DSpace Repository

การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในกรมการศึกษานอกโรงเรียน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Show simple item record

dc.contributor.author พงศ์เทพ จิระโร th
dc.contributor.author มนตรี แย้มกสิกร th
dc.contributor.author ประชา อินัง th
dc.contributor.author บุนขง ทุมวงศ์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:04:31Z
dc.date.available 2019-03-25T09:04:31Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1383
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระบบประกันคุณภาพภายในการศึกษานอกโรงเรียนของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในการศึกษานอกโรงเรียน ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อออกแบบและดำเนินการพัฒนาบุคลากรในการดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายในการศึกษานอกโรงเรียน ที่คณะผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น และเพื่อประเมินมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินภายในการศึกษานอกโรงเรียน ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สรุปผลวิจัย: ผลการพัฒนาระบบพบว่า ระบบประกันคุณภาพภายในการศึกษานอกโรงเรียน ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีกิจกรรมและกลไกประกอบด้วย 8 ประเด็น คือ การควบคุม คุณภาพ (Quality Control), การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Assessment), การปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement), การบูรณาการ งานประกันคุณภาพลงในแผนปฏิบัติงาน, มีการประกันคุณภาพภายใน (IQA) แต่ละระดับ, การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feed back) และการเขียนรายงานการประเมินเมื่อจบปีการศึกษา (SAR) โดยมีกลุ่มตัวบ่งชี้คุณภาพจำนวน 4 กลุ่มตัวบ่งชี้ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า (7 ตัวบ่งชี้), กระบวนการ (4 ตัวบ่งชี้), ผลงาน (7 ตัวบ่งชี้) และงานประกันคุณภาพ (2 ตัวบ่งชี้) รวมทั้งสิ้นจำนวน 20 ตัวบ่งชี้ ความเหมาะสมของร่างระบบที่ได้จากการประเมินก่อนนำไปทดลองใช้ จำแนกตามกิจกรรมและกลไกของระบบ 8 ประเด็น พบว่ากิจกรรม กลไก และการดำเนินการจำนวน 8 รายการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และพบว่าความเหมาะสมของร่างตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินก่อนนำไปทดลองใช้จำแนกตามรายตัวบ่งชี้ จำนวน 20 ตัวบ่งชี้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกตัวบ่งชี้ ผลการประเมินด้านการใช้ประโยชน์ (Utility) ตามความคิดเห็นของผู้ใช้ระบบประเมินหลังนำไปใช้จำแนกตามกิจกรรมและกลไก 8 ประเด็น พบว่า สามารถใช้ประโยชน์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในกลุ่มตัวบ่งชี้ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) (7 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปทดลองใช้ เห็นว่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในกลุ่มตัวบ่งชี้ด้านกระบวนการ (process) (4 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้ พบว่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านผลการดำเนินงาน (Product) (7 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้ พบว่า สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก กลุ่มตัวบ่งชี้ด้านการประกันคุณภาพภายในระดับเมือง (2 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้จำแนกตามรายตัวบ่งชี้เห็นว่า สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านความเป็นไปได้ (Feasibility) ตามความคิดเห็นของผู้ใช้ระบบประเมินหลังนำไปใช้จำแนกตามกิจกรรมและกลไก 8 ประเด็น พบว่า ความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในกลุ่มตัวบ่งชี้ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) (7 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้ พบว่า ความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก ในกลุ่มตัวบ่งชี้ด้านกระบวนการ (process) (4 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้พบว่า มีความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ในกลุ่มตัวบ่งชี้ด้านผลการดำเนินงาน (Product) (7 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้พบว่า มีความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในกลุ่มตัวบ่งชี้ด้านการประกันคุณภาพภายในระดับเมือง (2 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้พบว่า มีความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านความเหมาะสม (Propriety) ตามความคิดเห็นของผู้ใช้ระบบประเมินหลังนำไปใช้จำแนกตามกิจกรรมและกลไก 8 ประเด็น พบว่า ความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในกลุ่มตัวบ่งชี้ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) (7 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้พบว่า ความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในกลุ่มตัวบ่งชี้ด้านกระบวนการ (process) (4 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ ผลการดำเนินงาน (Product) (7 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในกลุ่มตัวบ่งชี้ด้านการประกันคุณภาพภายในระดับเมือง (2 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความถูกต้อง (Accuracy) ตามความคิดเห็นของผู้ใช้ระบบประเมินหลังนำไปใช้จำแนกตามกิจกรรมและกลไก 8 ประเด็น พบว่า ความถูกต้องโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในกลุ่มตัวบ่งชี้ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) (7 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้พบว่า ความถูกต้องโดยรวมอยู่ในระดับมาก ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในกลุ่มตัวบ่งชี้ด้านกระบวนการ (process) (4 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้พบว่า มีความถูกต้องโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในกลุ่มตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (Product) (7 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้พบว่า มีความเห็นด้านความถูกต้องโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในกลุ่มตัวบ่งชี้ด้านการประกันคุณภาพภายในระดับเมือง (2 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้พบว่า มีความความเห็นด้านความถูกต้องโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินความพึงพอใจรูปแบบการจัดการอบรมผู้ประเมินโดยผู้มีส่วนร่วมในการเข้ารับการอบรมผู้ประเมินพบว่า ความพึงพอใจต่อกิจกรรมการฝึกอบรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย : 1. กรมศึกษานอกโรงเรียนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวควรเผยแพร่ให้ความรู้สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ระบบตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติจริง 2. กรมศึกษานอกโรงเรียนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวควรจัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อประเมินผลสำหรับการทำความเข้าใจแนวความคิดและหลักการของการประเมินผลและการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับตัวชี้วัดและเกณฑ์ th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก คณะศึกษาศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2556 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การประกันคุณภาพการศึกษา th_TH
dc.subject การศึกษานอกโรงเรียน th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.title การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในกรมการศึกษานอกโรงเรียน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว th_TH
dc.title.alternative The development of internal quality assurance system for informal education ministry of education Lao PDR. en
dc.type Research
dc.year 2556


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account