DSpace Repository

จุลินทรีย์ทะเล: แหล่งใหม่ของสารตัวยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

Show simple item record

dc.contributor.author รวิวรรณ วัฒนดิลก th
dc.contributor.author ณิษา สิรนนท์ธนา th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:07:04Z
dc.date.available 2019-03-25T09:07:04Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1434
dc.description.abstract จากผลการดำเนินงานวิจัยทั้ง 6 โครงการย่อยในปีที่ ในแตะละโครงการวิจัยสามารถดำเนินการวิจัยได้ตามแผนงาน ซึ่งสรุปได้ดังนี้ 1. ตัวอย่างฟองน้ำทะเลที่เก็บจากหมู่เกาะใต้ อ. ขนอม จ. นครศรีธรรมราช จาก 4 จุด สำรวจ จำนวน 94 ตัวอย่าง โดย 74 ตัวอย่าง ทำการจำแนกชนิดเป็นหลักฐานอ้างอิงจำแนกได้ 45 ชนิด จาก 35 สกุล 25 วงศ์ 10 อันดับ มีความหลากหลายของฟองน้ำในเกาะราบ และเกาะวังนอกมากที่สุด 2. เชื้อแบคทีเรียจำนวน 210 สายพันธุ์ แยกจากฟองน้ำทะเล จำนวน 52 ตัวอย่าง ทดสอบ ฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียมาตรฐาน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ แบคทีเรียกรัมบวก Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus แบคที่เรียกรัมลบ Vibrio alginolyticus และ Escherichia coli โดยวิธี Disc Agar diffusion Agar Assay พบว่าฟองน้ำท่อสีเทา (Cladocroce sp. “grey”) ยับยั้งการเจริญของเชื้อ Staphylococcus aureus ขณะที่เชื้อ RAB56-A-28 จากฟองน้ำสีม่วง (Petrosia hoeksemai) สามรถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย E.coli ได้ดี 3. การแยกเชื้อแอคติโนมัยซีทจากฟองน้ำทะเลและจากตะกอนป่าชายเลนชายฝั่งของ อ. ขนอม จ.นครศรีธรรมราช สามารถแยกเชื้อแอคติโนมัยซีทจากฟองน้ำเกาะราบ 2 ไอโซเลต จากเกาะวังนอกพบ 2 ไอโซเลต และจากป่าชายเลนพบแอคติโนมัยซีท 52 ไอโซเลต นำเชื้อที่แยกได้ไปทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ (MRSA, B. subtilis, C. albicans) พบแอคติโนมัยซีท 27 ไอโซเลต ที่แยกจากดินป่าชายเลน และเชื้อ Micromonospora 2 isojates สามารถสร้างสารยับยั้งจุลินทรีย์ที่ทดสอบ สภาวะที่เหมาะสมในการเลี้ยงเชื้อแอคติโนมัยซีท ได้แก่ เลี้ยงในอาหารเหลว ISP2 ที่ค่า pH 7-5 และ pH 8.0 จะสามารถสร้างสารออกฤทธิ์ได้มาก 4. แอคติโนมัยซีทที่ได้จากดินตะกอนป่าชายเลน 3 สายพันธุ์ (PL 2-2, PL 4-6 และ WN-POR-02-1) มีกรดไขมันที่จำเป็นชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน C18 : 2n6 ในปริมาณสูงสุด โดย PL2-2 มีปริมาณของกรดไขมัน C18 : 2n6 และ C18 : 3n3 สูงสุดเท่ากับ 37.38±0.27% และ 4.07±0.09% ตามลำดับ รองลงมาคือ PL 4-6 (36.26±0.88% และ 2.75±0.14% ตามลำดับ) นอกจากนั้นยังพบว่าสารสกัดแอคติโนมัยซีทสายพันธุ์ PL 7-4, PL 2-3 และ PL 2-5 มีฤทธิ์กำจัดอนุมูลอิสระ DPPH ดีที่สุด (IC50 49.11±2.37, 56.63±0.39 และ 64.79±1.18 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ) ขณะที่สายพันธุ์ PL 4-6 และ PL 2-3 ออกฤทธิ์กำจัดอนุมูลอิสระ ABTS ดีที่สุด (IC50 14.25±2.82 และ 22.17±0.72ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ) สารสกัดหยาบชั้นเวลล์ของเชื้อราสายพันธุ์ RB-POR2 เพียงเชื้อเดียวที่ให้ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระทั้ง DPPH และABTS ดีที่สุด 5. ขณะที่สภาวะการเลี้ยงยีสต์ที่เหมาะสม ของยีสต์ BS6-2 ในการนำไปศึกษาการเตรียมอาหารสัตว์น้ำ ได้แก่ อาหารเลี้ยงเชื้อกากชานอ้อยที่ความเค็ม 25 พีพีที เป็นเวลา 72 ชั่วโมง มีการเจริญสูงสุด จากการศึกษาลำดับเบสของบริเวณ D1-D2 region ของยีสต์ BS6-2 และเปรียบเทียบลำดับเบสที่ได้ใน GenBank พบว่าใกล้เคียงที่สุดกับยีสต์ในจีนัส Pichia jadinii Type strain CBS 1600T ยีสต์สายพันธุ์ BS6-2 ที่เลี้ยงในอาหารกากชานอ้อยมีการสะสมกรดไขมันที่จำเป็นชนิด linoleic acid; C18 : 2n6 และ a-linolenic acid; C18 : 3n3 มากที่สุด โดยมีปริมาณกรดไขมันชนิด 19.91±0.21% และ 7.63±0.05% ตามลำดับ ยีสต์ที่เลี้ยงที่ความเค็ม 25 พีพีที มีปริมาณกรดไขมันชนิด C18 : 2n6 สูงสุด (22.58±1.24%) เมื่อทำการตรึงยีสต์ Pichia sp. ด้วยแคลเซียมอัลจิเนต พบชนิดและปริมาณกรดไขมันจากเม็ดเจลหลัก ได้แก่ กรดปาล์มิติกมากที่สุดร้อยละ 21.20±0.57% กรดโอเลอิกและกรดไลโนเลอิกร้อยละ 17.83±0.35% และ 3.14±0.10% ตามลำดับ และโซเดียมอัลจิเนตที่ความเข้มข้นร้อยละ1.2 และแคลเซียมคลอไรต์ร้อยละ 1.5 มีความเหมาะสมมากที่สุดในการใช้ตรึงเซลล์ยีสต์ th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ ผ่านงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2556 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject จุลินทรีย์ทะเล th_TH
dc.subject ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title จุลินทรีย์ทะเล: แหล่งใหม่ของสารตัวยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร th_TH
dc.title.alternative Marine microbes: As the new source for drug agents and food supplements en
dc.type งานวิจัย
dc.year 2557


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account