Abstract:
จากผลการดำเนินงานวิจัยทั้ง 6 โครงการย่อยในปีที่ ในแตะละโครงการวิจัยสามารถดำเนินการวิจัยได้ตามแผนงาน ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. ตัวอย่างฟองน้ำทะเลที่เก็บจากหมู่เกาะใต้ อ. ขนอม จ. นครศรีธรรมราช จาก 4 จุด สำรวจ จำนวน 94 ตัวอย่าง โดย 74 ตัวอย่าง ทำการจำแนกชนิดเป็นหลักฐานอ้างอิงจำแนกได้ 45 ชนิด จาก 35 สกุล 25 วงศ์ 10 อันดับ มีความหลากหลายของฟองน้ำในเกาะราบ และเกาะวังนอกมากที่สุด
2. เชื้อแบคทีเรียจำนวน 210 สายพันธุ์ แยกจากฟองน้ำทะเล จำนวน 52 ตัวอย่าง ทดสอบ
ฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียมาตรฐาน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ แบคทีเรียกรัมบวก Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus แบคที่เรียกรัมลบ Vibrio alginolyticus และ Escherichia coli โดยวิธี Disc Agar diffusion Agar Assay พบว่าฟองน้ำท่อสีเทา (Cladocroce sp. “grey”) ยับยั้งการเจริญของเชื้อ
Staphylococcus aureus ขณะที่เชื้อ RAB56-A-28 จากฟองน้ำสีม่วง (Petrosia hoeksemai) สามรถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย E.coli ได้ดี
3. การแยกเชื้อแอคติโนมัยซีทจากฟองน้ำทะเลและจากตะกอนป่าชายเลนชายฝั่งของ อ. ขนอม จ.นครศรีธรรมราช สามารถแยกเชื้อแอคติโนมัยซีทจากฟองน้ำเกาะราบ 2 ไอโซเลต จากเกาะวังนอกพบ 2 ไอโซเลต และจากป่าชายเลนพบแอคติโนมัยซีท 52 ไอโซเลต นำเชื้อที่แยกได้ไปทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ (MRSA, B. subtilis, C. albicans) พบแอคติโนมัยซีท 27 ไอโซเลต ที่แยกจากดินป่าชายเลน และเชื้อ Micromonospora 2 isojates สามารถสร้างสารยับยั้งจุลินทรีย์ที่ทดสอบ สภาวะที่เหมาะสมในการเลี้ยงเชื้อแอคติโนมัยซีท ได้แก่ เลี้ยงในอาหารเหลว ISP2 ที่ค่า pH 7-5 และ pH 8.0 จะสามารถสร้างสารออกฤทธิ์ได้มาก
4. แอคติโนมัยซีทที่ได้จากดินตะกอนป่าชายเลน 3 สายพันธุ์ (PL 2-2, PL 4-6 และ WN-POR-02-1) มีกรดไขมันที่จำเป็นชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน C18 : 2n6 ในปริมาณสูงสุด โดย PL2-2 มีปริมาณของกรดไขมัน C18 : 2n6 และ C18 : 3n3 สูงสุดเท่ากับ 37.38±0.27% และ 4.07±0.09%
ตามลำดับ รองลงมาคือ PL 4-6 (36.26±0.88% และ 2.75±0.14% ตามลำดับ) นอกจากนั้นยังพบว่าสารสกัดแอคติโนมัยซีทสายพันธุ์ PL 7-4, PL 2-3 และ PL 2-5 มีฤทธิ์กำจัดอนุมูลอิสระ DPPH ดีที่สุด (IC50 49.11±2.37, 56.63±0.39 และ 64.79±1.18 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ) ขณะที่สายพันธุ์ PL 4-6 และ PL 2-3 ออกฤทธิ์กำจัดอนุมูลอิสระ ABTS ดีที่สุด (IC50 14.25±2.82 และ 22.17±0.72ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ) สารสกัดหยาบชั้นเวลล์ของเชื้อราสายพันธุ์ RB-POR2 เพียงเชื้อเดียวที่ให้ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระทั้ง DPPH และABTS ดีที่สุด
5. ขณะที่สภาวะการเลี้ยงยีสต์ที่เหมาะสม ของยีสต์ BS6-2 ในการนำไปศึกษาการเตรียมอาหารสัตว์น้ำ ได้แก่ อาหารเลี้ยงเชื้อกากชานอ้อยที่ความเค็ม 25 พีพีที เป็นเวลา 72 ชั่วโมง มีการเจริญสูงสุด จากการศึกษาลำดับเบสของบริเวณ D1-D2 region ของยีสต์ BS6-2 และเปรียบเทียบลำดับเบสที่ได้ใน GenBank พบว่าใกล้เคียงที่สุดกับยีสต์ในจีนัส Pichia jadinii Type strain CBS 1600T ยีสต์สายพันธุ์ BS6-2 ที่เลี้ยงในอาหารกากชานอ้อยมีการสะสมกรดไขมันที่จำเป็นชนิด linoleic acid; C18 : 2n6 และ a-linolenic acid; C18 : 3n3 มากที่สุด โดยมีปริมาณกรดไขมันชนิด
19.91±0.21% และ 7.63±0.05% ตามลำดับ ยีสต์ที่เลี้ยงที่ความเค็ม 25 พีพีที มีปริมาณกรดไขมันชนิด C18 : 2n6 สูงสุด (22.58±1.24%) เมื่อทำการตรึงยีสต์ Pichia sp. ด้วยแคลเซียมอัลจิเนต พบชนิดและปริมาณกรดไขมันจากเม็ดเจลหลัก ได้แก่ กรดปาล์มิติกมากที่สุดร้อยละ 21.20±0.57%
กรดโอเลอิกและกรดไลโนเลอิกร้อยละ 17.83±0.35% และ 3.14±0.10% ตามลำดับ และโซเดียมอัลจิเนตที่ความเข้มข้นร้อยละ1.2 และแคลเซียมคลอไรต์ร้อยละ 1.5 มีความเหมาะสมมากที่สุดในการใช้ตรึงเซลล์ยีสต์