริหารจัดการให้มีความสอดคล้อง สมดุลกับปัจจัยแวดล้อม/สถานการณ์อย่างเป็นระบบ วิธีการลดความเป็นระบบราชการลงด้วยการปรับโครงสร้างองค์กรและระบบการทำงานให้มีความยืดหยุ่นเพื่อให้เกิดผลงานมากกว่ายึดกระบวนการที่เยิ่นเย้อ วิธีการบริหารจัดการบนพื้นฐานของความไว้วางใจและการปรับตัวเข้าหากันมากกว่าการสั่งการ บริหารจัดการตามกฏ ระเบียบของทางราชการอย่างเคร่งครัด วิธีการให้ความสำคัญกับระบบเครือข่ายซึ่งเป็นการบริหารจัดการในแนวราบที่ให้เครือข่ายกำกับดูแลตนเองไม่ใช่การควบคุมจากศูนย์กลาง วิธีการให้ผู้ปฎิบัติงานรับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวเพื่อป้องกันมิให้เกิดความสับสนในคำสั่ง วิธีการให้ความสำคัญกับกลุ่มคนชายขอบที่ด้อยโอกาส ถูกสังคมปิดกั้น และที่ใช้น้อยที่สุดคือการรวมอำนาจไว้ที่จุดศูนย์กลางเพื่อให้การควบคุมส่วนต่างๆขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 4.ประเด็นที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกคิดว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการจัดบริการสังคมที่อยู่ในความรับผิดชอบ สิ่งทีผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคในการจัดการบริการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากที่สุดคือ ปัญหาการขาดงบประมาณไม่เพียงพอ รองลงมาคือ ปัญหาความยุ่งยากซับซ้อน ไม่ชัดเจนของกฎหมาย ระเบียบปฎิบัติที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการขาดบุคลากรที่มีประสบการณ์ ความรู้ ความสามรถ ปัญหาการไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชน/ชุมชนในพื้นที่ ปัญหาการไม่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทีเกี่ยวข้อง ปัญหาการไม่มีอำนาจอย่างแท้จริงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัญหาความไม่สมบรูณ์ของข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการปัญหาความขัดแย้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัญหาการถูกแทรกแซงจากอิทธิพลภายนอกและที่เห็นว่าเป็นปัญหาน้อยที่สุดคือการทุจริต ฉ้อราษฏร์บังหลวง 5.ความพึงพอใจที่ผู้รับหรือใช้บริการมีต่อบริการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกประกอบด้วยความพึงพอใจที่มีต่อการให้บริการและความพึงพอใจที่มรต่อตัวบริการสังคม 5.1ความพึงพอใจที่ผู้รับหรือใช้บริการมีต่อการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้รับหรือใช้บริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก การปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และกระบวนการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้ • ด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเรื่องที่จดอรถสำหรับผู้มารับบริการสูงสุด รองลงมากคือความพึงพอใจเรื่องความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่ ความพึงพอใจเรื่องป้ายและเอกสารประชาสัมพันธ์ต่างๆความพึงพอใจเรื่องที่นั่งคอยรับบริการตามจุดต่างๆความพึงพอใจเรื่องบริการถ่ายเอกสารสำหรับผู้มารับบริการ ความพึงพอใจเรื่องห้องน้ำสำหรับผู้มารับบริการ ความพึงพอใจเรื่องดทรทัศน์/หนังสือพิมพ์ ณ จุดที่ผู้รับบริการนั่งคอย ความพึงพอใจเรื่องบริการน้ำดื่มพร้อมภาชนะใส่ถูกสุขลักษณะ ความพึงพอใจเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุ และที่พึงพอใจน้อยที่สุดคือเรื่องโทรศัพท์สาธารณะ • ด้านการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเรื่องที่ความตรงต่อเวลาสูงสุด รองลงมาคือความพึงพอใจเรื่องมารยาท ความสุภาพและการเอาใจใส่ ความพึงพอใจเรื่องการให้ความสำคัญต่อผู้รับบริการ ความพึงพอใจเรื่องการให้คำแนะนำและการตอบข้อซักถามผู้รับบริการ และความพึงพอใจเรื่องความพร้อมและความกระตือรือร้นในการให้บริการ • ด้านกระบวนการให้บริการ กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเรื่องการประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับบริการทราบสิทธิ์ ข้อมูลข่าวสารสูงสุด รองลงมาได้แก่ ความพึงพอใจเรื่องการจัดลำดับก่อน-หลังในการให้ผู้รับบริการ ความพึงพอใจเรื่องขั้นตอนของการให้บริการความพึงพอใจเรื่องเอกสารหลักฐานที่ผู้รับบริการต้องจัดเตรียม ความพึงพอใจเรื่องแบบฟอร์มที่ผู้รับบริการต้องกรอก ความพึงพอใจเรื่องการรับฟังความคิดเห็นของผู้รับบริการ ความพึงพอใจเรื่องความรวดเร็วในการให้บริการ และที่พึงพอใจน้อยที่สุดคือเรื่องการนำความคิดเห็นผู้รับบริการไปปรับปรุงงาน 5.2ความพึงพอใจที่ผู้รับบริการหรือใช้บริการมีต่อตัวบริการสังคมขององค์กรปกครองท้องถิ่นภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อบริการสังคมปรเภทต่างๆขององค์กรปกครองท้องถิ่นภาคตะวันออกระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเกี่ยวกับการส่งเสริมกีฬา บำรุงรักษาการก๊ฬาสูงสุด รองลงมาคือความพึงพอใจเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน อาทิ น้ำประปา ถนน ไฟฟ้า ส่องสว่างบริเวณที่สาธารณะ ความพึงพอใจเกี่ยวกับสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล ความพึงพอใจเกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพ ความพึงพอใจเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ความพึงพอใจเกี่ยวกับการช่วยเหลือ การสงเคาระห์ผู้ประสบความเดือดร้อน ความพึงพอใจเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวตเด็กและเยาวชน ความพึงพอใจเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวติสตรี ความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดหารงาน บริการข่าวสารแรงงาน ความพึงพอใจเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประสบปัญหาสังคม ความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ความพึงพอใจเกี่ยวกับการพพัฒนาใจเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ทุพพลภาพและผู้ดอยโอกาศ ความพึงพอใจเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและที่พึงพอใจน้อยที่สุดคือการปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด 6.แนวคิดในการจัดบริการสังคมชองผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออก ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนมากมีแนวคิดการจัดบริการสังคมสอดคล้องกับ 3 แนวคิดหลัก คือ แนวคิดแบบสังคมประชาธิปไตยที่สนับสนุนรัฐสวัสดิการที่สมบรูณ์แบบเหมือนประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียเพื่อให้เกิดการจัดสรรปันส่วนผลประโยชน์ต่างๆของสังคมอย่างเป็นธรรมแก่ประชาชนอย่างทั่งถึงโดยไม่ต้องตรวจสอบ แนวคิดแบบสายกลางที่ยอมรับระบบตลาดเสรีและระบบทุนนิยมทำให้เศษฐกิจเติบโตดีและเป็นสิ่งจำเป็นสหำรับประชาชนในสังคม ขณะเดียวกันระบบดังกล่าวก็สร้างความไม่เป็นธรรม เป็นระบบที่มือใครยาวสาวได้สาวเอา ดังนั้นรัฐพึงมีบทบาทอย่างสำคัญในการจัดให้มีสวัสดิการเพื่อสงเคาระห์ประชาชนอย่างเหวี่ยงแห ภาระค่าใช้จ่ายโดยรวมสูงมาก จนผู้ประสบปัญหาเดือดร้อนจริงๆได้รับความช่วยเหลือได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้คนที่เดือดร้อนจริงขาดความรับผิดชอบ ไม่ยอมพึ่งตนเอง คอยแต่จะรอคอยความช่วยเหลือ โดยกลุ่มตัวอย่างเห็นสอดคล้องกับแนวคิดสังคมประชาธิปไตยมากที่สุด ข้อเสนอแนะ งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล/นักการเมือง ข้อเสนอแนะต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออก ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยทางการจัดการสังคม และข้อเสนอแนะสำกรับสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านการจัดการบริการสังคม ดังนี้ 1.ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล/ นักการเมือง งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะในเรื่องการปรับปรุง แก้ไข กฎหมายและระเบียบปฎิบัติ การจัดสรรรายได้ การกำหนดนโยบายสังคม/สวัสดิการสังคม และการควบคุมมาตรฐานการจัดสวัสดิการสังคมบริการ ดังนี้ • รัฐบาลควรเป็นเจ้าภาพในการจัดประสานกับฝ่ายนิติบัญญัติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการพิจารราปรับปรุง แก้ไขกฎหมายและระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคม/ บริการสังคมไม่ชัดเจน ยุ่งยาก ซับซ้อน ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • รัฐบาลควรจัดสรรรายได้ งบประมาณรวมถึงการจัดแบ่งสัดส่วนภาษีกากรตลอดจนระบบเงอนอุดหนุนให้เหมาะสมสอดคล้องกับภากิจด้านสวัสดิการสังคม/บริการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะปัจจุบันยังปรากฎว่า งบประมาณที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหรือได้รับยังคงไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับหน้าที่และภารกิจตามนโยบายรัฐบาล นอกจากนี้ ยังประสบกับปัญหาการได้รับเงินโอนล่าช้าทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยใช้เงินอื่นสำรวจจ่ายไปก่อน ปัญหาด้านงบประมาณจึงเป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการดำเนินงานด้านสวัสดิการสังคม/บริการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • นโยบายสังคม/สวัสดิการสังคมของรัฐบาลควรเป็นนโยบายที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนตามฐานะคลังและกรอบวินัยทางการงเงิน มากกว่าที่จะเป็นนโยบายสังคม/สวัสดิการสังคมปบบประชานิยมที่ใช้จ่ายงบประมาณเพื่อแสวงหาคะแนนนิยมทางการเมืองและผลประโยชน์ส่วนบุคคลของนักการเมือง • รัฐควรสร้างให้มีระบบหรือกระบวนการควบคุมมาตรฐานการจัดสวัสดิการสังคม/บริการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อประชาชนจะได้รับบริการที่มีคุณภาพสูงขึ้น • รัฐบาลควรเร่งขจัดความไม่เท่าเทียมกันทางโอกาส เพื่อให้ทุกคนสามารถยกฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมได้โดยที่ไม่ต้องทำสิ่งผิดกฎหมาย ทุกคนมีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนหรือสินเชื่อเพื่อทำกิจกรรมที่เป็นของตนเอง และมีโอกาสในการมีงานทำบนพื้นฐานความรู้ความสามรถ 2.ข้อเสนอแนะต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออก งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะด้านการบริหารจัดการ และด้านการคลังและงบประมาณ ดังนี้ • ด้านการบริหารจัดการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรนำเอามาตรฐานการจัดบริการสวัสดิการสังคมที่คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติได้มาประยุกต์ใช้ในการจัดการบริการสังคม โดยให้ความสำคัญที่กระบวนการแปรสภาพขององค์การใน 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านการให้บริการ และองค์ประกอบด้านคุณภาพการให้บริการ ดังนี้ - การปฏิบัติงานด้านการจัดองค์การและบริหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย วัตถุประสงค์ ขอบเขต เป้าหมาย สาขาการจัดสวัสดิการสังคม โครงสร้างและกระบวนการบริหารจัดการแผนงาน โครงการ ระบบการพัฒนาบุคลากร ระบบบัญชีและการเงิน ระบบข้อมูลสารสนเทศและการประชาสัมพันธ์ ระบบติดตามประเมินผล อาคารสถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์ และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน โดยยึดหลักธรรมาภิบาล - การปฏิบัติงานด้านการให้บริการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรกำหนดรูปแบบและวิธีการในการให้บริการ มีกระบวนการให้บริการ การวางแนวปฏิบัติงานตามกระบวนการให้บริการ การส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร และสถาบันต่างๆที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเต็มที่ - การปฏิบัติงานด้านคุณภาพการให้บริการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรกำหนดให้มีรูปแบบการให้บริการ กระบวนการให้บริการ การวางแนวปฏิบัติตามกระบวนการให้บริการ การส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร และสถาบันต่างๆที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการัจดสวัสดิกรสังคม/บริการสังคม เป็นองค์ประกอบในการปฏิบัติงาน • ด้านการคลังและงบประมาณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเร่งพัฒนาศักยภาพด้านการคลังและงบประมาณของตนให้มีประสิทธิภาพด้านการจัดหารายได้ ประสิทธิภาพการจัดหารายได้ ประสิทธิภาพการเจดเก็บภีอากรให้มากยิ่งขึ้นจนสามรถพึ่งตนเองได้อย่างสมบรูณ์ในอนาคต 3.ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยทางการจัดการบริการสังคม งานวิจัยนี้มีเสนอแนะสำหรับการวิจัยด้านบริการสังคมที่จัดให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ด้านปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดบริการสังคมด้านวิธีการที่ใช้ในการจัดการบริการสังคม ด้านปัญหาและอุปสรรคในการจัดบริการสังคม ด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการ และด้านแนวคิดในการจัดบริการสังคม ดังนี้ • ด้านบริการสังคมที่จัดให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ควรมีการศึกษาว่า - ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเรื่องการจัดให้มีบริการสังคมได้ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างสมบรูณ์หรือไม่? - อะไรคือสาเหตุแท้จริงที่ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามรถจัดให้มีบริการสังคมตามกฎหมายที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น? - ที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกระบุว่าไม่มีงบประมาณหรืองบประมาณในการจัดให้มีสวัสดิการสังคม/บริการสังคมไม่เพียงพอนั้นจริงหรือไม่? - เหตุใดชุมชนบางแห่งที่ไม่เคยได้รับงบประมาณสนับสนุนใดๆจากรัฐจึงสมารถจัดสวัสดิการชุมชนที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพได้? - เหตุใดจึงมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกจัดให้มีบริการสังคมด้ารการปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดน้อยมาก?ปัญหา อุปสรรคเรื่องนี้คืออะไร? - ทำอย่างไรจึงจะทำให้ประชาชนเข้าถึงสวัสดิการสังคม/บริการสังคมได้ทั่วถึง? • ด้านปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการบริกรสังคม ควรมีการศึกษาว่า - การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกจำวนวหนึ่งไม่ได้จัด/สามรถจัดให้มีบริการสังคมแก่ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างครบถ้วนนั้น เป็นอุปสรรคเชื่อมโยงมาจากปัจจัยด้านงบประมาณที่ไม่เพียงพอ ข้อกำหนดของกฎหมายและระเบียบปฏิบัติของระบบราชการที่ยุ่งยากซับซ้อนไม่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละท้องถิ่น ตลอดจนภาวะเศษฐกิจของสังคม ชุมชนที่ไม่เออำนวยหรือไม่?ถ้าใช่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคจะวันออกควรแก้ปัญหาที่เกิดจากปัจจัยเหล่านี้ด้วยวิธีการใด? - การมีหรือไม่มีบริการสังคมแก่ประชาชนในพื้นที่ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีงบประมาณอย่างเพียงพอเท่านั้นใช่หรือไม่? • ด้านวิธีการที่ใช้ในการจัดบริการสังคม ควรมีการศึกาว่า - การนำเอาความพึงพอใจและความต้องการของผู้รับบริการมาเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกบางแห่งจนประสบความสำเร็จนั้นทำอย่างไร? - การบริหารจัดการให้มีความสอดคล้อง สมดุลกับปัจจัยแวดล้อม/สถานการณ์อย่างเป็นระบบ วิธีการลดความเป็นระบบราชการลงด้วยการปรับโครางสร้างองค์กรและระบบการทำงานให้มีความยืดหยุ่นเพื่อให้เกิดผลงานมากกว่ายึดกระบวนการที่เยิ่ยเย้อนั้น กฎหมายที่เกี่ยวข้องเปิดช่องให้ทำได้หรือไม่?ถ้าได้ทำอย่างไร? - มาตรฐานการจัดบริการสวัสดิการสังคมที่คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติได้วางข้อกำหนดไว้ เหมาะที่จะนำมาใช้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือไม่?ถ้าเหมาะสมองค์กรส่วนท้องถิ่นจะมีแนวทาง/วิธีการที่จะนำมาตรฐานการจัดบริการสวัสดิการสังคมที่คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติได้วางข้อกำหนดไว้มาประยุกต์ใช้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร? - จะส่งเสริมความเข้มแข็งด้านการจัดการบริการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นองค์กรหลักด้านความมั่นคงของมนุษย์ในระดับพื้นที่ได้อย่างไร? - จะควบคุมมาตรฐานของการจัดสวัสดิการสังคม/บริการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพได้อย่างไร? • ด้านปัญหาและอุปสรรคในการจัดบริการสังคม ควรมีการศึกษาว่า - ปัญหาการขาดงบประมาณหรืองบประมาณไม่เพียงพอขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งนั้นมีสาเหตุมาจกอะไร? องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีปัญหาการขาดงบประมาณหรืองบประมาณไม่เพียงพอควรแก้ปัญหานี้อย่างไร? - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะพัฒนาศักยภาพด้านการคลังและงบประมาณให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยไม่ผลักภาระให้กับประชาชนในท้องถิ่นจนเกินสมควรได้อย่างไร? - ความยุ่งยากซับซ้อน ไม่ชัดเจนของกฎหมาย ระเบียบปฎิบัติที่เกี่ยวข้องจนเป็นอุปสรรคต่องานด้านสวัสดิการสังคม/บริการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นความยุ่งยาก ซับซ้อน ไม่ชัดเจนของกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติอะไร? ยุ่งยาก ซับซ้อน ไม่ชัดเจนตรงไหน?ด้วยวิธีการใด?โดยใคร? - ชุดคู่มือการปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสังคม/บริการสังคมที่ผู้ปฏิบัติงานของท้องถิ่นใช้นั้นมีความชัดเจน เหมาะสม และครอบคลุมภารกิจงานด้านสวัสดิการสังคม/บริการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือไม่?ต้องแก้ไขเพิ่มเติมอะไรบ้าง?โดยใคร? - ทำไมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกกว่าร้อยละ 50 จึงยังมีปัญหาการไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชน/ชุมชนในพื้นที่?ทั้งที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระบุว่าได้นำเอาความพึงพอใจและความต้องการของผู้รับบริการมาเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติงาน • ด้านความพึงพอใจของผู้รับหรือใช้บริการควรมีการศึกษาว่า - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดนครนายกและจังหวัดฉะเชิงเทรา วางระบบการให้บริการประชาชนในพื้นที่อย่างไรจึงเป็นที่พึงพอใจของผู้รับบริการในระดับมาก? การจะทำให้ระบบการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นเป็นเหมือนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครนายกและจังหวัดฉะเชิงเทราได้นั้น ต้องทำอย่างไรบ้าง? - ทำไมผู้รับหรือใช้บริการด้านการปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกเกือบทุกแห่งจึงประเมินให้บริการด้านนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่ำสุด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรปรับปรุงเรื่องนี้อย่างไร? • ด้านแนวคิดในการจัดบริการสังคมควรมีการศึกษาว่า - ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกมีชุดความคิด ความเชื่อเชิงอุดมการณ์ทางสังคม สวัสดิการสังคมอย่างไร? - ภายใต้กรอบกฎหมายและนโยบายสังคม/สวัสดิการสังคมที่รัฐกำหนด ชุดความคิดความเชื่อเชิงอุดมการณ์ทางสังคม สวัสดิการ/บริการสังคมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกมีบทบาทต่อการจัดการบริการสังคมหรือไม่?อย่างไร? - ชาวบ้านทั่วไปแยกแยะได้หรือไม่ว่า อะไรเป็นสวัสดิการสังคม/บริการสังคมแบบสังคมนิยมประชาธิปไตยเหมือนประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย? อะไรเป็นสวัสดิการสังคม/บริการสังคมแบบประชานิยมที่แจกเพื่อหวังผลทางการเมือง? มีวิธีพิจารณาเรื่องนี้อย่างไร? 4.ข้อเสนอแนะต่อสถาบันการศึกษา งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะต่อสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านการจัดการบริการสังคมในแต่ละระดับ ดังนี้ • การเรียนการสอนระดับปริญญาตรี สถาบันการศึกษาควรให้ความสำคัญกับการสร้างบัณฑิตทางการจัดการบริการสังคมให้เป็นผู้ที่มีทักษะในการคิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์ สามารถอ่านและตีความเอกสารได้โดยเฉพาะข้อกฎหมาย กฎระเบียบและอื่นๆที่เกี่ยวกับงาน รวมทั้งมีทักษะเบื้องต้นในการทำวิจัย การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสถาณการณ์ที่ไม่มีมาตรฐานการทำงาน ตลอดจนสามารถสร้างความเข้าใจต่อหน้ากลุ่มคนจำนวนมากได้ นอกจากนี้สถาบันการศึกษาควรมีกระบวนการในการทำให้บัณฑิตทางการัจดการบริการสังคมเป็นผู้มีมุนษยสัมพันธ์สามารถทำงานร่วมกับบุคคลอื่นที่มีความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และค่านิยมได้ • การเรียนการสอนระดับปริญญาโท สถาบันการศึกษาควรให้ความสำคัญกับการสร้างมหาบัณฑิตทางการจัดการบริการสังคมให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการองค์การ/ โครงการ การประสานงาน การบริหารงานคุณภาพ การจัดการทรัพยากร การบริหารความเสี่ยง และการประเมินความเป็นไปได้ของทางเลือกในการจัดบริการสังคมภายใต้ข้อจัด • การเรียนการสอนระดับปริญญาเอก สถาบันการศึกษาควรให้ความสำคัญกับการสร้างดุษฎีบัณฑิตทางการจัดการบริการสังคมให้เป็นผู้มีศักยภาพทางการวิจัยขั้นสูง สามารถผลิตสร้างนวัตกรรมใหม่ทางการจัดการบริการสังคมจากการวิจัยได้ โดยเฉพาะความสามารถในการผลิตสร้างนวัตกรรมองค์การที่ทำให้โครงสร้างกลไกลการทำงานบริการสังคมมีประสอทธิภาพสูงขึ้น ความสามารถในการผลิตสร้างนวัตกรรมกระบวนการที่ทำให้กระบวนการแปรสภาพทรัพยากรทางการจัดการสามารถผลิตสร้างบริการสังคมที่มีคุณภาพสูงขึ้น และความสามารถในการผลิตสร้างนวัตกรรมบริการที่ทำให้ผู้รับบริการ หรือ ผู้ใช้บริการมีระดับความพึงพอใจตามที่คาดหวังหรือมากว่า th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการผลิตผลงานการวิจัยประจำปีงบประมาณ 2554 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การปกครองส่วนท้องถิ่น - - วิจัย th_TH
dc.subject องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - - การบริหาร th_TH
dc.subject สาขาสังคมวิทยา th_TH
dc.title การจัดการบริการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออก th_TH
dc.title.alternative The management of social services by the local administrative organizations in the Eastern part of Thailand en
dc.type Research
dc.year 2557


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account